เงินสงเคราะห์บุตร ประกันสังคม

เงินสงเคราะห์บุตร ประกันสังคม จาก 400 เป็น 600

Alternative Textaccount_circle
event
เงินสงเคราะห์บุตร ประกันสังคม
เงินสงเคราะห์บุตร ประกันสังคม

เมื่อปลายปีที่ผ่านมา นายจรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน และประธานคณะกรรมการประกันสังคม ได้ออกมาเปิดเผยถึง มติเห็นชอบปรับปรุงแก้ไขกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีปรับ เงินสงเคราะห์บุตร ประกันสังคม จากเดิม 400 บาท เพิ่มขึ้นเป็น 600 บาท  ต่อบุตร 1 คน ไม่เกินอายุ 6 ปีน้ัน ได้ถูกเลื่อนออกไป แต่ล่าสุดทาง ครม. ได้มีมติเห็นชอบการเสนอกระทรวงแรงงานเรื่องดังกล่าว

เงินสงเคราะห์บุตร ประกันสังคม

โดย พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลประชุมครม.ว่า ครม.เห็นชอบร่างกฎกระทรวงที่เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจ่ายผลประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร โดยร่างฉบับเดิมกำหนดว่าผู้เอาประกันตน จะได้รับเงินตอบแทนจำนวน 400 บาทต่อเดือนต่อบุตรหนึ่งคนที่มีอายุไม่เกิน 6 ปี ให้มีการปรับเงินสงเคราะห์บุตรเป็น 600 บาท โดยให้มีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2561 และเพิ่มจำนวนผู้มีบุตรจากไม่เกิน 2 คน เป็นไม่เกิน 3 คน ให้มีผลย้อนหลังวันที่ 20 ต.ค. 2558

เงินสงเคราะห์บุตร ประกันสังคม
ผู้ประกันตนได้รับเงินตอบแทน 400 บาทต่อเดือน ปรับเงินสงเคราะห์บุตรเป็น 600 บาท

สาเหตุของการปรับเพิ่มขึ้นนั้น เนื่องจากผลการศึกษาของสถาบันวิจัย เพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) พบว่า ค่าใช้จ่ายด้านอาหารของเด็กเล็กอยู่ที่ 579 – 812 บาทต่อเดือน ทำให้เงินสงเคราะห์บุตรที่ให้อยู่เดิม 400 บาทนั้น ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายดังกล่าว

ใครบ้างที่ได้รับสิทธิ์การปรับเงินสงเคราะห์บุตรเป็น 600 บาท

ผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับการปรับเงินสงเคราะห์บุตรเป็น 600 บาท นั้น จะต้องเป็นบุคลที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

1.ต้องเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 หรือ มาตรา 39

2.จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิ์ได้รับประโยชน์ทดแทน

3.ต้องเป็นลูกที่ชอบด้วยกฎหมาย ยกเว้น ลูกบุญธรรม หรือลูกซึ่งยกให้เป็นลูกบุญธรรมของบุคคลอื่น

4.อายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จำนวนคราวละไม่เกิน 3 คน เว้นแต่ผู้ประกันตนเป็นผู้ทุพพลภาพหรือถึงแก่ความตาย ในขณะที่ลูกมีอายุแรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จะมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนต่อจนอายุ 6 ปีบริบูรณ์

อ่านต่อ “ระยะเวลาในการรับสิทธิ และหลักฐาน” คลิกหน้า 2

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up