สอบกลางภาค

เด็กป.1-3 เฮ! มาเลเซียประกาศยกเลิก สอบกลางภาค-ปลายภาค

Alternative Textaccount_circle
event
สอบกลางภาค
สอบกลางภาค

7 หลักการ ในการเรียนรู้ผ่านระบบ Classroom-Based Assessment

หลายคนสงสัยว่าระบบการเรียนรู้แบบ Classroom-Based Assesssment คืออะไร? มีหลักการในการเรียนการสอนอย่างไร และระบบนี้ จะสามารถแทนที่การสอบกลางภาค ปลายภาคได้หรือไม่? มาดูคำตอบกันค่ะ

  1. เรียนรู้ผ่านทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivist Approach)

Constructivist Approach เป็นทฤษฎีที่เน้นการสร้างความรู้ของผู้เรียนโดยผู้เรียนเอง โดยทฤษฎีนี้เชื่อว่า การเรียนรู้ หรือการสร้างความรู้ เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในของผู้เรียน โดยที่ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ โดยการนำประสบการณ์หรือสิ่งที่พบเห็นในสิ่งแวดล้อมหรือสารสนเทศใหม่ที่ได้รับมาเชื่อมโยงกับ ความรู้ความเข้าใจที่มีอยู่เดิม มาสร้างเป็น ความเข้าใจของตนเอง

ทฤษฎีนี้ เชื่อว่า การเรียนรู้ เป็นกระบวนการสร้างมากกว่า การรับความรู้ ดังนั้น เป้าหมายของการจัดการเรียนการสอนจะสนับสนุนการสร้างมากกว่าความพยายามในการถ่ายทอดความรู้ จึงมุ่งเน้นการสร้างความรู้ใหม่อย่างเหมาะสมของแต่ละบุคคล

2. การสนทนา (Discussion)

เมื่อผู้เรียนได้สร้างความรู้ความเข้าใจในแต่ละหัวข้อแล้ว การสนทนาเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับครูผู้สอนก็เป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะนอกจากจะได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นแล้ว ยังเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนมีทักษะในการสื่อสารที่ดีขึ้นอีกด้วย

 

classroom-based assessment
การเรียนรู้แบบ Classroom Based Assessment จะมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้คิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง

3. วิทยากร (Lecture)

ระบบการเรียนรู้แบบ Classroom-Based Assessment จะมีการเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ มาบรรยายเกี่ยวกับประสบการณ์ที่พบเจอ ดังนั้นผู้เรียนจะได้พบประสบการณ์ที่อยู่นอกห้องเรียนนอกเหนือจากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับครูผู้สอนผ่านวิทยากรผู้เชี่ยวชาญอีกด้วย

4. การจำลองเหตุการณ์ (Simulation)

นอกจากการสร้างกระบวนการความคิดด้วยตัวเองแล้ว จะมีการจำลองเหตุการณ์ผ่านเกมหรือคอมพิวเตอร์เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้การแก้ปัญหาด้วยตนเอง

5. การสอนแนวคิด (Concept Teaching)

การเรียนรู้ผ่านระบบนี้ การสอนของครูผู้สอนจะไม่ใช่การบอกกล่าวเพื่อให้ผู้เรียนจดจำ แต่จะสอนแนวคิดเพื่อให้ผู้เรียนได้ไปต่อยอดความคิดนั้น ๆ ด้วยตนเอง

6. สอนกระบวนการคิดสร้างสรรค์ (Synectic)

เพื่อให้ผู้เรียนไม่ยึดติดกับวิธีคิดการแก้ปัญหาแบบเดิม ๆ โดยใช้การเปรียบเทียบโดยตรง (Direct Analogy) การเปรียบเทียบบุคคลกับสิ่งของ (Personal Analogy) และการเปรียบเทียบคำคู่ขัดแย้ง (Compress Conflict)

7. เรียนรู้ผ่านวิธีการแบบบูรณาการ (Integrative Approach)

การบูรณาการคือการเรียนรู้ที่ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว แต่จะมุ่งเน้นการเรียนรู้เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ

แม้ว่าระบบการศึกษาของไทย จะยังใช้การ สอบกลางภาค ปลายภาค เป็นตัวชี้วัดเด็กนักเรียน แต่ระบบการศึกษาของไทยในสมัยนี้ก็ได้มุ่งเน้นไปที่การเรียนรู้ของเด็กเป็นหลัก และได้มีการปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอนให้ดีขึ้น การเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาของไทยให้เป็นไปตามแบบอย่างมาเลเซียนั้น อาจจะเป็นไปได้ยาก แต่เราในฐานะพ่อแม่ก็สามารถใช้แนวคิด Classroom-Based Assessment มาสอนลูก ๆ นอกห้องเรียนได้เช่นกันนะคะ

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

พ.ร.บ.ปฐมวัยฉบับแรก ห้ามจัด สอบเข้า ป.1 ฝ่าฝืนปรับ 5 แสน

ทดสอบไอคิวลูก แบบง่ายๆ ด้วย Gesell drawing test ใช้ได้ตั้งแต่อายุ 2-12 ขวบ

พูดอย่างไร เมื่อ “ลูกสอบตก” และ “คะแนนน้อย”

 

ข้อมูลอ้างอิงจาก : https://www.slideshare.net/jamesbriones/classroombased-teaching-strategies

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up