ลูกถูกครูตี

แม่โวย! ลูกถูกครูตี จนต้องเข้าเฝือก เหตุ ครูทำโทษที่ส่งการบ้านไม่ครบ!

Alternative Textaccount_circle
event
ลูกถูกครูตี
ลูกถูกครูตี

ลูกถูกครูตี –  คุณแม่ของเด็กนักเรียนชาย ชั้น ป.5 โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดอ่างทอง ได้แสดงความคิดเห็นว่าคุณครูประจำชั้นของลูกได้กระทำการอันเกินกว่าเหตุหรือไม่ สืบเนื่องจากกรณีผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจากผู้ปกครองของนักเรียนโรงเรียนชื่อดังแห่งหนึ่งในเขต อ.เมือง จ.อ่างทอง ว่าลูกชายถูกคุณครูประจำชั้นทำโทษโดยการใช้ไม้ตีที่มืออย่างแรง จนเกิดอาการบวม ช้ำจนถึงขั้นต้องเข้าเฝือก! ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างเฝ้าดูอาการว่ากระดูกมือของเด็กร้าวหรือหัก หรือไม่

แม่โวย! ลูกถูกครูตี จนต้องเข้าเฝือก เหตุครูทำโทษ ที่ส่งการบ้านไม่ครบ!

ซึ่งเหตุดังกล่าวเกิดเมื่อวันที่ 17 มิ.ย. 64 เด็กชายชั้น ป.5 ของโรงเรียนระดับประถมศึกษาชื่อดังแห่งหนึ่ง ใน จ.อ่างทอง ถูกครูประจำชั้นสาวทำโทษ โดยครูอ้างว่าเด็กส่งการบ้านไม่ครบ จึงลงโทษใช้ไม้ตีบริเวณมือทั้ง 2 ข้าง จำนวน 3 ครั้ง พอเลิกเรียนตนและสามีจึงพาลูกไปโรงพยาบาล ซึ่งมือเด็กบวมแดงและอักเสบ คุณหมอจึงทำการเอ็กซเรย์ พบว่าบริเวณมือซ้ายมีความผิดปกติ มีจุดดำบริเวณกระดูก เบื้องต้นจึงทำการเข้าเฝือกไว้ และรอดูอาการอีก 5 วันเอ็กซเรย์ซ้ำ หากบริเวณจุดดำมีรอยของคราบหินปูนเกาะแสดงว่ากระดูกหัก จากเหตุการนี้ครอบครัวรู้สึกว่าคุณครูทำเกินกว่าเหตุ ลักษณะไม่ใช่การลงโทษ แต่เหมือนเป็นการทำร้ายร่างกาย จึงอยากออกมาเรียกร้องความเป็นธรรมและให้คุณครูแสดงความรับผิดชอบ

จะเห็นได้ว่าการใช้ความรุนแรงกับเด็ก โดยเฉพาะในโรงเรียน ไม่ได้เกิดขึ้นครั้งนี้ครั้งแรก หากย้อนกลับไปดูในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จะพบว่ามีประเด็นให้สังคมต้องถกเถียงอยู่บ่อยครั้ง ถึงความเหมาะสมในกรณีการลงโทษและใช้ความรุนแรงกับเด็ก สิ่งที่น่าวิตกคือ เด็กบางคนอาจบอกให้พ่อแม่รู้ว่าตัวเองถูกครูลงไม้ลงมือจนบาดเจ็บ แต่มีเด็กจำนวนมาก ที่อาจไม่บอกให้ทางบ้านรับรู้ อาจเพราะคิดกลัวไปต่างๆ นา ๆ  ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่สำคัญของผู้ปกครองที่ต้องเฝ้าสังเกตความผิดปกติต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับลูก ก่อนที่สภาพจิตใจ หรือร่างกายลูกจะได้รับความกระทบกระเทือนจนสายเกินแก้

ลูกถูกครูตี
ลูกถูกครูตี

มีงานวิจัยมากมาย ที่เผยผลการศึกษาว่าการลงโทษโดยใช้ความรุนแรงกับเด็กมักส่งผลเสียต่อตัวเด็กมากกว่าที่จะเกิดผลดี โดยเฉพาะการลงโทษในโรงเรียนด้วยการใช้ความรุนแรงกับตัวเด็ก จะยิ่งสร้างความกลัวให้กับเด็กโดยเฉพาะในระหว่างกระบวนการสอนและการเรียนรู้ (Myers, 1999; McNeil & Rubin, 1977)  เด็กจะเรียนรู้เพียงเพื่อทำให้ครูพอใจ และจะไม่ได้รับทักษะและความรู้เพื่อก้าวไปสู่การพัฒนาตนเองอย่างที่ควรจะเป็น การลงโทษทางร่างกายที่ได้รับอิทธิพลจากความกลัว จะบั่นทอนแรงจูงใจในการเรียนรู้ของนักเรียน นักเรียนที่ถูกทารุณกรรมทางร่างกายและทางอารมณ์จะพัฒนาความวิตกกังวลที่ทำให้เสียสมาธิและการเรียนรู้ที่ไม่ดีเมื่อเทียบกับเด็กปกติ แน่นอนว่าผู้ปกครองทุกคนไม่ต้องการให้เหตุการณ์ความรุนแรงเช่นนี้เกิดขึ้นกับบุตรหลานของตัวเอง แต่เราจะมีวิธีสงเกตุได้อย่างไร? ว่าลูกของเรากำลังถูกทำร้ายในโรงเรียนหรือไม่

สัญญาณบ่งบอกว่าลูกอาจถูกทำร้ายร่างกาย

สิ่งบ่งชี้ว่าการโดนล่วงละเมิดทางร่างกาย อาจเกิดขึ้นกับลูกได้ มีดังต่อไปนี้

  • ตาเขียว โดยไม่ทราบสาเหตุ ตามตัวมีรอยฟกช้ำ รอยกัด หรือรอยไหม้ เป็นต้น
  • อาการบาดเจ็บที่อาจเผยให้เห็นชัดเจน เช่น แผลไหม้ หรือแผลที่มือ
  • ร้องไห้เมื่อถึงเวลาต้องไปสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นบ้านหรือโรงเรียน หรือสถานที่อื่นๆ
  • แสดงความกลัวบุคคลใดบุคคลหนึ่งอย่างชัดเจน
  • มีอาการสะดุ้งเมื่อสัมผัสตัว
  • สวมใส่เสื้อผ้ามิดชิดผิดสังเกต เพื่อปกปิดอาการบาดเจ็บ

แนะพ่อแม่! สอนลูกหวงตัว รู้จักสิทธิของตัวเราป้องกันลูกถูกทำร้าย

7 สัญญาณเตือน ลูกโดนทำร้าย ลูกเปลี่ยนไป พ่อแม่ต้องรู้!

เทคนิครับมือ ลูกโดนบูลลี่ เรื่องใกล้ตัวที่พ่อแม่ต้องรู้ให้ทัน!

 

วิธีรับมือ และดูแลสภาพจิตใจลูก หลังถูกทำร้าย

คุณพ่อคุณแม่จะรับมืออย่างไรได้บ้าง หรือควรปฏิบัติตัวอย่างไร เมื่อสงสัยว่าลูกถูกทำร้ายร่างกาย หรือ ทำให้บาดเจ็บทางรางกายและจิตใจ

1. หาสาเหตุที่แท้จริงของเรื่องที่เกิดขึ้น

หลังจากได้รับรู้เรื่องราวที่เกิดขึ้นกับลูกแล้ว ลองนึกถึงสาเหตุที่ครูของลูกคุณลงไม้ลงมือกับลูก ซึ่งอาจเป็นไปได้จากหลายเหตุผล ทั้งครูจะอารมณ์ร้อน หรือความเข้าใจผิดระหว่างครู และนักเรียนจนทำให้เกิดปัญหา เมื่อทราบสาเหตุแล้วจะช่วยให้ผู้ปกครองจัดการกับปัญหาของลูกได้ถูกต้องแม่นยำมากยิ่งขึ้น

2. ช่วยทำให้ลูกรู้สึกปลอดภัย

ประการแรก พ่อแม่ต้องทำให้ลูกรู้สึกปลอดภัย และมั่นใจว่าพวกเขาจะไม่โดนทำร้ายอีก เพื่อรับมือกับความกลัวของลูกพ่อแม่ควรหลีกเลี่ยงการให้ลูกกลับไปในที่เกิดเหตุจนกว่าสภาพจิตใจของลูกจะดีขึ้น ไม่ควรบังคับให้ลูกต้องไปโรงเรียนทั้งที่สภาพจิตใจยังไม่ปกติ  แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความพร้อมของสภาพร่างกายและจิตใจของเด็ก  สิ่งสำคัญคือ พ่อแม่ต้องอยู่เคียงข้างลูกและพร้อมที่จะรับฟังพวกเขาอย่างเข้าใจ ในภาวะนี้ เด็กอาจแสดงพฤติกรรมผิดปกติบางอย่าง คล้ายกับพฤติกรรมถดถอย เช่น ฉี่รดที่นอนทั้งที่ไม่เคยมีพฤติกรรมนี้มาก่อน กัดเล็บอมนิ้ว  พูดติดอ่าง พูดเสียงอยู่ในลำคอ ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้อย่างที่ควรจะเป็นหรืออาจงอแงมากกว่าปกติคล้ายเด็กเล็ก ซึ่งผู้ปกครองต้องอดทน และให้เวลาเด็กในการปรับตัวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

ลูกถูกครูตี

2. พูดคุยกับลูกอย่างเปิดเผย

เมื่อเด็กถูกทารุณกรรม พวกเขาอาจรู้สึกกลัวการถูกคุกคาม และอาจไม่กล้าเล่าสิ่งที่เกิดขึ้นให้คนอื่นฟัง โดยเฉพาะเมื่อคนที่ทำร้ายพวกเขาเป็นถึงคุณครู อาจทำให้ลูกเกิดความรู้สึกสับสน ดังนั้นผู้ปกครองควรพูดคุยกับลูกอย่างเปิดเผย แสดงให้ลูกของคุณเห็นว่าพ่อแม่เป็นที่พึ่งของพวกเขาได้ และพร้อมรับฟัง เชื่อใจ และจริงใจที่จะแก้ปัญหาที่ลูกกำลังเผชิญอยู่ พยายามเริ่มด้วยการพูดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในแต่ละวันให้เป็นกิจวัตร เช่น วันนี้ที่โรงเรียนเป็นอย่างไรบ้าง? มีใครแกล้งลูกบ้างไหม?  คุณครูเป็นอย่างไรบ้าง? เป็นต้น

3. แสดงตัวเรียกร้องความยุติธรรมให้ลูก

แน่นอนว่าหากมีความอยุติธรรมเกิดขึ้นกับลูก พ่อแม่มีหน้าที่ปกป้องและแสดงความกล้าหาญในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นกับลูก จงอย่านึกถึงคนอื่นมากกว่าลูก หากเป็นไปได้ควรโอกาสเหมาะๆ พูดคุยกับคู่กรณีโดยตรง แต่หากว่าไม่สามารถพูดคุยได้ อาจลองพูดคุยกับครูท่านอื่น เพื่อหาทางออกร่วมกัน และให้ครูคนอื่นช่วยกันสอดส่องดูแล หากสุดท้ายแล้ว ทุกอย่างยังดูไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้น ควรแจ้งผู้บริหารโรงเรียน พร้อมทั้งแจ้งฝ่ายบริหารของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อตรวจสอบและจัดการกับความผิดที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กคนอื่นๆ ถูกกระทำซ้ำในลักษณะเดียวกัน

4. สอนลูกให้ระมัดระวังตัว

ปลูกฝังให้ลูกมีจิตใจที่เข้มแข็ง โดยสอนให้ลูกรู้จักระวังตัว ไม่ไปไหนคนเดียว และไม่กลัวที่จะขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นยามจำเป็น รวมถึงการฝึกให้บุตรหลานรู้จักทักษะในการจัดการกับปัญหา หรือสอนวิธีป้องกันตัวเองเมื่อถูกรังแก และควรสอนด้วยว่าถ้าลูกถูกใครทำร้ายที่โรงเรียน ต้องบอกพ่อแม่เป็นคนแรก โดยไม่ต้องกลัวว่าใครจะข่มขู่ เพราะพ่อแม่คือผู้ปกป้องลูก ที่สำคัญอย่าลืมให้กำลังใจลูกในวันที่ถูกทำร้าย นอกจากนี้ ผู้ปกครองควรมีกลุ่มผู้ปกครองทั้งทางออนไลน์ และในชีวิตจริง เพื่อช่วยกันสอดส่องเป็นหูเป็นตา คอยสังเกตพฤติกรรมของเด็กเสมอว่ามีอาการผิดปกติหรือไม่ จะได้รู้ปัญหา และหาทางแก้ไขได้เร็วขึ้น

5. พาลูกไปพบจิตแพทย์เด็ก

ในเด็กบางคนอาจมีปัญหาทางอารมณ์และสภาพจิตใจหลังถูกครูลงโทษ หรือทำร้ายร่างกาย ซึ่งผู้ปกครองอาจไม่สามารถรับมือหรือจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ได้เพียงลำพัง ทางที่ดี ควรขอความช่วยเหลือจากจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น พาลูกไปพบแพทย์เพื่อประเมินสภาพจิตใจ และรับความช่วยเหลือ เพราะการรักษา ฟื้นฟูจิตใจตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยให้เด็กฟื้นตัวได้ดีกว่าการทิ้งปัญหาเอาไว้จนเกินเยียวยา

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : grin.com , เพจชมรมจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นแห่งประเทศไทย , เพจเลี้ยงลูกนอกบ้าน , medicalnewstoday.com

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ลูกถูกทำร้าย ใจลูกสำคัญ พ่อแม่ควรทำเรื่องนี้..ก่อนสายเกินแก้!!

ครูตีเด็ก ผิดกฎหมายหรือไม่? ตีเด็กอย่างไรไม่ให้ถูกฟ้อง?

จิตแพทย์แนะ! ขอบเขตการลงโทษเด็ก ป้องกันเด็กบอบช้ำหลังถูกลงโทษ

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up