รถรับ-ส่งนักเรียน

กรมควบคุมโรคแนะการป้องกันอุบัติเหตุกับ รถรับ-ส่งนักเรียน

Alternative Textaccount_circle
event
รถรับ-ส่งนักเรียน
รถรับ-ส่งนักเรียน

กรมควบคุมโรคแนะการป้องกันอุบัติเหตุกับ รถรับ-ส่งนักเรียน

กรมควบคุมโรค ขอความร่วมมือประชาชนตรวจสอบสภาพรถยนต์ ความพร้อมของร่างกาย ก่อนการขับขี่ยานยนต์ และปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด พร้อมแนะนำการป้องกันอุบัติเหตุทางถนน สำหรับ รถรับ-ส่งนักเรียน เพื่อลดการบาดเจ็บ และเสียชีวิตของเยาวชน

สถิติอุบัติเหตุทางถนน

ข้อมูลจากศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน ตั้งแต่เดือนมกราคม – มิถุนายน 2565 พบการเกิดอุบัติเหตุรถรับ-ส่งนักเรียนรวมทั้งสิ้น 16 ครั้ง มีนักเรียนบาดเจ็บไปแล้ว มากกว่า 165 ราย ข้อมูลสถิติย้อนหลัง 5 ปี จะมีเหตุการณ์ เฉลี่ย 2 ครั้งต่อ 1 เดือน หรือ 1 ปีจะมีอุบัติเหตุประมาณ 30 ครั้ง แต่สถานการณ์ในปัจจุบัน เป็นเรื่องที่น่ากังวลอย่างยิ่ง ที่พบว่าในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2565 พบการเกิดอุบัติเหตุมากถึง 13 ครั้ง ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเปิดเรียนหลังจากปิดโรงเรียนมาเป็นเวลานานกว่า 2 ปี

คำแนะนำสำหรับการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุทางถนนที่เกิดกับ รถรับ-ส่งนักเรียน

มีดังนี้

1) เลือกใช้บริการรถที่ได้มาตรฐาน ตามกรมการขนส่งทางบกกำหนด เช่น ที่นั่งโดยสารต้องยึดแน่น อย่างมั่นคงแข็งแรง ห้ามนักเรียนยืนโดยสาร รถทุกคันต้องติดแผ่นป้ายพื้นสีส้ม มีข้อความตัวอักษรสีดำ “รถโรงเรียน” ติดอยู่ด้านหน้าและท้ายรถ มีไฟสัญญาณสีเหลืองอำพันหรือไฟสีแดง เปิด – ปิด เป็นระยะ มีเครื่องมือจำเป็นกรณีฉุกเฉินติดตั้งในรถ เช่น เครื่องดับเพลิง ค้อนทุบกระจก และมีผู้ดูแลนักเรียนประจำอยู่ในรถตลอดเวลา

2) รถที่นำมาใช้ต้องได้รับการตรวจสภาพรถและซ่อมบำรุงรักษา ให้ได้มาตรฐานสม่ำเสมอตามระยะเวลาที่กำหนดหรือตรวจสภาพรถทันทีเมื่อพบว่าสภาพรถมีปัญหา

3) ไม่ใช้รถ รับ -ส่ง นักเรียน ที่ดัดแปลงสภาพ หรือกลุ่มรถกระบะต่อเติมหลังคา

4) ห้ามบรรทุกนักเรียนเกินกว่าจำนวนที่นั่งบนรถ

5) มีการตรวจสอบชื่อเด็กนักเรียนขณะขึ้น-ลง และอย่าปล่อยเด็กขึ้นลงรถโดยลำพังเด็ดขาด

6) ต้องมีหนังสือรับรองจากโรงเรียนหรือสถานศึกษาให้รับ-ส่งนักเรียน

7) ผู้ขับขี่ต้องได้รับใบอนุญาตขับรถส่วนบุคคลมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 3 ปี หรือได้รับใบอนุญาตขับรถสาธารณะ และผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด ไม่ขับรถเร็ว ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ หรือใช้ยา หรือสารที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท คาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้ง

รถรับ-ส่งนักเรียน
กรมควบคุมโรคแนะการป้องกันอุบัติเหตุกับ รถรับ-ส่งนักเรียน

อุบัติเหตุ จากการใช้รถใช้ถนน ที่ต้องระวัง!

1. กรณีโดยสารรถจักรยานยนต์

ความจริงแล้ว เราไม่ควรให้เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี โดยสารรถจักรยานยนต์ เพราะเด็กมีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะได้รับบาดเจ็บรุนแรง และมีผลกระทบต่อร่างกายตลอดทั้งชีวิต แต่หากมีความจำเป็นจริงๆ

  • ควรใช้เป้ หรือถุงจิงโจ้ ที่สามารถรองรับน้ำหนักเด็กได้อย่างปลอดภัย
  • พร้อมใช้มือประคองลำตัวเด็ก (กรณีคนซ้อนท้าย)
  • แต่ต้องระวังไม่ให้ชายผ้าเกี่ยวเข้าไปซี่ล้อรถ

ผู้โดยสารที่เป็นเด็กอายุ 3-5 ปี  เมื่อต้องโดยสารรถจักรยานยนต์

  • ควรอยู่ในความดูแลอย่างใกล้ชิดจากผู้ใหญ่
  • ควรให้เด็กสวมหมวกนิรภัยที่มีขนาดพอดีกับศีรษะ
  • และคาดสายรัดคางให้กระชับเสมอ
  • นอกจากนี้ กรณีเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์เพียงสองคนกับเด็ก ควรให้เด็กนั่งอยู่หน้าผู้ใหญ่ ที่ด้านหน้าของผู้ขับขี่เท่านั้น

มีการเปิดเผยสถิติ พบว่าเด็กไทยประมาณ 1 ล้าน 3 แสนคน ที่เดินทางด้วยรถจักรยานยนต์ แต่มีเพียงร้อยละ 7 เท่านั้นที่สวมหมวกนิรภัยขณะโดยสารรถจักรยานยนต์   ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เด็กได้รับอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต และบาดเจ็บ

ทั้งนี้ งานวิจัยโดยศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ระบุว่า การสวมหมวกกันน็อกช่วยลดโอกาสการเสียชีวิตเนื่องจากการบาดเจ็บที่ศีรษะในผู้ขับขี่ได้ 43 % และผู้ซ้อนท้าย 58%

2. กรณีโดยสารรถยนต์ 

ทุกครั้งที่ต้องพาลูกเดินทางโดยรถยนต์

  • คุณพ่อคุณแม่ ควรจัดหาที่นั่งนิรภัยที่มีขนาดเหมาะสมกับวัย รูปร่าง และส่วนสูงของลูก โดยยึดติดไว้บริเวณเบาะด้านหลังรถ และคาดสายรัดที่นั่งนิรภัยให้กระชับตัวลูก
  • หากไม่มีที่นั่งนิรภัย ควรให้ลูกนั่งบริเวณเบาะหลังรถค่อนไปด้านใดด้านหนึ่ง

ที่สำคัญ ไม่ควรให้ลูกนั่งด้านหน้าข้างคนขับ เพียงลำพังโดยไม่มีอุปกรณ์นิรภัย และ ห้ามให้ลูกนั่งตักขณะขับรถ ตลอดจนไม่ควรให้ลูกคาดเข็มขัดนิรภัยเส้นเดียวกับผู้ใหญ่ เพราะหากประสบอุบัติเหตุเด็กจะได้รับบาดเจ็บรุนแรง

 

สำหรับ เด็กอายุ 6 ขวบขึ้นไป พ่อแม่สามารถสอนทักษะความปลอดภัยให้เขา เพื่อปลูกฝังให้ลูกรู้จักทักษะการระมัดระวังอุบัติเหตุ ด้วยตัวเอง เช่น ต้องไม่วิ่งเล่นบนถนนที่มีรถวิ่งไปมา ต้องข้ามถนนตรงทางที่กำหนดไว้ เวลานั่งรถจักรยานยนต์รับจ้าง ต้องใส่หมวกนิรภัย หรือ นั่งรถยนต์ต้องคาดเข็มขัดนิรภัย ต้องสอนให้เด็กเข้าใจเหตุผล และสามารถปฏิบัติได้ หากเราไม่สอนหรือทำตัวอย่างไม่ดี ลูกก็จะไม่ปฏิบัติตามค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก

กรุงเทพธุรกิจ 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 อ่านต่อบทวามดี ๆ คลิก

อุทาหรณ์ อุบัติเหตุในเด็กเล็ก พร้อม 6 วิธี ลดเสี่ยงเกิดเหตุ

10 วิธีป้องกันอุบัติเหตุในบ้าน สำหรับเด็กเล็ก

อุทาหรณ์ เด็กจมน้ำ อุบัติเหตุอันดับต้น ๆ ที่เกิดกับลูกหลาน

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up