พยาธิไชเท้า

ระวัง! ลูกเดินหาดเท้าเปล่า เสี่ยง “พยาธิไชเท้า”

Alternative Textaccount_circle
event
พยาธิไชเท้า
พยาธิไชเท้า

 

 

โรค “พยาธิไชเท้า” คืออะไร?

คือ โรคผิวหนังที่เกิดจากพยาธิตัวกลมระยะตัวอ่อน (ส่วนมากเป็นพยาธิปากขอหรือพยาธิเส้นด้าย) ของสัตว์ พยาธิระยะตัวอ่อนจะไชไปตามผิวหนัง ชั้นหนังกำพร้าทำให้เกิดผื่นมีลักษณะเป็นเส้นนูนสีแดงคดเคี้ยวใต้ผิวหนังตาม ทางที่ พยาธิไชผ่าน เนื่องจากคนไม่ใช่สิ่งมีชีวิตที่พยาธิเจริญเติบโต พยาธิตัวอ่อนจึงเดินทางไปตามเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังโดยไม่สามารถเจริญเป็นระยะตัวแก่ในร่างกายคนได้ จนในที่สุดพยาธินั้นจะตายไปเอง พยาธิสภาพและอาการแสดงทางผิวหนังจะเป็นอยู่นานจนกว่าพยาธิจะถูกทำลายโดยภูมิคุ้มกันหรือได้รับยาฆ่าพยาธิ โรคนี้พบมากในเขตร้อน เช่น ทวีปเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ทวีปอาฟริกา ทวีปอเมริกาใต้ เป็นต้น

ติดต่อได้อย่างไร ?

พยาธิตัวอ่อนระยะติดต่อที่อยู่ที่พื้นดินชื้นแฉะ จะไชเข้าผิวหนังของคนที่เดินเท้าเปล่า หรืออาจจะติดตามตัวทาก
หรือ เข้าตามผิวหนังของเด็กที่นั่งเล่นตามพื้นดิน หรือทราย โดยจะสามารถชอนไชผ่านเสื้อผ้าบาง ๆ เช่น ชุดว่ายน้ำได้

โดยพยาธิระยะตัวอ่อนจะหลั่งเอ็นไซม์เพื่อไชผ่าน ผิวหนังปกติ ผิวหนังที่เป็นแผล หรือไชเข้ามาตามรูขุมขน มาอยู่ในชั้น
หนังกำพร้า แต่ไม่สามารถไชผ่านหนังแท้ได้ หลังจากนั้น 2-3 ชั่วโมง ผิวหนังบริเวณนั้นจะเกิดการอักเสบ ต่อมาอีก
2-3 วันพยาธิตัวอ่อนจะเริ่มเคลื่อนที่ไปใต้ผิวหนังชั้นหนังกำพร้า ผิวหนังจะมีการอักแสบ บวมน้ำ มีเม็ดเลือดขาวมาคั่งอยู่

ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่คะ เพื่อเป็นการป้องกันลูกน้อยของเรา ทุกครั้งเวลาไปทะเล พยายามอย่าให้ลูกเดินเท้าปาก นั่ง หรือใช้มือสัมผัสดิน ที่อาจจะส่งสัยว่าปนเปื้อนมูลสัตว์กันนะคะ และที่สำคัญ ปลูกฝังให้ลูกล้างมือด้วยสบู่กับน้ำเปล่าที่สะอาดกันทุกครั้งและบ่อย ๆ นะคะ

ขอบคุณที่มา: คณะเวชศาสคร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล

อ่านต่อเรื่องอื่นที่น่าสนใจ:

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up