ลูกไม่ชอบอ่านหนังสือ

ลูกไม่ชอบอ่านหนังสือ ให้ลูกอ่านจากจอแทน จะดีไหม?

Alternative Textaccount_circle
event
ลูกไม่ชอบอ่านหนังสือ
ลูกไม่ชอบอ่านหนังสือ

เด็กไทยมักไม่ตั้งข้อสงสัย ไม่มีความสามารถในการตั้งคำถาม เชื่อว่าในตอนเริ่มต้นทุกคนก็ชอบถาม เช่น เมื่อครั้งเริ่มพูดเป็นประมาณ 2-3 ขวบ แต่แล้วความช่างซักช่างถามนี้ค่อยๆ ถูกระบบการศึกษาริบไปจนถึงทำลายจนหมดในเวลาไม่นาน เราไม่พบนักศึกษามหาวิทยาลัยที่กระตือรือร้นจะยกมือถามนานมากแล้ว เด็กไทยอาจจะมีความใฝ่รู้เกิดขึ้นในใจประมาณสามวินาทีแต่ไม่มากพอที่จะลุกไปหาคำตอบ ต่อให้มีหนังสือกองตรงหน้าหรือห้องสมุดอยู่ตรงข้ามบ้าน ก็ขี้คร้านจะลุกจากที่นอนหรือเกมที่เล่นอยู่

ไม่ชอบอ่านหนังสือ
เด็กไทยไม่ชอบอ่านหนังสือ

การคิดเชิงวิพากษ์หรือคิดอย่างมีวิจารณญาณก็ยังไม่เพียงพอ เด็กจะฉลาดหรือมีความคิดสร้างสรรค์ได้เขาต้องได้รับโอกาสที่จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเด็กคนอื่นหรือผู้ใหญ่คนอื่นที่คิดเห็นไม่ตรงกัน ดีกว่านี้คือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้วยข้อมูลที่เชื่อถือได้ มีเอกสารอ้างอิงรองรับ มิใช่ทำได้เพียงแลกเปลี่ยน “ความเห็น” เปล่าๆ โดยไม่มีความคิดหรือแลกเปลี่ยนความเห็นด้วยข้อมูลที่ไม่มีที่มาที่ไป หรือแลกเปลี่ยนความเห็นด้วยความเห็นล้วนๆ ไม่มีหลักฐานรองรับเลย ในเว็บต่างประเทศ เราจะพบคอมเมนต์การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้วย intelligence (สติปัญญา) มาก แต่ในเว็บประเทศไทย เราจะพบคอมเมนต์การแลกเปลี่ยนความเห็นด้วย emotion (อารมณ์) เสียมากกว่า

ไม่ชอบอ่านหนังสือทําไงดี
วัฒนธรรมขี้สงสัยและรู้จักถามห่างจากเด็กไทยหลายปีแสง

เวลาบรรยายให้นักศึกษาไทยฟัง เราต้องบังคับให้ถามหลังการบรรยาย เวลาบรรยายให้นักศึกษาต่างประเทศฟัง รวมทั้งนักศึกษาจากจีน ญี่ปุ่น เกาหลี สิงคโปร์ นักศึกษาแย่งกันยกมือสลอนทุกครั้งไป อีกทั้งมีข้อถกเถียงกันเองอย่างน่าทึ่ง พูดกันอย่างไม่เกรงใจคือ วัฒนธรรมขี้สงสัยและรู้จักถามห่างจากเด็กไทยหลายปีแสง

อ่าน 15 นาทีทุกวัน

อ่านต่อ “การวิจารณ์ เกี่ยวข้องกับตัวตนอย่างไร?” หน้า 3

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up