ภาษีสินสอด

พ่อแม่เตรียมตัว รัฐบาลเรียกเก็บภาษีสินสอด

Alternative Textaccount_circle
event
ภาษีสินสอด
ภาษีสินสอด

ของหมั้นมีอะไรบ้าง?

ของหมั้น คือทรัพย์สินที่ฝ่ายชาย มอบให้แก่ฝ่ายหญิง เพื่อเป็นหลักประกันว่าจะแต่งงาน ซึ่งไม่ได้จำกัดเฉพาะผู้ที่เป็นคู่หมั้นเท่านั้น แต่ยังหมายถึงคนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายชาย หรือฝ่ายหญิงที่หมั้นด้วย เช่น พ่อแม่ ผู้ปกครอง การหมั้นจะผูกพันกันต่อเมื่อทั้ง 2 ฝ่าย ตกลงยินยอมหมั้นกันด้วย

กรณีต่อไปนี้ ฝ่ายหญิง ต้องคืนของหมั้นให้ฝ่ายชาย

1.ฝ่ายหญิงไม่ยอมแต่งงานด้วย โดยไม่มีเหตุอันสมควร ถือว่าผิดสัญญาหมั้น

2.ฝ่ายชายขอถอนหมั้น เพราะมีสาเหตุมาจากฝ่ายหญิง

กรณีต่อไปนี้ ฝ่ายหญิงไม่ต้องคืนของหมั้นให้ฝ่ายชาย

1.ฝ่ายชายผิดสัญญา โดยไม่มีเหตุอันสมควร

2.ฝ่ายชาย หรือฝ่ายหญิงเสียชีวิต

3.ฝ่ายหญิงขอถอนหมั้น กรณีที่มีเหตุมากจากฝ่ายชาย

4.ต่างฝ่าย ต่างละเลย ไม่นำพาต่อการจดทะเบียน จะถือว่าฝ่ายหญิงผิดสัญญาหมั้นไม่ได้

ภาษีสินสอดสินสอดคืออะไร?

สินสอด คือทรัพย์สินที่ฝ่ายชายมอบให้แก่พ่อแม่ฝ่ายหญิง เพื่อตอบแทนที่ฝ่ายหญิงยอมแต่งงานด้วย โดยจะส่งมอบให้เมื่อใดก็ได้ ถ้าเป็นทรัพย์สินที่ให้เพื่อขอขมาพ่อแม่ของฝ่ายหญิงที่ตนเองล่วงเกินลูกสาวของเขา ทรัพย์สินนั้นจะไม่ใช่สินสอด ฝ่ายชายจะเรียกเก็บคืนไม่ได้

ฝ่ายชายจะเรียกร้องสินสอดคืนได้ก็ต่อเมื่อ ไม่มีการแต่งงานเกิดขึ้น โดยมีสาเหตุมาจากฝ่ายหญิง หรือไม่มีการสมรสโดยพฤติการณ์ ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำผิดสัญญา ไม่แต่งงานกัน โดยไม่มีเหตุผลที่ทางกฎหมายยอมรับได้ ฝ่ายที่ผิดสัญญาต้องรับผิดชอบจ่ายค่าทดแทนคู่สัญญาหมั้น ไม่ใช่แค่ชายและหญิงคู่หมั้น

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อ “ค่าทดแทนในการผิดสัญญาหมั้น” คลิกหน้า 3

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up