ลูกไม่สบายท้อง

ลูกไม่สบายท้อง ป้องกันได้ด้วยโภชนาการ

Alternative Textaccount_circle
event
ลูกไม่สบายท้อง
ลูกไม่สบายท้อง

ลูกไม่สบายท้อง ที่ไม่ได้เกิดจากโรคของระบบทางเดินอาหาร และไม่ได้มีสาเหตุจากความผิดปกติของร่างกาย (FGIDs) ที่พบบ่อยๆ ในทารกและเด็กเล็ก คือ การร้องโคลิค แหวะนม และท้องผูก ซึ่งอาการไม่สบายท้องยอดฮิตเหล่านี้ คุณแม่ สามารถป้องกันได้ด้วยการให้ลูกได้รับโภชนาการที่เหมาะสมตั้งแต่ช่วงแรกของชีวิตค่ะ

 

ลูกไม่สบายท้อง ป้องกันได้ด้วยโภชนาการ

ต้นเหตุที่ทำให้ ลูกไม่สบายท้อง เกิดจากระบบทางเดินอาหารของลูกยังทำงานได้ไม่เต็มที่ และเมื่อระบบการย่อยและการดูดซึมอาหารยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างมากที่จะต้องส่งเสริมให้ลูกได้รับโภชนาการสารอาหารที่เหมาะสม ตั้งแต่แรกเกิด

Good to know…มีการสำรวจกลุ่มกุมารแพทย์ และพยาบาลจำนวน 500 คน พบว่าปัญหาส่วนใหญ่ที่สร้างความกังวลใจให้พ่อแม่จนต้องพาลูกมาพบแพทย์ คือ ปัญหาเกี่ยวกับระบบลำไส้หรือทางเดินอาหาร[1]

ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันลูกจากอาการไม่สบายท้อง คุณแม่ควรเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตั้งแต่ลูกแรกเกิด เพราะน้ำนมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก โปรตีนในน้ำนมแม่มีส่วนประกอบสำคัญคือ เวย์ (whey) และเคซีน (casein) การมีเวย์เป็นส่วนประกอบมาก ทำให้โปรตีนของน้ำนมแม่ย่อยง่าย ประกอบกับเคซีนในน้ำนมแม่เป็นชนิด เบต้า-เคซีน (ß casein) ซึ่งย่อยง่าย[2]ด้วยเช่นกัน น้ำนมแม่ที่ย่อยง่ายร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้งานได้หมด จึงไม่ทำให้ลูกมีปัญหาจากกลุ่มอาการไม่สบายท้อง

ปฏิเสธไม่ได้ว่า “นมแม่” นั้นดีที่สุดสำหรับลูกน้อย มีการรณรงค์มากมายเพื่อให้คุณแม่เลี้ยงลูกด้วยนมตัวเองตั้งแต่ลูกแรกคลอด แต่ก็ต้องยอมรับว่ายังมีคุณแม่อีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่สามารถให้นมแม่ได้ เนื่องจากมีปัญหาสุขภาพที่ต้องทานยาบางตัวและมีผลต่อน้ำนม จึงจำเป็นต้องหานมทดแทนให้ลูก

ปัจจุบันได้มีการพัฒนานมสูตรย่อยง่าย ที่มีงานวิจัยรับรองผลว่าช่วยแก้ปัญหาไม่สบายท้อง โดยขึ้นทะเบียนเป็นอาหารทางการแพทย์ ซึ่งมีคุณสมบัติดังนี้

  • มีการปรับโครงสร้างไขมันพืชให้เป็นชนิดเบต้า (ß-palmitic acid) ช่วยทำให้อุจจาระนิ่มขึ้น ลดอาการท้องผูก และยังช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกาย ช่วยในการเสริมสร้างกระดูกและฟัน[3]
  • มีการลดปริมาณแลคโตสให้พอเหมาะ เพื่อลดโอกาสการเกิดความไม่สบายท้อง พร้อมกระตุ้นและเสริมสร้างพัฒนาการของทางเดินอาหารในระยะยาว[4]
  • มีการปรับชนิดของโปรตีนให้เป็นโปรตีนเวย์ 100% ที่ย่อยแล้วบางส่วน เวย์เป็นโปรตีนคุณภาพสูง พบมากในน้ำนมแม่ เมื่อนำมาผ่านการย่อย ทำให้ย่อยง่าย และช่วยให้อุจจาระนิ่ม[5]
  • มีการเติมใยอาหารพรีไบโอติก ที่ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์สุขภาพ ช่วยในการทำงานของระบบ ทางเดินอาหาร ทำให้อุจจาระนิ่ม ขับถ่ายง่าย พร้อมช่วยลดการร้องโยเยและแหวะนมในเด็ก[6,7]
  • สารอาหารครบถ้วน ได้แก่ ดีเอชเอ เออาร์เอ วิตามินและแร่ธาตุ ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการ

นอกจากการให้ลูกได้ทานนมแม่เพื่อเป็นการป้องกันอาการไม่สบายท้องที่ได้ผลดีแล้ว คุณแม่ยังสามารถดูแลให้ลูกสบายท้องหลังมื้อนมได้ ด้วยวิธีเหล่านี้ค่ะ…

1. จับลูกเรอ  

การไล่ลมในท้องให้ลูกหลังมื้อนม จะช่วยทำให้ลูกเรอออกมาแทนการแหวะนม การเรอเอาลมออกมาจะช่วยให้ลูกสบายท้อง วิธีจับลูกเรอง่าย คือ ให้อุ้มลูกพาดบ่า แล้วใช้มือข้างหนึ่งค่อยๆ ลูบขึ้นลูบลงที่หลังลูก ทำจนกว่าจะได้ยินเสียงดังเอิ้ก ออกมาค่ะ

2. นวดท้องไล่ลม

เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้ลูกสบายท้อง คุณแม่สามารถทำให้ลูกหลังกินนม หรืออาบน้ำเสร็จใหม่ เป็นช่วงที่ลูกอารมณ์ดี และสบายตัว ด้วยการวางลูกลงกับเบาะที่นอน

  • เริ่มจากให้วางมือข้างหนึ่งลงบนหน้าอกของลูก
  • จากนั้นใช้ฝ่ามือค่อยๆ กดไล่เบาๆ ลงมาจนถึงบริเวณใต้สะดือ
  • เสร็จแล้วเปลี่ยนมาใช้มือทั้ง 2 ข้างช้อนบริเวณสันหลังลูกขึ้นมาเล็กน้อย แล้วกดหัวแม่มือนวดวนเป็นวงกลม บริเวณท้องลูก การนวดท้องจะช่วยไล่ลม ทำให้ลูกไม่เรอ ก็ผายลมออกมา เมื่อไม่มีลมในกระเพาะจะช่วยให้ลูกสบายตัว สบายท้อง ลดอาการท้องอืดแน่นท้อง

การดูแลโภชนาการสารอาหารที่เหมาะสมให้กับลูกตั้งแต่ช่วงแรกของชีวิต ด้วยการเริ่มต้นให้นมแม่กับลูก นอกจากจะช่วยให้หมดปัญหาจากกลุ่มอาการไม่สบายท้องแล้ว ยังช่วยให้ลูกได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการ ซึ่งสารอาหารที่ได้ยังจะช่วยส่งเสริมให้ลูกมีพัฒนาการในทุกด้านที่สมวัยด้วยค่ะ 

 

 

 


อ้างอิงข้อมูลจาก
1Face to Face Interview in 500 HPCs in BKK & urban UPC-TNS HCP Tracker 2017
2มีอะไรในนมแม่. ศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย. dlibrary.thaibreastfeeding.org
3Quinlan PT et al. J Pediatr Gastroenterol Nutr. 1995;20(1):81-90.
4Moore DJ et al. J Pediatr. 1988;113(6):979-84.
5Mihatsch WA et al. Acta Paediatr. 2001;90(2):196-8.
6Moro G et al. J Pediatr Gastroenterol Nutr. 2002;34(3):291-5.
7Moro G et al. Arch Dis Child. 2006;91(10):814-9.

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up