จริงหรือ? … การนอนหลับกําหนดความฉลาดของลูกได้!

Alternative Textaccount_circle
event

aw-9 ใช้สำหรับโขว์หน้าแรกบทความในเว็ปไซต์

การนอนหลับของลูกทั้งกลางวันและกลางคืนสามารถกําหนดพัฒนาการของสมองและความฉลาดของลูกได้จริงหรือ?

คุณพ่อคุณแม่หลายท่านอาจจะยังไม่ทราบว่า โดยความเป็นจริงแล้ว สมองของลูกสามารถเรียนรู้และ พัฒนาได้ตลอดเวลาทั้งกลางวันและกลางคืน

จาก British Medical Journal  หรือวารสารการแพทย์อังกฤษได้รายงานการศึกษา Millenium Cohort แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของการนอนหลับกับการพัฒนาของสมองในเด็กเล็ก ลูกน้อย ที่นอนไม่ตรงเวลาจนถึงอายุสามขวบส่วนใหญ่จะมีปัญหาในด้านการอ่าน ทักษะทางคณิตศาสตร์ และ การสัมผัสรับรู้เมื่อช่วงเวลาผ่านไปพวกเขาก็ยังคงมีพัฒนาการที่ล่าช้า และส่วนมากจะเป็นในเด็กผู้ หญิงมากกว่าเด็กผู้ชาย ซึ่งสรุปว่าสามปีแรกของชีวิตดูเหมือนจะเป็นเวลาที่สำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการนอนหลับและการพัฒนาการทางสมอง

Key-visual-&-design5

นอกจากนั้นยังมีผลการวิจัยที่มีความคล้ายคลึงกับการวิจัยข้างต้นซึ่งทําในประเทศแคนาดาที่ตีพิมพ์ในวารสารการนอนปี 2008  ซึ่งพบว่าลูกน้อยก่อนอายุ 41 เดือนที่นอนหลับน้อยกว่าสิบชั่ว โมงต่อคืน มีแนวโน้มที่จะมีปัญหาด้านภาษา และด้านการอ่าน ซึ่งในการศึกษาของ ทั้ง สองแห่งยังพบว่า ปัญหาเหล่านี้ยังคงอยู่แม้ว่าจะมีการปรับปรุงเวลาการนอนหลับหลังจากที่ลูกมีอายุ เกินสามขวบแล้ว

ร่างกายของลูกน้อยไม่สามารถสร้าง กรดอะมิโนจําเป็นได้ ร่างกายต้องได้รับกรดอะมิโนจําเป็นจากอาหารที่รับประทานเข้าไป และหนึ่งใน กรดอะมิโนสําคัญนี้เรียกว่าทริปโตเฟน (Tryptophan) ซึ่งทริปโตเฟนมีบทบาทสําคัญในพัฒนาการ ของระบบประสาทของลูกน้อยวัยแรกเกิด  และสารอาหารที่ชื่อว่า แอลฟา-แลคตัลบูมิน (Alpha-lactalbumin) ซึ่งเป็นโปรตีนคุณภาพสูงพบมากในนมแม่นั่น เอง  เมื่อย่อยแล้วให้กรดอะมิโนจำเป็น

Screen-Shot-2558-10-07-at-13.46.52

เราทุกคนรู้ถึงความจำเป็นของการนอนหลับ… แต่อย่างไรก็ดี การที่มีวิทยาศาสตร์ช่วยเตือนเราถึง ความสำคัญของการนอนหลับว่าลูกน้อยต้องการการนอนหลับที่ดี เพื่อการพัฒนา ทางสมองและการเจริญเติบโตที่ดียิ่งขึ้นนั้นเป็นการช่วยเหลือคุณพ่อคุณแม่อย่างมาก ดังนั้นคุณ พ่อคุณแม่ควรดูแลลูกน้อยโดยเน้นเรื่องจัดวางการนอนหลับตอนกลางคืน และลำดับความสำคัญ ของเรื่องนี้ให้มาก ไม่ควรมองข้ามนะคะ

 


แหล่งอ้างอิง:

[1] Yvonne Kelly, et al. British Medical Journal. Time for bed: associations with cognitive performance in 7-year-old children: a longitudinal population-based study. J Epidemiol Community Health doi:10.1136/jech-2012-202024

 

[2] Emla Fitzsimons, et al. The Millennium Cohort Study, UK’s newest longitudinal birth cohort study and follows the lives of a sample of babies born between 1 September 2000 and 31 August 2001 in England and Wales, and between 22 November 2000 and 11 January 2002 in Scotland and Northern Ireland.

 

[3] Robert Rosenberg, Sleep and Childhood Brain Development: The Critical Link. Jul 9, 2013, Everyday Health

 

[4] Évelyne Touchette, et al. Journal Sleep, VOLUME 30, ISSUE 09, Associations Between Sleep Duration Patterns and Behavioral/Cognitive Functioning at School Entry. Sleep, 2007 Sep 1; 30(9): 1213-1219

 

[5] Heine WE. The significance of tryptophan in infant nutrition. In: Huether G, Kochen W, Simat TJ, Steinhart H, eds. Tryptophan, Serotonin, and Melatonim: Basic Aspects and Applications. New York, NY: Kluwer Academic/Plenum Publishers; 1999:705-710. Advances in Experimental Medicine and Biology; vol 467.

 

[6] Heine WE, Klein PD, Reeds PJ. The importance of Alpha-Lactalbumin in infant nutrition. J.Nutr. 1991;121:277-283

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up