ตั้งครรภ์ 5-6 สัปดาห์ และพัฒนาการทารกในครรภ์

Alternative Textaccount_circle
event

พัฒนาการ การตั้งครรภ์ 5-6 สัปดาห์

การเปลี่ยนแปลงของแม่ท้อง สัปดาห์ที่ 3-4

อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น หากใครที่ตั้งใจให้ตั้งครรภ์มักจะมีการวัดอุณหภมิร่างกายไว้ หรือเรียกสั้นๆว่า BBT ย่อมาจาก  Basal Body Temperature โดยมักจะทำการวัดอุณหภูมิช่วงตื่นนอนตอนเช้า เพื่อหาวันไข่ตก ซึ่งอุณหภูมิตัวนี้มักจะสูงขึ้นตั้งแต่วันไข่ตกไปจนถึงหลังจากมีประจำเดือนไปแล้ว 2 สัปดาห์ หากอุณหภูมิยังคงสูงอยู่เกิน 2 สัปดาห์ อาจแสดงว่ากำลังตั้งครรภ์

ประจำเดือนยังไม่มา ถือเป็นสัญญาณที่ชัดเจนที่สุดว่ากำลังตั้งครรภ์หรือไม่ หากทุกครั้งประจำเดือนมาค่อนข้างปกติ แต่ครั้งนี้กลับไม่มาเสียทีจนน่าเอะใจ ก็คงต้องออกไปหาซื้อชุดทดสอบการตั้งครรภ์มาตรวจรอลุ้นผลกันแล้วล่ะ

ยังมีอาการอื่นๆ อีกที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ปวดหัว ปวดหลังช่วงล่าง ท้องผูก ท้องอืด  ปวดบีบๆ บริเวณท้องน้อย หายใจหอบ เป็นต้น อาการเบื้องต้นที่กล่าวมา ถืออาการปกติของคนท้องและจะค่อยๆ หายไปได้เองเมื่อเริ่มเข้าสู่ไตรมาสที่ 2 หรือประมาณ 14-27 สัปดาห์ ซึ่งสาเหตุล้วนเกิดจากฮอร์โมนต่างๆ ในร่างกายที่มีการเปลี่ยนแปลงและทำงานอย่างขะมักเขม้นเพื่อรองรับลูกน้อยให้เติบโตอย่างสมบูรณ์และแข็งแรง

นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอีก

มดลูก มดลูกของคุณแม่เตรียมสภาพแวดล้อมให้พร้อมรองรับลูกน้อย ด้วยการเพิ่มการผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเทอโรนให้มากขึ้น จึงทำให้เกิดอาการของคนท้องต่างๆ ทั้งแพ้ท้อง คลื่นไส้ อารมณ์แปรปรวน เจ็บหน้าอกและอื่นๆ  นอกจากนี้มดลูกจะเริ่มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่วันที่ตัวอ่อนมีการฝังตัว โดยผนังมดลูกจะมีความนุ่มขึ้นเพื่อรองรับการฝังตัวของตัวอ่อน

รังไข่ หลังจากที่ลูกน้อยซึ่งเป็นตัวอ่อนฝังตัวในเยื่อบุโพรงมดลูกแล้ว ถุงน้ำในรังไข่จะสร้างฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเพื่อดูแลครรภ์ ซึ่งการทำงานนี้เองเป็นสาเหตุทำให้รังไข่หยุดผลิตไข่ในรอบต่อมา จึงเป็นสาเหตุทำให้คุณแม่ไม่มีประจำเดือน

ปากมดลูก ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เพิ่มมากขึ้น จะทำให้คุณแม่มีมูกข้นเหนียวมาปิดปากมดลูกไว้ เพื่อป้องกันเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ตัวลูกน้อย ทำให้คุณแม่อาจจะรู้สึกได้ว่ามีตกขาวมากขึ้น รวมถึงปากมดลูกของคุณแม่จะนุ่มและบางลง

เตือนคุณแม่ ! คุณแม่ควรงด ละ เลิก หลีกเลี่ยง แอลกอฮอลล์ บุหรี่ ยาบางชนิด หรือสารเคมีใดๆ ที่ผลต่อลูกน้อยโดยเด็ดขาดและทันที เพราะพัฒนาการทารกในครรภ์ช่วง 3 เดือนแรก เป็นช่วงเวลาสำคัญของการพัฒนาอวัยวะหลักต่างๆ ได้แก่ สมอง หัวใจ ศีรษะ กล้ามเนื้อ กระดูกและฟัน เนื้อเยื่อ ไขสันหลัง เพื่อลดการเกิดความผิดปกติต่างๆ และควรกินโฟเลตอย่างสม่ำเสมอ

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

อ่านต่อ พัฒนาการลูกน้อยในครรภ์ 5-6 สัปดาห์ คลิกหน้า 3

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up