โรคตับในแม่ท้อง ภาวะอันตราย ทำให้ครรภ์เสี่ยงสูง

โรคตับ ภาวะอันตราย ทำให้ ครรภ์เสี่ยงสูง สำหรับอาการของโรคตับ ที่แสดงออกอย่างชัดเจน คือ อาการดีซ่าน มีลักษณะตาขาว มีสีเหลือง ที่เรียกกันว่า ตาเหลือง ส่วนผิวหนัง ฝ่ามือ และฝ่าเท้ามีสีเหลือง เรียกว่า ตัวเหลือง แม้ดีซ่านจะไม่ได้เกิดในคนไข้โรคตับทั้งหมด แต่หากมีดีซ่าน สิ่งที่ควรสงสัยต่อไปคือ เป็นโรคตับหรือไม่ ซึ่งโรคตับส่งผลกับการตั้งครรภ์อย่างไรบ้าง อันตรายขนาดไหน มาดูในรายละเอียดกัน

เป็นโรค SLE (โรคเอสแอลอี) มีลูกได้ไหม ?

หากเป็น โรค SLE ตั้งครรภ์ ได้รึเปล่า โรค SLE หรือ เอสแอลอี (Systemic Lupus Erythematosus ; SLE) เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โรคพุ่มพวง ถือเป็นโรคภูมิแพ้ตัวเองโรคหนึ่งที่มีปัญหากับการตั้งครรภ์ โรคนี้เกิดจากความผิดปกติในภูมิคุ้มกันของร่างกาย แทนที่จะต่อสู้กับเชื้อโรค หรือ สิ่งแปลกปลอมที่เข้ามา กลับทำลายเซลส์ของตัวเอง จนเกิดการอักเสบทั่วร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น ผิวหนัง เยื่อบุช่องปาก เยื่อบุทางเดินอาหาร กระดูกและข้อ ไต หัวใจ ปอด ระบบโลหิต และระบบประสาท เป็นต้น

ตั้งครรภ์เกินกำหนด อย่าชะล่าใจ นั่นหมายถึง ครรภ์เสี่ยงสูง

“ ครรภ์เกินกำหนด “ อย่า ชะล่าใจ นั่นหมายถึง ครรภ์เสี่ยงสูง “ ครรภ์เกินกำหนด “ ใครว่าเป็นเรื่องน่าดีใจ โดยปกติแล้ว กำหนดคลอดของทุกคน หลังจากปฏิสนธิในครรภ์แม่ เมื่อนับจากประจำเดือนครั้งสุดท้าย คือ ตั้งครรภ์ 9 เดือนกับอีก 1 สัปดาห์ หรือ 40 สัปดาห์ หรือ 280 วัน หากใครตั้งครรภ์เกิน 9 เดือน กับ 3 สัปดาห์ หรือ 42 สัปดาห์ หรือ 294 วัน ถือว่าตั้งครรภ์เกินกำหนด

keyboard_arrow_up