ความสามัคคีจากเรื่อง หัวผักกาดยักษ์

ฮุยเลฮุย เอ้า ฮุยเลฮุย ฮึบ…  คำสั้นๆ ที่มีอยู่แทบทุกหน้าในเรื่อง หัวผักกาดยักษ์ ทำให้เด็กๆ จำได้ง่ายและสนุกที่จะทำท่าทางตาม นิทานภาพเรื่องหัวผักกาดยักษ์ ของ อเล็กเซ ตอลสตอย เป็นนิทานคลาสสิกที่อยู่คู่แพรวเพื่อนเด็กมาอย่างยาวนาน ด้วยเนื้อเรื่องที่สนุกสนานและภาพที่เข้าใจง่าย ทำให้เป็นหนังสือเล่มหนึ่งที่พ่อแม่จะเลือกซื้อให้ลูกอ่านอยู่เสมอ แต่รู้มั้ยคะว่าเนื้อเรื่องที่เรียบง่ายแบบนั้นแฝงเรื่องที่สำคัญไว้นั่นคือ “ความสามัคคี” อาจจะเป็นเรื่องที่ดูยากเมื่อต้องสอนเรื่องความสามัคคีให้ลูก แต่ถ้าคุณพ่อคุณแม่ยกนิทานเรื่องนี้ขึ้นมาอ่านให้ลูกๆ ฟัง เด็กจะเข้าใจเรื่องที่ต้องการบอกได้ผ่านคอนเซ็ปต์ง่ายๆ ของเนื้อเรื่องที่เล่าอย่างเรียบง่ายว่า คุณตาเจอหัวผักกาดยักษ์ แต่คุณตาดึงคนเดียวไม่ไหว ต้องให้คุณยายมาช่วย หลานมาช่วย หมามาช่วย และให้แมวกับหนูมาช่วย เมื่อทุกคนออกแรงช่วยกัน ก็สามารถดึงหัวผักกาดขนาดยักษ์ออกมาได้สำเร็จ ซึ่งเป็นแนวคิดพื้นฐานของ “ความสามัคคี” แม้เด็กเล็กจะยังไม่รู้จักคำนี้ แต่ก็จะเข้าใจได้ทันทีว่า “ถ้าพวกเราร่วมมือช่วยกัน จะทำทุกอย่างสำเร็จได้แน่นอน” หัวผักกาดยักษ์ เรื่อง อเล็กเซ ตอลสตอย ภาพ ชูเรียว ซาโต้ เรื่องภาษาไทย พรอนงค์ นิยมค้า

เรียนรู้การแก้ไขปัญหาในสถานการณ์เหนือการคาดเดา ผ่านนิทานเรื่อง ก๊อก ก๊อก ขอค้างคืนหนึ่งนะ

เรื่องราวของหนูสามตัวที่ออกมาเดินเที่ยวเล่นในป่า แต่ทว่าขากลับเกิดหลงทาง หมอกก็ลงหนาขึ้นทุกที  หนูสามตัวจึงตัดสินใจจะค้างคืนที่บ้านหลังหนึ่ง ก๊อก ก๊อก ขอค้างคืนหนึ่งนะ เป็นนิทานที่เด็กๆ หลายคนชื่นชอบ เพราะทั้งตื่นเต้นชวนลุ้น ในขณะเดียวกันก็ให้ความรู้สึกอบอุ่น ด้วยเรื่องและภาพ สัตว์เล็กๆ ในเรื่องเปรียบเสมือนเด็กๆ ที่ต้องการความอบอุ่นและปลอดภัย  ส่วนลุงหมีก็อาจเปรียบได้กับผู้ใหญ่ที่ใจดีแบ่งปันความอบอุ่นและอ่อนโยนให้  นอกจากนั้น นิทานเรื่อง ก๊อก ก๊อก ขอค้างคืนหนึ่งนะ ยังแสดงให้เห็นถึงการเรียนรู้เรื่องอื่นๆ ด้วย 1.เรียนรู้การแก้ไขปัญหา หนูสามตัวหลงทาง กลับบ้านไม่ได้ หมอกก็ลงหนา จะทำอย่างไรดีนะ  การที่หนูตัดสินใจจะค้างบ้านหลังหนึ่งกลางป่า เป็นการตัดสินใจแก้ไขปัญหาในขณะนั้นๆ หนูสามตัวอาจเปรียบได้กับเด็กๆ ที่บางครั้งอาจพบปัญหา และต้องแก้ไขปัญหานั้นด้วยตัวเอง  การกล้าที่จะเผชิญปัญหา หรือพยายามหาวิธีแก้ไขปัญหา เป็นจุดเริ่มต้นให้เด็กๆ ได้เรียนรู้วิธีการเอาตัวรอดค่ะ 2.เรียนรู้เรื่องมารยาท เมื่อตัดสินใจที่จะค้างคืนที่บ้านหลังนี้แล้ว แม้ว่าจะกล้าๆ กลัวๆ มีความไม่มั่นใจไปบ้าง แต่หนูสามตัวกลับไม่ลืมที่จะขออนุญาต ก่อนที่เข้าไปในบ้าน  นอกจากนั้นเมื่อเข้าไปแล้ว ยังรู้สึกกังวลใจว่า การค้างคืนโดยไม่บอกเจ้าของ คงไม่ดี อีกด้วย หนูสามตัวแสดงให้เห็นว่า การขออนุญาตก่อน เป็นเรื่องที่ทำได้ง่ายๆ  อีกทั้งเมื่อสัตว์ตัวอื่นๆ เดินทางมาที่บ้านหลังนี้ ทุกตัวล้วนแต่เคาะประตูเพื่อ […]

“หนอนจอมหิว” นิทานที่มีเรื่องราวมากกว่าการเติบโตของหนอนหนึ่งตัว

นิทานเรื่อง หนอนจอมหิว นิทานที่มีอายุกว่า 48 ปี (ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1969) ได้รับการแปลกว่า 62 ภาษาทั่วโลก และขายได้กว่า 30 ล้านเล่ม ทำไมนิทานเรื่องนี้จึงได้รับความนิยมและได้รับการยอมรับมากขนาดนี้กันนะ นิทานเรื่อง หนอนจอมหิว เรื่องและภาพโดย อีริค คาร์ล (Eric Carle) เรื่องราวของหนอนตัวหนึ่งที่ออกจากไข่ และกินทุกอย่างที่ขวางหน้า เพราะมันหิวมาก มันจึงกินมาก มันกินทั้งสัปดาห์ ตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันอาทิตย์ ไม่ได้หยุดกินเลย เจ้าหนอนตัวนี้กินเก่งสมกับเป็น หนอนจอมหิว เสียจริง นิทานเรื่องนี้มีภาพประกอบสีสันสดใส ภาพใหญ่ปะทะสายตา อีกทั้งเทคนิคภาพตัดปะยังทำให้เด็กๆ ได้เห็นพื้นผิวของภาพที่แตกต่างกันด้วย นอกจากนั้นยังมีการเจาะรู เพื่อแสดงให้เห็นว่าสิ่งนั้นถูกเจ้าหนอนหม่ำไปแล้ว! ด้วยเนื้อเรื่องที่สนุก น่าติดตาม จึงไม่น่าแปลกใจที่เด็กๆ จะชอบนิทานเรื่องนี้ เพราะอยากรู้เหลือเกินว่า เจ้าหนอนจอมหิวตัวนี้จะกินอีกเยอะแค่ไหน แล้วสุดท้ายหนอนจอมหิวจะกลายเป็นอะไร แต่ทว่านิทานเรื่องนี้ไม่ใช่แค่นิทานที่บอกเล่าการเติบโตของหนอนผีเสื้อตัวหนึ่งเท่านั้น แต่ยังซุกซ่อนเรื่องอื่นๆ ไว้อย่างแนบเนียนอีกด้วย 1. หนอนจอมหิว : บอกว่า “ใน 1 สัปดาห์ […]

จิ๋วหลิวผจญภัย ชวนสังเกตธรรมชาติรอบตัวและรู้จักพืชต่างถิ่น

  จิ๋วหลิวผจญภัย อะจุ  คะโต เรื่องและภาพ สิริพร  คดชาคร แปล ดอกไม้ที่ขึ้นตามข้างทาง ใครเป็นคนปลูกเอาไว้นะ ดอกไม้ที่ฝาท่อ ดอกไม้ในสวนที่ไม่ได้มีคนดูแล ทำไมจึงยังเติบโตได้นะ? บางที ต้นไม้ดอกไม้เหล่านั้น อาจจะเติบโตและได้รับการดูแลจาก “จิ๋วหลิว” ก็ได้นะ จิ๋วหลิว ไม่ใช่แมลงแต่จิ๋วหลิวเป็นสิ่งมีชีวิตตัวเล็กจิ๋ว (ที่เด็กๆ อาจจะมองไม่เห็น) จิ๋วหลิวชอบกินกลีบดอกไม้ ใบไม้ แล้วก็ชอบดื่มน้ำหวานจากเกสรดอกไม้ด้วยนะ แต่สิ่งที่จิ๋วหลิวไม่กินและเก็บไว้อย่างดีก็คือ เมล็ดดอกไม้ ครอบครัวจิ๋วหลิวเก็บเมล็ดดอกไม้เอาไว้อย่างดี แล้วพากันเดินทางไปหย่อนเมล็ดดอกไม้เหล่านั้นไว้ตามที่ต่างๆ ไม่ว่าในซอกเล็กๆ ตรงกำแพง ตามถนนคอนกรีต   ปลูกเมล็ดดอกไว้ใต้ตะแกรง ปลูกไว้ที่สวนสาธารณะด้วยนะ การผจญถัยของจิ๋วหลิว นอกจากจะทำให้เด็กๆ ได้สนุกกับมุมมองของภาพที่แตกต่างไปจากปกติ นั่นคือ ได้เห็นภาพขนาดใหญ่จากมุมมองของจิ๋วหลิวที่ตัวเล็กจิ๋วแล้ว  ยังได้สังเกตธรรมชาติรอบตัวไปพร้อมกับการเดินทางของจิ๋วหลิวอีกด้วย  ได้เห็นต้นไม้ที่แปลกตา ดอกไม้ที่ไม่เคยรู้จักชื่อมาก่อน ระหว่างที่เดินไปปลูกเมล็ดดอกไม้เหล่านั้น มีต้นไม้ ดอกไม้ที่ขึ้นอยู่ตามทางมากมาย หน้าตาของต้นไม้เหล่านั้นอาจจะไม่คุ้นตา (เพราะบ้านของจิ๋วหลิวในเรื่องคือญี่ปุ่น) แต่ก็ทำให้เด็กๆ ได้รู้จักพืชต่างถิ่นได้ เหมือนย่อโลกข้างนอกมาไว้ในหนังสือ ได้รู้จักดอกหน้าแมว  ต้นเบอะคะปุ่ย ได้เห็นต้นส้มกบดอกเหลือง  ได้เห็นเดซี่ป่า และต้นไม้อีกหลายต้น […]

เกมเขาวงกตกับทักษะการแก้ไขปัญหาจากนิทาน แม่หนูอยู่ไหน

 แม่หนูอยู่ไหน อิเกะสุมิ  ฮิโรโกะ เรื่องและภาพ ภัทร์อร  พิพัฒกุล แปล เมื่อลูกหมีตื่นนอนแล้วไม่เจอแม่ ลูกหมีจะทำอย่างไรดีนะ  ลูกหมีแก้ปัญหาด้วยการออกตามหาแม่ ระหว่างทางพบผู้คนมากมายที่คอยบอกทางให้ บางครั้งก็เหมือนจะใช่แม่ แต่ก็ไม่ใช่ แค่คล้ายๆ เท่านั้นเอง และสุดท้ายก็พบว่าแม่อยู่ใกล้กว่าที่คิด แต่ที่หาไม่เจอก็เพราะตกใจและไม่ทันได้มองให้ดีเสียก่อน จากเนื้อเรื่องคุณพ่อคุณแม่สามารถบอกเด็กๆ ได้ว่า หากพลัดหลงหรือหาพ่อแม่ไม่เจอ ให้ใจเย็นๆ ลองมองหารอบๆ ตัวให้ดีเสียก่อน แล้วยืนรอที่เดิม หรือไม่ก็ขอความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่     นิทานเรื่องนี้ภาพสวย สะอาดและสบายตา ตัวละครเป็นสัตว์ที่เด็กๆ คุ้นเคย แม้เนื้อเรื่องจะเริ่มต้นด้วยความตกใจของลูกหมี แต่เมื่อออกเดินทางไปสักพัก จะมีความสนุกแทรกอยู่ ด้วยภาพที่ผู้แต่งออกแบบให้เป็นเขาวงกต ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นจุดเด่นเรื่องเลยทีเดียวค่ะ เมื่อภาพเป็นเขาวงกต ก็ทำให้การใช้เวลาในการอ่านแต่ละหน้าเพิ่มมากขึ้น เด็กๆ จะมีสมาธิ จดจ่อกับเรื่องและภาพได้มากขึ้น เพราะต้องดูว่าจะให้ลูกหมีเดินไปทางไหนดี เหมือนกับว่า ได้อ่านไปเล่นไป และการเล่นเกมเขาวงกตนั้น ยังช่วยให้เด็กๆ ได้พัฒนาทักษะการแก้ไขปัญหาอีกด้วย 1.เขาวงกตช่วยให้เกิดกระบวนการคิดและวางแผนแก้ไขปัญหา เขาวงกต เป็นเกมที่มีจุดเริ่มต้น และจุดสุดท้าย เมื่อเด็กๆ เห็นว่าทางที่ลูกหมีจะไปไม่ใช่ทางแบบธรรมดา เด็กๆ จะเกิดกระบวนการคิดเพื่อหาทางออก […]

เรียนรู้ความแตกต่างและความภูมิใจในตนเองไปกับ เอลเมอร์

ปกติช้างตัวเป็นสีเทา แต่ถ้าวันหนึ่งมีช้างที่ไม่ใช่สีเทา แถมยังเป็นลายตารางหลากสีอีกละ จะเป็นอย่างไรนะ เรื่องราวของ เอลเมอร์ ช้างลายตารางหลากสีแสนซนซึ่งเป็นที่รักของช้างทุกตัว แต่แล้ววันหนึ่งเอลเมอร์กลับไม่อยากดูโดดเด่นและแตกต่างอีกต่อไป เขาจึงทำตัวเองให้เหมือนช้างตัวอื่นๆ แต่เอลเมอร์กลับรู้สึกไม่สนุกเลย ทำไมกันนะ….  ช้างสีไม่เหมือนช้าง ช้างที่ไม่เหมือนเพื่อนช้างตัวอื่นๆ ในฝูง โดดเด่นและแสนเป็นเอกลักษณ์  เพื่อนช้างในฝูงไม่มีใครมองว่าเอลเมอร์แปลก แต่เป็นเอลเมอร์เองที่คิดขึ้นว่า เบื่อแล้วกับการโดดเด่นและแตกต่างเช่นนี้ ช้างก็ต้องสีแบบช้างสิ เหมือนเพื่อนคนอื่นๆ สิ ถึงจะดี ใครจะอยากแตกต่างกันละ … คิดได้ดังนั้น เอลเมอร์จึงออกเดินทาง และทำตัวเองให้ “เหมือน” เพื่อนคนอื่น แต่เมื่อมีสีเหมือนเพื่อนแล้ว ทำไม่ถึงไม่สนุกเหมือนเดิมนะ … เรื่องราวของเอลเมอร์ สะท้อนให้เห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน ความแตกต่าวระหว่างตัวเอลเมอร์กับเพื่อน ความแตกต่างระหว่างเพื่อนกับเอลเมอร์ ความแตกต่างที่เอลเมอร์และเพื่อนไม่เคยมองว่าเรา “ต่าง” กัน จึงอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข และเอลเมอร์เองก็ไม่เคยรู้ว่าการเป็นตัวเองเป็นเรื่องที่ดีแค่ไหน จนกระทั่งได้ลองทำตัวเหมือนคนอื่นแล้วรู้สึกอึดอัดใจแบบแปลกๆ เมื่อนั้นเอลเมอร์จึงได้รู้ว่าไม่มีอะไรจะดีไปกว่าการเป็นตัวเอง แล้วความภูมิใจในตนเองจึงเกิดขึ้น เอลเมอร์กลับมาเป็นช้างลายตารางหลากสีที่สดใสร่าเริง และเล่นสนุกกับเพื่อนเหมือนเดิม เอลเมอร์ได้สอนเราว่า ไม่มีอะไรดีไปกว่าการเป็นตัวของตัวเอง และจงภูมิใจในสิ่งที่ตัวเองเป็น ในขณะเดียวกันเพื่อนของเอลเมอร์ก็สอนให้เราได้รู้ว่า การไม่ตัดสินคนอื่นจากความไม่เหมือน เป็นเรื่องที่ดีแค่ไหน เราทุกควรล้วนมีเอกลักษณ์และมีความแตกต่างระหว่างกัน ไม่มีใครเหมือนกันเลยสักคน การอยู่ร่วมกันท่ามกลางความแตกต่างอย่างเข้าใจ […]

มี้จังและการสอนเรื่องความรับผิดชอบแบบคนญี่ปุ่น

ในวัย 5 ขวบที่เป็นช่วงต่อระหว่างวัยเด็กเล็กและเด็กโตอาจทำให้คุณพ่อคุณแม่กังวลว่าลูกของตนมีศักยภาพในการทำอะไรได้บ้าง ในวัยนี้เด็กน้อยหลายคนคงเข้าอนุบาลกันหมดแล้ว และเมื่อต้องห่างไกลสายตาไป คุณพ่อคุณแม่ก็ย่อมมีความเป็นห่วงว่าลูกของตนจะช่วยเหลือตัวเองได้ขนาดไหน สามารถทำอะไรตามคำสั่งได้หรือเปล่า ซึ่งสิ่งนั้นก็คือลูกของเรานั้นสามารถรับผิดชอบตนเองได้มากขนาดไหนในวัยเท่านี้ คำถามคือเราจะรู้ได้อย่างไรว่าลูกของเรานั้นรู้จักความรับผิดชอบ และหากว่ายังไม่รู้ จะเริ่มสอนได้เมื่อไหร่ และต้องสอนอย่างไร เมื่อพูดถึงเรื่องความรับผิดชอบ คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจมองเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหญ่ เพราะคำนี้สื่อไปถึงบุคลิกที่เชื่อมโยงกับสังคมในอนาคตของเจ้าตัวน้อยด้วย แต่จริงๆ แล้วความรับผิดชอบเริ่มต้นด้วยความหมายง่ายๆ และใกล้ตัวมากกว่าที่คิดค่ะ เราลองมาดูการสอนให้เด็กรู้จักความรับผิดชอบผ่านนิทานเรื่อง “งานแรกของมี้จัง” ของประเทศเพื่อนบ้านอย่างญี่ปุ่นกันดีกว่าค่ะ งานแรกของมี้จังเป็นเรื่องราวของเด็กหญิงมี้จังวัย 5 ขวบ ที่คุณแม่ได้ไหว้วานให้เธอช่วยออกไปซื้อนมที่ร้านชำใกล้บ้าน และมี้จังก็พยายามทำหน้าที่นั้นอย่างมุ่งมั่นและสำเร็จจนได้ แม้จะเจออุปสรรคบ้างก็ตาม อาจดูเป็นเรื่องที่ไม่ยากสำหรับผู้ใหญ่หลายๆ คน แต่การออกไปซื้อของนอกบ้านก็นับเป็นการผจญภัยที่ยิ่งใหญ่สำหรับเด็กคนหนึ่งเลยทีเดียว และหากมองตามเนื้อเรื่องเราก็จะเห็นได้ว่า ในประเทศญี่ปุ่นนั้นเด็กวัยเพียงเท่านี้ก็เรียนรู้ที่จะรับผิดชอบหน้าที่ของตนเองได้แล้ว จึงไม่ใช่เรื่องยากที่เราจะนำแนวทางมาปรับใช้และสั่งสอนลูกของเราได้ การสอนเรื่องความรับผิดชอบแบบคนญี่ปุ่น การสอนเรื่องความรับผิดชอบแบบคนญี่ปุ่นเริ่มต้นตั้งแต่เข้าโรงเรียนอนุบาล เมื่อพ่อแม่พาเด็กมาส่งให้คุณครูที่โรงเรียนเรียบร้อยแล้ว ทางโรงเรียนจะให้เด็กทำหน้าที่ของตนเอง เช่นการนำสิ่งของของตัวเอง อย่าง รองเท้า กระเป๋าที่นอน ผ้ากันเปื้อน ไปเก็บไว้ในที่ที่จัดเตรียมไว้ หลังจากนั้นจึงจะเข้าไปร่วมเล่นของเล่นกับเพื่อนๆ ได้ แม้เด็กเล็กอาจจะยังทำไม่ได้ทันทีในวันแรกๆ แต่คุณครูก็จะคอยช่วยบอกและพาเด็กไปทำสิ่งนั้นอย่างใจเย็น เพื่อให้เด็กเข้าใจว่าการช่วยเหลือตนเองเป็นสิ่งที่ควรทำ และเป็นเรื่องปกติที่ต้องทำได้ ซึ่งสิ่งนี้จะสอดแทรกเข้าไปในชีวิตประจำวันของเด็กไปเรื่อยๆ ทำให้ตัวเด็กเกิดความคุ้นเคยและรับรู้หน้าที่ของตนเองได้ในที่สุด ให้เด็กดูแลรับผิดชอบเรื่องของตนเอง เช่นเดียวกับเรื่องมี้จังที่คุณแม่ของมี้จังไม่ได้บอกตรงๆ ว่าต้องทำอะไร แต่ใช้การมอบหมายงานง่ายๆ […]

keyboard_arrow_up