Aspenshire International School นานาชาติ 3 ภาษา ส่งเสริมทุกสมรรถนะ ศาสตร์ ศิลป์ ไอที สร้างนักคิด นักทำ นักเรียนรู้ตลอดชีวิต
สิ่งที่เราเตรียมให้ลูกน้อยของเราได้คือการเลือกโรงเรียนที่สร้างรากฐานและทักษะชีวิตให้ลูก ๆ แข็งแกร่ง เพราะการสอบที่แท้จริง คือ การใช้ชีวิตในอนาคต วันนี้ทีมแม่ ABK ขอพาคุณพ่อคุณแม่มารู้จักโรงเรียนนานาชาติแอสเพ็นเชียร์ (Aspenshire International School) อีกหนึ่งสุดยอดโรงเรียนนานาชาติแห่งใหม่ โดยนักการศึกษารุ่นใหม่ เพื่อเด็ก Gen ใหม่อย่างแท้จริง
classroom everyday atmosphere
เด็ก ๆ จะแวดล้อมไปด้วยธรรมชาติ
More than learning @ Aspenshire
โรงเรียนที่ “ใช่”
แม้จะเพิ่งเปิดปีการศึกษาแรก แต่คุณพ่อคุณแม่เชื่อมั่นได้เลยว่า Aspenshire จะกลายเป็นโรงเรียนที่ลูก ๆ รัก เพราะคุณภาพ เข้มข้น ตามแบบฉบับโรงเรียนในเครือ “สาธิตปทุม” ที่มี ผศ. ดร. ประชุมพร สุวรรณตรา เป็นผู้ก่อตั้ง หลักสูตรที่ผ่านการคิดมาอย่างดี เพราะนักการศึกษาที่นี่เองก็เคยเป็น “นักเรียน” มาก่อน และ pain point หรือ อุปสรรคในการเรียนรู้ถูก “จัดการ” เรียบร้อยแล้วที่ Aspenshire
โรงเรียนนานาชาติแอสเพนเชียร์จัดการเรียนรู้รูปแบบบูรณาการที่ผสมผสานกันระหว่าง English National Curriculum และ American Curriculum คุณพ่อคุณแม่สามารถวางใจในชีวิต Primary school student ของลูก ๆ ได้เลยค่ะ เพราะโรงเรียนนานาชาติที่ใช้หลักสูตรอังกฤษจะมีความเข้มข้นมากใน ทั้งด้านคุณภาพของการศึกษา ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน ,คุณภาพของผู้สอน โดยจะต้องผ่านการตรวจ – รับรองมาตรฐานใหม่ทุก ๆ 3 – 5 ปี จากสถาบันทั้งในและต่างประเทศที่ได้รับการยอมรับ (เท่านั้น)
ในระดับ Early Years (อนุบาล) นั้นหลักสูตรอังกฤษมุ่งเน้น การเรียนรู้ผ่านการเล่น ( ที่นิยมเรียกกันว่า Play-Based Learning ) ดังนั้นเมื่อต่อมาในระดับชั้นประถมศึกษา – เน้นการเรียนรู้ทั้งในรูปแบบ Active Learning + Self-study
ความโดดเด่นของหลักสูตร Aspenshire อยู่ตรงนี้ค่ะ นั่นคือ การไม่จำกัดการเรียนรู้อยู่แค่ภายใต้หลักสูตรอังกฤษเท่านั้นแต่ยังเสริมทัพด้วยการประยุกต์หลักสูตรอเมริกันจัดการเรียนรู้ควบคู่ไปด้วย (ที่แรกและแห่งเดียว!) หลักสูตรอังกฤษเน้นการเรียนลงลึก หลักสูตรอเมริกันเน้นการเรียนรู้ที่กว้าง ครอบคลุม ยืดหยุ่น เน้นการพัฒนาตนเอง การคิดวิเคราะห์ ความคิดสร้างสรรค์ และทักษะการแก้ปัญหา
ที่โรงเรียนใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก และภาษาไทยและภาษาจีนกลาง นอกจากจะเป็นการ maximize ความสามารถด้านภาษาแล้ว เด็ก ๆ ยังเรียนรู้และซึมซับแนวคิด เห็นคุณค่าของความหลากหลายทางวัฒนธรรมอีกด้วย และที่ขาดไม่ได้เลยค่ะ อีกเรื่องของหลักสูตรอังกฤษ คือ ระบบบ้าน หรือ House System (ให้นึกถึงบ้านใน Harry Potter) ซึ่งในแต่ละบ้านจะมีการทำกิจกรรมร่วมกัน เด็ก ๆ จะได้เรียนรู้และมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนนักเรียนหลายช่วงอายุผ่านการทำงานเป็นทีม develop ทักษะการเข้าสังคม รู้รับ ปรับตัว ให้เข้ากันกับสถานการณ์ที่หลากหลาย เป็นผู้นำ – ผู้ตาม และแน่นอนที่สุดคือเป็นส่วนหนึ่ง (ที่สำคัญ) ของโรงเรียน
Eco School Program
Aspenshire ปูพื้นฐานให้เด็ก ๆ เรียนรู้ในหลากหลายวิชา ได้แก่ Languages | Math | Science | และอื่น ๆ ที่สำคัญไม่แพ้กันเลยคือ Eco School Program คือ “การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” มีเนื้อหาที่สำคัญที่ผนวกเข้าไปในหลักสูตร เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความหลากหลายทางชีวภาพ การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ และการบริโภค การผลิตที่ยั่งยืน ฯลฯ ซึ่งวัตถุประสงค์สูงสุดคือ “การเปลี่ยนแปลงในระดับสังคม”
เพราะเด็กแต่ละคนมีความแตกต่าง คุณครูก็จะใช้วิธีการสอนที่หลากหลาย
Ancient Egypt ก็ต้องไปให้สุด เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ทั้ง language, science, culture ไปในคราวเดียวกัน แบบนี้เรียกบูรณาการค่ะ
คุณครู always here and there
The Teachers
คุณครู = จุดแข็งของโรงเรียน
คุณครูจากนานาประเทศยื่นใบสมัครจำนวนหลักร้อย – ผ่านการคัดเลือกเพียงหลักหน่วย เพราะ Aspenshire มองหาคุณครูที่ครบเครื่องจริง ๆ ไม่ได้ต้องการแค่ความรู้ที่คุณครูมี ครูต้องเป็น Humanizer มีเมตตากรุณา ช่างสังเกต มีไหวพริบ กล้าคิด-กล้าทำ และที่สำคัญคือวิจารณญานที่เหมาะสม ครูผู้นั้น = คุณครูที่ใช่!
สิ่งที่คุณครู follow ตามหลักสูตรก็คือ “จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้ของเด็ก ๆ ” เด็ก ๆ ต้องเรียนรู้เรื่องอะไร เป็นไปตามวัยและข้อกำหนดของหลักสูตร
แต่อิสระที่แตกต่างกันออกไปคือ คุณครูสามารถ design การสอน Material ประกอบการสอน กิจกรรมและ worksheet ได้ตามพัฒนาการและความแตกต่างของเด็ก ๆ แต่ละคน การให้อิสระคุณครู สามารถแสดงศักยภาพของตัวเองได้อย่างเต็มที่
แน่นอนว่า เรียนเกินหลักสูตรได้ แต่น้อยกว่าหลักสูตรไม่ได้! ( เกินได้ – ขาดไม่ได้ ) นักเรียน Aspenshire จึงมี item ลับมากมายที่เด็ก ๆ โรงเรียนอื่นไม่มีค่ะ
ตอบโจทย์เรื่อง “ความช่างสังเกต” เพราะคุณครูที่ Aspenshire จะจัดกลุ่มเด็ก ๆ แบ่งออกตามความสามารถในการเรียนรู้ (Differentiate) ได้แก่ Low | Middle | High ability ที่เรียนร่วมกัน แต่ปรับวิธีการสอนให้เหมาะสมเพื่อประโยชน์สูงสุดของเด็กๆนั่นเอง
Always here and there สำหรับเด็กโตแล้ว คุณครูมักเป็น “พื้นที่สบายใจ” ของเด็ก ๆ คุณครู Aspenshire จึงเป็นทั้ง teacher และ counselor
หากเราอยากปลูกฝังจิตสำนึกรักษ์โลก เราต้องจัดบรรยากาศแวดล้อมนักเรียนให้ล้อกันไปด้วยให้อยู่ในชีวิตประจำวัน แล้วธรรมชาติจะเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในชีวิตไปเลยค่ะ
The Learning Ecosystem
ทางตรง – อุปมาอุปมัย
Aspenshire ตั้งอยู่ในชุมชนที่เหมาะสมต่อ “ระบบนิเวศของการเรียนรู้” ของเด็ก ๆ
โดยจัดสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก ๆ ให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ ภายใต้ความเชื่อที่ว่า การเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงของผู้เรียนย่อมมีพลังและความหมายมากกว่าการเรียนรู้จากตำราหรือในห้องเรียน
3 ขั้นตอนหลักของการเรียนรู้ ได้แก่
Learn = การเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ
Unlearn = การไม่ยึดติดกับสิ่งที่เคยเรียนรู้มาก่อน
Relearn = การเรียนรู้ในสิ่งที่เคยเรียนรู้มาแล้วด้วยมุมมองใหม่ ๆ
ทุกการปลูกฝังไม่ว่าจะเป็นนิสัยหรือพืชพันธุ์นั้นก็ย่อมใช้เวลา Aspenshire จึง “ ให้เวลา” เด็ก ๆ ได้เรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรมก่อน
Eco cycle, planting คือ growing life การเพาะปลูก เรียนรู้วงจรชีวิตของพืชในระบบชีววิทยา เด็ก ๆ ไม่ได้แค่รดน้ำ พรวน ดินแต่เริ่มจากการ discuss – วางแผน – เตรียมแปลง – เพาะปลูก เด็ก ๆ จะเผชิญกับตัวแปรที่ควบคุมไม่ได้ เช่น สภาพแวดล้อม แมลงศัตรูพืช เมล็ดพันธุ์ที่ไม่สมบูรณ์ สถานการณ์เหล่านี้ เท่ากับประสบการณ์ จะค่อย ๆ พัฒนาให้เด็ก ๆ ช่างสังเกต ช่างคิด ( หาทางจัดการกับปัญหา ) รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สุดท้ายจะก่อเกิดเป็นนิสัยที่ “ รักและใส่ใจในผู้คน ชีวิต และโลกใบนี้ ”
เมื่อเรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรมแล้ว ก็จะต่อยอดมาเป็น concept : Sustainability ว่าด้วยเรื่องความยั่งยืน ที่ไม่ใช่แค่ Reduce Reuse Recycle แต่เป็น “การคิดเพื่อการเปลี่ยนแปลงในระดับสังคม” โดยนำแนวคิดมาปรับใช้ได้ตามนี้เลยค่ะ
People (คน)
เด็ก ๆ ต้องค้นหาแนวทางการเรียนรู้ที่เหมาะกับตนเอง = รู้จักตัวเอง ส่วนคุณครูสามารถช่วยเหลือนักเรียนได้ โดยการทำแบบประเมินตนเอง ระบุความต้องการการเรียนรู้ และช่วยเหลือในการจัดหา material หรือ สื่อการเรียนรู้
Content ( เนื้อหา )
จากในบทเรียน แต่สิ่งสำคัญที่จะสร้างผู้เรียนให้เป็น Lifelong Learner ได้คือการเรียนรู้นอกห้องเรียนตามความสนใจที่ไม่จำกัดรูปแบบการเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้จากสื่อดูวิดีโอ อ่านบทความ หรือฟัง podcast โดยให้นักเรียนระบุเป้าหมายสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ให้ชัดเจน
Technology (เทคโนโลยี)
ระบบที่สนับสนุนให้เด็ก ๆ พัฒนาทักษะของตนนอกเหนือไปจากการเรียนในวิชาบังคับ
Data (ข้อมูล)
ส่วนสำคัญต่อการสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็น ต้องการเรียนรู้เรื่องใด เนื้อหาอะไร หรือถนัดในการเรียนรู้แพลตฟอร์มไหน พฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็ก ๆ เป็นข้อมูลที่ช่วยให้เห็นภาพกว้างและภาพเชิงลึกในการเรียนรู้ของแต่ละคนที่ชัดขึ้น นำมาสู่การพัฒนาและออกแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับนักเรียนในที่สุด
Governance (การกำกับดูแล)
คือ การร่วมกันปรับปรุงองค์ประกอบต่าง ๆ ของระบบนิเวศการเรียนรู้ โดยคุณครูและนักเรียนต้อง Feedback เกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ทั้งเรื่อง คน เนื้อหา เทคโนโลยี และข้อมูล เพื่อการพัฒนารอบด้านอย่างแท้จริง
ระบบนิเวศการเรียนรู้ คือ Lifelong learning จากการเรียนรู้ – สู่การทำงาน – ผ่านการใช้ชีวิต practical life
ครอบครัว คือ ส่วนหนึ่งของระบบนิเวศของการเรียนรู้ของเด็กๆเช่นกัน โดยสรุปแล้วครอบครัว แหล่งเรียนรู้ สื่อหรือทรัพยากรการเรียนรู้ เทคโนโลยี นโยบายต่างๆ ฯลฯ ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็น Lifelong learner คนสำคัญของคุณพ่อคุณแม่นั่นเองค่ะ