ไม่รักพ่อแม่

ลูกบอก “ไม่รักพ่อ ไม่รักแม่” แก้อย่างไร?

Alternative Textaccount_circle
event
ไม่รักพ่อแม่
ไม่รักพ่อแม่
วินัยเชิงบวก
เครดิตภาพ : daily mail

ดังนั้นวิธีรับมือที่ดีที่สุด คือการแสดงให้ลูกเห็นว่า การไม่ตามใจ เป็นคนละเรื่องกับความรักด้วยเทคนิคการสร้างวินัยเชิงบวก3 ขั้นตอน  ดังนี้ค่ะ

ขั้นตอนที่ 1 คือ ยังไงก็รัก

เมื่อลูกบอกว่า “ไม่รักแล้ว” คุณพ่อคุณแม่บอกลูกได้ทันทีว่า แต่พ่อแม่รักหนู” และเช่นเดียวกัน หากลูกบอกว่า “พ่อแม่ไม่รักหนู” เราก็ต้องยืนยันว่า “ยังไงพ่อแม่ก็รักหนู” วิธีการนี้นอกจากจะเป็นการสื่อสารให้ลูกเข้าใจอย่างตรงไปตรงมาแล้วว่า “ไม่ตามใจ” ไม่ใช่แปลว่า “ไม่รัก” ยังเป็นข้อความแทนใจที่ทำให้จิตใจลูกอ่อนโยนขึ้นและสงบจิตสงบใจได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

ขั้นตอนที่ 2 คือ แสดงความเข้าใจ

โดยการอธิบายอารมณ์ ความรู้สึก และความต้องการของลูกที่กำลังเกิดขึ้น เช่น “แม่รู้หนูบอกว่า ไม่รักแม่ เพราะหนูกำลังโกรธ ที่แม่ยังไม่ซื้อของเล่นให้หนู” วิธีการนี้จะช่วยให้ลูกมีคลังคำศัพท์ที่ใช้สำหรับอธิบายอารมณ์ของตัวเองเพิ่มขึ้น รวมถึงช่วยให้ลูกได้ทำความเข้าใจเหตุผลที่มาของอารมณ์และพฤติกรรมของตนเอง ซึ่งจะช่วยให้เขาสามารถจัดการกับอารมณ์ขุ่นมัวของตัวเองได้ง่ายขึ้น

ขั้นตอนที่ 3 คือ อารมณ์ดี ถึงทีอธิบาย

เข้าใจว่าคุณพ่อคุณแม่ต้องมีเหตุผลที่ไม่สามารถตามใจในสิ่งที่ลูกขอได้ แต่การสอนลูกทันทีทั้งที่เพิ่งถูกขัดใจนั้น จะทำให้ลูกยิ่งไม่ฟังและต่อต้าน เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ลูกมีอารมณ์ร้อนเกินไป จนต้องแสดงพฤติกรรมที่ไม่น่ารักออกมา ขอให้คุณพ่อคุณแม่อดใจไว้ก่อน แล้วค่อยอธิบายเหตุผลในตอนที่ลูกอารมณ์ดีๆ ก็ยังไม่สายค่ะ

จะเห็นได้ว่าพฤติกรรมการใช้ความรักเป็นข้อต่อรองเป็นพัฒนาการตามธรรมชาติของเด็กๆ แต่ใจความสำคัญนั้นอยู่ที่ วิธีการสอนของเรา ที่สามารถทำให้พฤติกรรมนี้อยู่ยงคงกระพันจนกลายเป็นนิสัย หรือสามารถทำให้ค่อยๆ มลายหายไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เทคนิคการสร้างวินัยเชิงบวกทั้ง 3 ขั้นตอนนี้จึงช่วยส่งเสริมพัฒนาการภาษาและทักษะสมองส่วนเหตุผลของเด็ก อีกทั้งยังช่วยเพิ่มประสบการณ์การเรียนรู้ ฝึกฝนความสามารถในการควบคุมอารมณ์ของลูกรวมถึงรักษาสัมพันธภาพที่ดีกับลูกได้อีกด้วย พราะหัวใจหลักของเทคนิคการสร้างวินัยเชิงบวกคือ การแสดงให้ลูกเห็นว่า ไม่ว่าลูกจะมาไม้ไหนไม่ว่าลูกจะแสดงพฤติกรรมร้ายเพียงใดยังไง้ ยังไง พ่อแม่ก็รัก!!!

อ่านต่อบทความน่าสนใจ คลิก!

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 


เรื่อง : ผศ.ดร. ปนัดดา ธนเศรษฐกร  อาจารย์สาขาพัฒนาการมนุษย์  สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว  มหาวิทยาลัยมหิดล นิตยสาร Amarin Baby & Kids เดือนพฤศจิกายน 2559

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up