สอนลูกเป็น “ผู้แพ้” อย่างชาญฉลาด

Alternative Textaccount_circle
event

            ฉันก็เข้าใจนะว่าลูกเสียใจมาก แต่สำหรับแม่อย่างฉันแล้วไม่ค่อยชอบนัก เพราะเค้กเพิ่งจะอายุแค่ 8 ขวบเท่านั้น แต่มีความรู้สึกรุนแรงขนาดนี้เชียว!

 
“เด็กช่วงวัยนี้มักยังไม่เข้าใจว่า ‘เมื่อพายุร้ายพัดใส่ จะมีฟ้าหลังฝนที่สดใสตามมา’ แถมคิดไปว่าเมื่อเป็นผู้แพ้จะต้องแพ้กันไปชั่วนิรันดร์ (ขนาดนั้นกันทีเดียว)” ดร.ทามาร์ ชานสกี้ นักจิตวิทยาเด็ก ผู้เขียนหนังสือ “Freeing Your Child from Negative Thinking” อธิบาย ถึงอย่างนั้นคุณก็ยังสามารถช่วยเหมือนเดิมค่ะลูกเก็บเกี่ยวประโยชน์จากการเป็นผู้แพ้ได้อยู่ดี

 
รู้จักความจริงของชีวิต เมื่อลูกเริ่มสงบลง ลองชี้ให้เขารับรู้ความจริงข้อหนึ่งว่า คนเรามีวันพ่ายแพ้ ไม่สมหวังกันทุกคน อย่างเรื่องกีฬานี่ แม้แต่นักกีฬามืออาชีพอย่างไทเกอร์ วู้ด ก็ยังมีวันที่แพ้มาแล้ว

 
เสริมภูมิคุ้มกันความผิดหวัง เรื่องนี้ควรสอนให้ลูกได้รู้แต่เนิ่นๆ “เด็กๆ จำเป็นต้องฝึกรับมือกับเหตุการณ์ผิดหวังทั้งหลาย วิธีหนึ่งที่จะช่วยฝึกได้คือไม่ตามใจลูกทุกครั้ง เช่น ไม่ซื้อของให้ทุกครั้ง ถ้าครั้งที่แล้วเขาได้เลือกดีวีดีไปแล้ว ครั้งนี้เขาจะไม่ได้เลือก เพราะเป็นคราวของน้อง ลูกจะค่อยๆ สะสมภูมิคุ้มกันต่อความรู้สึกไม่สมหวังมากขึ้น”

 
หลีกเลี่ยงการตำหนิในทันที คุณแม่ควรปล่อยให้ลูกสงบอารมณ์ก่อนแล้วค่อยๆ พูด เมื่อเขาเริ่มรับฟังคุณ ค่อยๆ บอกเขาว่าการขว้างปา โยนข้าวของ หรืออาละวาด ไม่เป็นประโยชน์อะไรกับเขาเลย

 
จบลงด้วยข้อคิด ข้อคิดที่ดีเป็นทั้งกำลังและแนวทางให้ลูก เช่น นักแบดมินตันยิ่งตีลูกมาก ยิ่งเห็นว่าเขาควรจะตีอย่างไรให้ดีขึ้น เล่นบาสเกตบอลก็เหมือนกัน ยิ่งเลี้ยงมาก – ส่งมาก – ชูตลูกให้มาก ลูกจะยิ่งทำได้ดีขึ้น และที่สำคัญ มีโอกาสเป็นไปได้ว่า ครั้งนี้ย่อมไม่ใช่ครั้งสุดท้ายที่ลูกจะพบกับความพ่ายแพ้ แต่ควรเป็นครั้งสุดท้ายที่หนูจะรู้สึกไม่ดีต่อความพ่ายแพ้ที่เกิดขึ้น

 

 

บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up