โรคความดันโลหิตสูงกับการตั้งครรภ์

โรคความดันโลหิตสูงกับการตั้งครรภ์ ภัยเงียบของแม่ท้อง

Alternative Textaccount_circle
event
โรคความดันโลหิตสูงกับการตั้งครรภ์
โรคความดันโลหิตสูงกับการตั้งครรภ์
ความดันสูง ท้องได้ไหม
ภาวะเสี่ยงของโรคความดันโลหิตแบบไหนที่ไม่ควรมีลูก

แบบไหนไม่ควรตั้งครรภ์..เพราะเสี่ยงสูงมาก!

  • อายุมากกว่า 40 ปี
  • เป็นโรคความดันโลหิตสูงมานานเท่ากับหรือเกิน 15 ปี
  • เมื่อเริ่มตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูงรุนแรงคือเท่ากับหรือมากกว่า 160/110 มม.ปรอท
  • มีโรคเบาหวานร่วมด้วย
  • มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูง ต่อไปนี้ร่วมด้วย ได้แก่ ไตเสื่อม ไตวาย จอตาเสื่อม หัวใจโต
  • มีโรคต่อไปนี้ร่วมด้วย โรคหลอดเลือด โรคภูมิแพ้ของร่างกาย

อันตรายที่เกิดขึ้นคือ

  • มีโอกาสเกิดครรภ์เป็นพิษ ร้อยละ 25-50
  • โอกาสคลอดก่อนกำหนดร้อยละ 62-70
  • โอกาสเกิดรกลอกตัวก่อนกำหนดร้อยละ 5-10
  • โอกาสทารกไม่เจริญเติบโตในครรภ์ร้อยละ 31-40
  • ทำให้เสี่ยงต่อการพิการและเสียชีวิตของแม่และลูก โดยความรุนแรงจะเพิ่มขึ้นมาก หากมารดาผู้นั้นฝากครรภ์ช้าหรือไม่ได้ฝากครรภ์

ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง
การใช้ยารักษาโรคความดันโลหิตสูงมีผลต่อทารกในครรภ์หรือไม่?

ยารักษาโรคความดันโลหิตสูงจะมีผลกับเด็กในท้องหรือไหม?

ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง ช่วยลดความรุนแรงของความดันโลหิตสูงได้ ซึ่งจะช่วยลดอันตรายที่จะเกิดขึ้นต่อมารดา ได้แก่ เลือดออกในสมอง หัวใจตาย ไตวาย ฯลฯ แต่หากลดความดันโลหิตมากไป ทารกอาจขาดเลือดไปเลี้ยง ทำให้หยุดเจริญเติบโตหรือเสียชีวิตในครรภ์ได้ หากก่อนตั้งครรภ์ใช้ยาบางจำพวกที่ห้ามใช้ในคนตั้งครรภ์ อาจจะต้องปรับเปลี่ยนยา ยาที่ห้ามใช้ในคนตั้งครรภ์ ได้แก่ ยาจำพวกเอซอินฮิบิเตอรส์ (ACE inhibitors), แอนจิโอเทนซิน รีเซ็พเตอร์ แอนต้าโกนิสทส์ (Angiotensin receptor antagonists) และ ไดเร็ค เรนิน อินฮิบิเตอร์ (Direct renin inhibitors)  

ยาลดความดันโลหิตที่มีผลน้อยต่อทารก นิยมเลือกใช้ในคุณแม่ตั้งครรภ์มีสามจำพวก ได้แก่ เมทธิวโดปา(Methyldopa), ลาเบทาลอล (Labetalol) และแคลเซียม แชนเนล บล็อคเกอร์ (Calcium channel blocker)

ขณะตั้งครรภ์ถ้าความดันโลหิตไม่สูงมาก ควบคุมได้ อาจไม่ต้องใช้ยาดลดความดันโลหิต แต่หากความดันโลหิตสูงเกิน 150/100 มิลลิเมตรปรอท ควรใช้ยาลดความดันโลหิตตามแพทย์สั่ง และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

ช่วงหลังคลอด ขณะให้นมลูก แพทย์อาจปรับเปลี่ยนยาลดความดันโลหิต เพราะส่วนใหญ่ออกทางน้ำนมน้อยไม่ค่อยมีผลต่อทารก สามารถเลือกใช้ได้หลายชนิดตามความเหมาะสม

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

ติดตาม คำแนะนำเมื่อเป็นโรคความดันโลหิตสูงแล้วตั้งครรภ์ ต่อหน้า 4

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up