คัมภีร์แม่ท้องแบบง่ายๆ (ไตรมาส 3)

Alternative Textaccount_circle
event

ใกล้จะได้เห็นหน้าลูกน้อยอันเป็นที่รักแล้ว ไตรมาสที่ 3 นี้คุณแม่ควรจะต้องเรียนรู้และปฏิบัติตัวอย่างไรบ้างไปดูกันค่ะ

Highlights

  • เหนื่อยง่ายเพราะหน้าท้องที่ใหญ่ขึ้น
  • นอนหลับยาก ปัสสาวะบ่อย ปวดหลัง หายใจลำบาก ท้องผูก ท้องอืด กรดไหลย้อน ขี้ลืม
  • มองเห็นกำปั้นหรือเท้าน้อยของลูกเวลาเตะหรือดิ้น
  • ลูกเริ่มกลับศีรษะเมื่อเข้าสัปดาห์ที่ 37
  • น้ำหนักเพิ่มประมาณ 5 กิโลกรัม

อาการแบบนี้ต้องหาหมอ

  • ก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ มีอาการปวดหลังช่วงล่าง รู้สึกถึงแรงกดที่อุ้งเชิงกราน ปวดช่องท้อง มีการบีบตัวของมดลูกมากกว่า 4 ครั้งใน 1 ชั่วโมง
  • ลูกดิ้นน้อยลงหรือไม่ดิ้นเลย
  • มีเลือดออกทางช่องคลอด หรือมีน้ำเดิน หรือตกขาวผิดปกติ
  • ปวดหัวรุนแรง มองเห็นไม่ชัด เห็นภาพซ้อน หรือจุดดำลอยไปมา
  • ปวดท้องรุนแรง ท้องแข็งตึง
  • อาเจียนตลอดเวลาร่วมกับมีไข้
  • ปัสสาวะแสบขัด
  • หน้าบวม ตาบวม มือและนิ้วบวมมากกว่าปกติ ขา เท้า และตามข้อบวมขึ้นกะทันหันผิดปกติ
  • มีไข้เท่ากับหรือมากกว่า 38 องศาเซลเซียส
  • วิงเวียน หน้ามืด ใจสั่น หัวใจเต้นแรง หายใจลำบาก
  • น้ำหนักขึ้นมากกว่า 2 กิโลกรัมต่อสัปดาห์

Must do

นับจำนวนการดิ้นของลูก วางแผนการคลอด จัดกระเป๋าเตรียมคลอด ฝึกหายใจเพื่อเตรียมคลอด ลงคลาสเตรียมตัวคลอด พบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพครรภ์และสุขภาพลูก หากเกิดอาการเจ็บครรภ์และมีน้ำเดิน ควรงดอาหารและเครื่องดื่มทุกชนิด และรีบไปโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด

อาหารการกิน

1. กะโหลกของลูกกำลังพัฒนา จึงต้องใช้แคลเซียมในการสร้าง และร่างกายจะใช้แคลเซียมได้ดีต้องใช้วิตามินดีในการดูดซึม วิตามินดีพบมากในแสงแดด และในอาหาร เช่น นม ปลาที่มีกรดไขมันดี เป็นต้น

2. ธาตุเหล็กขาดไม่ได้ เพราะจำเป็นต่อการหล่อเลี้ยงลูกน้อย และป้องกันการขาดเลือดเมื่อคลอด โดยปกติคุณหมอมักจะให้คุณแม่กินเสริมในรูปแบบของยาเม็ดอยู่แล้ว

3. ไขมันสำคัญต่อการสร้างสมองและการมองเห็น ควรเลือกกินไขมันดีที่มีอยู่ในปลา ถั่วเปลือกแข็ง ผักสีเขียวเข้ม ร่างกายแข็งแรงด้วยโปรตีน หากคุณแม่ไม่สามารถกินเนื้อสัตว์ได้ ลองมองหาโปรตีนจากแหล่งอื่นแทน เช่น เต้าหู้ ไข่ไก่ ผัก ถั่ว เป็นต้น

3. ซ่อมแซมดีเอ็นเอและป้องกันการพิการด้วยกรดโฟลิก หากเป็นไปได้คุณแม่ควรกินกรดโฟลิกตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ เพราะพัฒนาการทางสมองและระบบประสาทเริ่มตั้งแต่หลังปฏิสนธิ

4. ดื่มน้ำอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันการขาดน้ำ มีออกซิเจนในกระแสเลือดเพียงพอ

5. วิตามินซีเพื่อคุณแม่ สำหรับซ่อมแซมเนื้อเยื่อต่างๆ หลังคลอด

การออกกำลังกาย

การออกกำลังในไตรมาสนี้ค่อนข้างยากกว่าเดิม เพราะขนาดและน้ำหนักตัวที่มากขึ้น ทำให้เหนื่อยง่ายและหายใจลำบาก ดังนั้นวิธีออกกำลังกายที่ดีที่สุดคือ โยคะ การออกกำลังกายในน้ำ เช่น แอโรบิกหรือเดิน เป็นต้น และการฝึกขมิบ

Do You Know?

การกลั้นปัสสาวะทำให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ และทำให้คลอดก่อนกำหนดได้

 

อ่านเพิ่มเติม

  1. คัมภีร์แม่ท้องแบบง่ายๆ (ไตรมาส 1)
  2. คัมภีร์แม่ท้องแบบง่ายๆ (ไตรมาส 2)

 

บทความโดย : กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง

 

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up