แม่ติดโควิดคลอดลูก

เรื่องจริงจากหมอ “ทำคลอดแม่ติดโควิด” อันตรายสุด เตือนแม่ อย่าเสี่ยง อย่าปิดข้อมูล

account_circle
event
แม่ติดโควิดคลอดลูก
แม่ติดโควิดคลอดลูก

เรื่องเล่าจากห้องคลอด แม่ติดโควิดคลอดลูก นาทีชีวิตที่ต้องเสี่ยงหากผิดพลาดลูกน้อย และเจ้าหน้าที่กว่า 30 ชีวิตต้องติดเชื้อทันที!!

ปกติการคลอดลูกเป็นสถานการณ์ที่มีความเสี่ยง ซึ่งหมอสูติ หมอเด็ก และเจ้าหน้าที่ในห้องคลอดต้องทำงานอย่างหนัก เพื่อให้คุณแม่และลูกน้อยปลอดภัย แล้วถ้า แม่ติดโควิดคลอดลูก จะเป็นอย่างไร

แพทย์หญิงประจำโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าท่านหนึ่งได้โพสต์เล่าในเฟสบุ๊กส่วนตัวชื่อ Nopparat Sutarapanakit ถึงประสบการณ์สุดระทึกในการทำคลอดคุณแม่ที่ตรวจพบเชื้อโควิด-19 โดยติดเชื้อจากสามีที่ทำงานอยู่ในพื้นที่เสี่ยง ความว่า

แม่ติดโควิดคลอดลูก
ขอบคุณภาพจาก FB opparat.sutarapanakit

บันทึกไว้เตือนความทรงจำ 6/1/64

“สุขสันต์วันเกิด น้องโควิดา” (ชื่อนี้หมอๆ ตั้งให้เองน้า )

ความตื่นเต้นเริ่มจาก แม่ covid positive GA 36 +2 with IUGRประเมิน น้ำหนักลูก 2100 กรัม ติดมาจากพ่อที่ทำงานตลาดทะเลไท ทั้งแม่ ทั้งหมอทุกคนเครียด แค่ป้องกัน Covid ก็ลำบากแล้วนี่ต้องเตรียมรับแม่ที่จะคลอดได้ตลอดเวลา เวลา 1-2 อาทิตย์ สำหรับการเตรียมการถือว่าน้อยมากๆ มันเครียดสำหรับทุกฝ่าย สำหรับ รพ. อำเภอเล็กๆ ในพื้นที่สีแดงเข้มมมมม ปัญหาเริ่มจาก เด็กตัวเล็ก ไม่ครบกำหนดคลอด อาจจะคลอดเมื่อไหร่ก็ได้ พ่วงมาด้วย Covid ที่ใครๆก็กลัวไม่อยากเป็น

เริ่มต้นด้วย หมอเมด (อายุรแพทย์)บอก คนท้องคือ high risk สำหรับ Covid 19 การยาที่ให้มีข้อจำกัดเพราะอายุครรภ์ยังไม่ 37 weeks หมอเมด หายากันให้วุ่น ไม่รู้ต้องให้เมื่อไหร่ ถึงช่วยลด viral load (ค่าจำนวนเชื้อไวรัส) เนื่องจากยังไม่เคยเจอเหตุการณ์แบบนี้มาก่อน แต่โชคยังดี แม่อาการดีไม่มีปอดอักเสบ

พอผล positive ก็ admit หมอทุกแผนก หมอสูติ หมอเด็ก หมอเมด ลุ้นกันทุกคืน ใจก็อยากดึงให้ถึง 38 weeks เพราะไม่อยากให้เด็กเกิดมาแล้วมีปัญหาเรื่องการหายใจ ถ้าต้องใส่ ETT (ท่อหลอดลม)  อาจแพร่ให้เจ้าหน้าที่ดูแลได้ แถมแม่ admit 31 ธันวาคม ยอมรับว่าเป็นวันสิ้นปีที่ลุ้นตลอดเวลา หมอหลายแผนกไปไหนไม่ได้ ต้อง stand by เผื่อภาวะฉุกเฉิน ผ่านไปแต่ละวันอย่างเนิ่นนาน มีการประชุม หาข้อสรุปว่าจะวางแนวทางรักษาทั้งแม่และลูก รวมทั้งแนวทางป้องกันเจ้าหน้าที่ทุกคนให้เสี่ยงน้อยที่สุด

หลังจากยื้อได้ 5 วัน น้องโควิดาก็อยากเกิด แม่เริ่มเจ็บท้อง การประชุมทั้งทีมเกิดความเครียด ตกลงไม่ได้ว่าจะทำไงดี จะเลือกความปลอดภัยของแม่ หรือ ลูก แถมพ่วงด้วยความเสี่ยงของการติดเชื้อของเจ้าหน้าที่ทุกระดับชั้น หมอทุกแผนก ปรึกษาอาจารย์ ในโรงเรียนแพทย์ เผื่อหาแนวทางการดูแลที่ดีที่สุด เรียกว่า อ่านหนังสือ guildline paper เยอะแบบไม่เคยทำมาก่อน และทีมก็ตัดสินใจยอมให้หนูน้อย โควิดา คลอดตอนGA 37 weeks เพราะไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน เจ็บท้องคลอดกันใน ward Covid ซึ่งสถานที่ไม่อำนวยในการคลอดและเสี่ยงสำหรับเจ้าหน้าที่มากมายนับไม่ถ้วน หมอสูติเองก็คิดหนัก เพราะหมอเด็กอยากรอถึง 38 weeks หมอเมดอยากรอให้ครบ 10 วันหลังจาก positive

หมอสูติบอกไม่ได้เลย “ลูกจะอยากเกิดวันไหน ถ้าเกิดคลอดนอกเวลา เจ้าหน้าที่จะยิ่งไม่พร้อม ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นมหาศาลแล้วยังคิดว่าจะหาใครมาเลี้ยงเด็กเพราะพ่อแม่ยังไม่ครบกักตัว 28 วัน ได้คุณยายวัย 72 ปี ก็ยังดี แต่คงต้องเน้นเรื่องการป้องกันตัว ถ้าพ่อแม่ได้กลับบ้าน ไม่งั้นติดหลังคลอด หมอเด็กก็เครียดอีก

หมอเด็กก็กลัวถ้า C/S 37 week without labour pain ปัญหาของเด็กตัวเล็ก รออยู่อีกมากมายที่กลัวที่สุดคือเรื่องการหายใจ ( TTN ) แต่ต้องยอมแลกกับความเสี่ยงที่จะคลอดแบบฉุกเฉินกลางดึก ซึ่งไม่มีความพร้อม

หมอเมดก็เครียดเรื่องการให้ยาลดการความเสี่ยงในการแพร่เชื้อ จัดหาที่ให้อยู่ ( เพราะตอนนี้คนไข้ Covidเยอะจนล้น ตอนนี้ก็ให้นอนห้องละ 3 คนอยู่แล้ว)

แม่ติดโควิดคลอดลูก

หลังจากปรึกษากันเสร็จ สรุปได้วันผ่าตัดคลอด ต้องเตรียมการใหญ่ทั้งเตรียมทีม เตรียมห้อง เตรียมอุปกรณ์(พันพลาสติกกันปนเปื้อน เพราะหลายอย่างต้องนำกลับมาใช้ซ้ำ)มหาศาล เจ้าหน้าที่ฝึกซ้อมแผนใหญ่ก่อนผ่าตัด 1 วัน ตั้งแต่set ผ่าตัด เวรเปลพาแม่เข้า OR ปิดทางเดิน แม่บ้านตามทำความสะอาดสถานที่ที่ผ่าน

เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายซ้อมใส่ชุดหมี ยากสุดตอนทำให้หน้ากาก N95 ฟิตกับหน้าไม่ให้มีรูรั่ว ทำไงให้ถอดชุดง่าย ลดการปนเปื้อน คนที่ใส่แว่นหาต้องหาสก็อตเทปติดกันแว่นหลุด ทำยังไงไม่ให้เกิดฝ้าที่แว่นและ face shield มันยากไปหมด พี่หมอสูติติด micropore (เทปแต่งแผล) อยู่หลายรอบ เวลาถอดหน้ากาก N95 ไม่ให้ปนเปื้อน ดึงจนหนังหน้าหนังขอบตาล่างจะหลุดออกมา ถลอกไปหมด ส่วนหมอเด็กทีมรับเด็กก็ต้องหาวิธีคล้อง stet (หูฟังการแพทย์) ไว้ตลอดเวลาจนเจ็บหู รูดชุดหมีคลุมให้มิดที่สุด แค่วันซ้อม ก็ใช้อุปกรณ์มากมาย

พอถึงวันจริง สรุปทั้งหมอสูติ หมอเด็กนอนไม่หลับ กลัวสารพัด คิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันทุกรูปแบบเพื่อหาทางป้องกันไว้ก่อน หมอดมยาก็คงเครียดเหมือนกัน เพราะต้อง spinal block (บล็อกหลัง) ให้สำเร็จอย่างเดียว ทั้งทีมต้องไม่ให้มีข้อผิดพลาด ซึ่งถ้าผิดพลาดนิดเดียวหมายถึงเจ้าหน้าที่เกือบ 30 ชีวิตมีโอกาสติดเชื้อ และคนทำงานคงหายไปหลายคน ในช่วงวิกฤตแบบนี้ ยิ่งขาดใครไม่ได้เลย ไม่คิดว่าจะมาถึงจุดนี้เลยจริงๆ

ที่เล่ามายาว อยากไว้เตือนตัวเองและอยากถ่ายทอดว่า ถ้าคุณแม่เป็น Covid ( ไม่ได้หมายถึงคุณแม่ท่านนี้นะคะ คุณแม่ท่านนี้น่ารักมาก ติดมาจากสามีที่ได้มาจากการทำงาน เจ้าหน้าที่ทุกคนเข้าใจ และอยากให้ทั้งคุณแม่และคุณลูกปลอดภัยค่ะ )

ไม่ใช่แค่ครอบครัวที่เครียด หมอๆ เจ้าหน้าที่ทุกระดับชั้นก็เครียดมากกว่าหลายเท่า ดังนั้นช่วยกันระวังอย่าให้ตัวเองเป็น ถ้าเสี่ยงมาอย่าปกปิด ให้บอกเจ้าหน้าที่ให้หมด  ให้คิดว่าเจ้าหน้าที่ทุกคนก็มีพ่อแม่ ลูก เมีย ที่เค้าต้องดูแล เค้าเสียสละหลายสิ่งเพื่อทุกคนปลอดภัย

#ใส่ mask ล้างมือ อย่าปกปิดประวัติ นึกว่าช่วยบุคลากรทางการแพทย์นะคะ

#save บุคลากรทางการแพทย์แล้วเราทุกคนจะ save คุณเต็มที่ค่ะ…

ทีมแม่ABK ขอขอบคุณบุคลากรทางการแพทย์ทุกคนที่ทุ่มเท มุ่งมั่นรักษาชีวิตของคุณแม่กับลูกน้อยคู่นี้อย่างเต็มที่ และอยากฝากประสบการณ์จากคุณหมอท่านนี้ ที่หลายคนอาจไม่มีโอกาสได้รู้มาก่อนไว้เป็นข้อเตือนใจให้ช่วยกันระมัดระวังตัวเองและคนในครอบครัวห่างไกลจากเชื้อโควิด-19 โดยเฉพาะคุณแม่ท้อง คุณแม่ท้องใกล้คลอด ที่หากติดเชื้อโควิดแล้ว

ดูแลตัวเองอย่างไรไม่ให้เจอสถานการณ์ แม่ติดโควิดคลอดลูก

การดูแลตัวเองตั้งแต่ตอนท้องเป็นสิ่งสำคัญที่สุด แม้จะยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ระบุชัดเจนว่าเชื้อโควิดถูกส่งผ่านจากแม่ไปสู่ลูกในครรภ์ แต่มีผลโดยตรงต่อสุขภาพของแม่ เพราะโควิด-19เป็นเชื้อโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของปอดลดลง ระบบภูมิคุ้มกันจะเปลี่ยนไปและอาจมีความเสี่ยงในการติดเชื้อต่างๆ อย่าง ไข้หวัดใหญ่ หรือ และโรคจากเชื้อไวรัสชนิดอื่นที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจอื่นๆ

แม่ติดโควิดคลอดลูก

ดังนั้นคุณแม่ควรดูแลอย่างเคร่งครัดโดยเฉพาะในช่วงแพร่ระบาด โดยใช้หลักการป้องกัน 3 ล. (เลี่ยง ลด ดูแลตนเอง) อย่างเคร่งครัด ได้แก่

  1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรืออยู่ใกล้ชิดผู้ที่มีอาการไอ เป็นไข้หรือผู้ที่เดินทางมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยง และในสถานที่ที่มีผู้คนแออัด หรือรวมกลุ่มกันจำนวนมาก
  2. รักษาระยะห่างในการอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นด้วยการอยู่ห่างกัน 1 – 2 เมตร
  3. หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสบริเวณดวงตา ปาก และจมูก
  4. กินอาหารที่ปรุงสุกใหม่เสมอหรือปรุงอาหารให้สุกร้อนทั่วถึง
  5. หลีกเลี่ยงการใช้ภาชนะรับประทานอาหารและของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
  6. หมั่นล้างมือบ่อย ๆด้วยสบู่และน้ำสะอาดนานอย่างน้อย 20 วินาที ทุกครั้งที่มีการไอจาม สัมผัสสิ่งแปลกปลอม ก่อนกินอาหาร หรือออกจากห้องน้ำ หากไม่มีสบู่ ให้ใช้ Alcohol gel 70%
  7. ในขณะไม่ได้สวมหน้ากากอนามัยถ้ามีอาการไอ จาม ให้ใช้ต้นแขนด้านบนปิดปากทุกครั้ง
  8. คุณแม่ทุกคนที่อยู่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบหรือมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อหากมีอาการป่วย เล็กน้อย ควรพักผ่อนอยู่ที่บ้าน ถ้ามีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ หายใจเหนื่อย ควรรีบไปพบแพทย์
  9. คุณแม่ท้องสามารถฝากครรภ์ได้ตามนัด และไม่ควรผิดนัด หากไม่สะดวกควรโทรปรึกษาแพทย์ล่วงหน้า

 

แหล่งข้อมูล : www.matichon.co.th  https://www.facebook.com/nopparat.sutarapanakit

บทความน่าสนใจอื่นๆ

คนท้องตรวจโควิดได้ไหม จำเป็นต้องตรวจไหม อาการแบบไหนไม่ควรปล่อยไว้

 

หมอเตือน! อาการไข้หวัดใหญ่ คล้ายกับโควิด-19 ติดร่วมกันได้ทำให้ป่วยหนัก

 

เผย “ความในใจคนเป็นแม่” หลัง ลิเดียติดเชื้อไวรัสโควิด-19

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up