น้ำคร่ำอุดตันในกระแสเลือด

น้ำคร่ำอุดตันในกระแสเลือด “เพชฌฆาตเงียบ” ของแม่ท้อง

Alternative Textaccount_circle
event
น้ำคร่ำอุดตันในกระแสเลือด
น้ำคร่ำอุดตันในกระแสเลือด

 น้ำคร่ำอุดกั้นปอด

ภาวะน้ำคร่ำอุดตัน ป้องกันได้ไหม

แม้ภาวะนี้จะมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ แต่กลับเป็นสิ่งที่วิทยาการการแพทย์ปัจจุบันยังเอาชนะไม่ได้ แม้การฝากครรภ์อย่างดีและสม่ำเสมอ จะลดปัจจัยเสี่ยงได้ในระดับหนึ่ง ทำให้โอกาสเกิดลดลง แต่การจะป้องกันให้ได้100% ยังทำไม่ได้

การรักษาภาวะน้ำคร่ำอุดกั้นปอด

หากเกิดกรณีดังกล่าวขึ้นแพทย์จะต้องอาศัยความรวดเร็วในการวินิจฉัย การตัดสินใจ และการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าของสูตินารีแพทย์และทีมงาน ทั้งนี้จะต้องมีเครื่องมือกู้ชีวิต ยาและเลือดที่พร้อมจะรักษาได้ทันท่วงที โดยเริ่มจากการให้ออกซิเจนอย่างเพียงพอ ป้องกันภาวะสมองและไตขาดเลือด ซึ่งจะส่งผลต่อทารก การให้เลือดหรือเกร็ดเลือดเพื่อป้องกันภาวะไม่แข็งตัวของเลือด การให้สารละลายเพื่อทดแทนภาวะการขาดน้ำอย่างรวดเร็ว การประเมินความดันโลหิต พร้อมให้น้ำและยาในปริมาณที่เหมาะสมหากในรายที่มีปอดบวมน้ำ ภาวะช็อกรุนแรงไม่สามารถประเมินสารน้ำในร่างกายได้

นอกจากนี้แพทย์จะต้องพิจารณาผ่าตัดคลอดทันทีในรายที่มารดามีภาวะหัวใจหยุดเต้นไปแล้ว และทารกมีอายุครรภ์มากพอที่จะเลี้ยงรอดได้ ซึ่งทั้งหมดจะต้องกระทำภายในระยะเวลาอันสั้น ทำให้อัตราการเสียชีวิตของมารดาจากภาวะน้ำคร่ำอุดกั้นปอด สูงถึงร้อยละ 60 ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากภาวะหัวใจหยุดเต้น โดยจะเสียชีวิตในชั่วโมงแรกถึงร้อยละ 25 -50 ในรายที่พ้นจากระยะแรกไปแล้วจะเกิดภาวะเลือดไม่แข็งตัวถึงร้อยละ 40 ส่วนผู้ที่รอดชีวิตมักจะมีภาวะบกพร่องทางระบบประสาทรุนแรงถึงร้อยละ 85 และมีเพียงร้อยละ 8 ของผู้รอดชีวิตที่สามารถรอดพ้นอันตรายโดยไม่มีความผิดปกติใดๆ ขณะที่ทารกที่รอดชีวิต ในรายที่หัวใจมารดาหยุดทำงานมีน้อยมาก และทารกที่รอดชีวิตส่วนใหญ่ก็พบว่ามีภาวะบกพร่องทางระบบประสาทเช่นกัน

แม้จะมีมาตรฐานการรักษาตามแนวทางราชวิทยาลัยสูติ-นรีแพทย์ ชัดเจน สูติแพทย์ทุกท่านเรียนรู้อย่างดียิ่ง และในมาตรฐานเหล่านั้นก็ระบุว่าโรคฉับพลันนี้ แม้ให้การรักษาเต็มที่แล้วส่วนใหญ่จะเสียชีวิต มีโอกาสรอดปกติเพียง 1 ใน 10 ราย ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลดีที่สุด ในมืออาจารย์สูติแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มีเครื่องมือพร้อม ก็ไม่อาจช่วยชีวิตแม่ได้ทันเหมือนกัน

ภาวะน้ำคร่ำอุดตันในกระแสเลือด เป็นภาวะฉุกเฉินที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น หรือแม้แต่แพทย์ และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องก็ไม่มีใครอยากเจอเคสเช่นนี้ อย่างไรก็ตาม ภาวะดังกล่าวมีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อย คุณแม่อย่าวิตกกังวลไปล่วงหน้า การไปพบคุณหมอตามนัดหมายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ค่ะ

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

อ่านต่อบทความน่าสนใจ คลิก

ภาพหาชมยาก!! ทารกคลอดออกมาทั้งถุงน้ำคร่ำ (มีคลิป)

โฉมหน้า 15 โรคแทรกซ้อน ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
นาวาอากาศเอก(พิเศษ)นายแพทย์ อิทธพร คณะเจริญ กรรมการแพทยสภา, น.พ.อานนท์ เรืองอุตมานันท์, นพ.สมพงษ์ วันหนุน หัวหน้ากลุ่มงานสูตินารีเวช โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up