ตัวย่ออัลตร้าซาวด์

ตัวย่ออัลตร้าซาวด์ มีความหมายและบอกอะไรเกี่ยวกับทารกในครรภ์ได้บ้าง?

event
ตัวย่ออัลตร้าซาวด์
ตัวย่ออัลตร้าซาวด์

ตัวย่ออัลตร้าซาวด์

วิธีการตรวจ อัลตร้าซาวด์

สำหรับการทำอัลตร้าซาวด์ กับแม่ท้อง เป็นการอัลตร้าซาวด์แบบ Lower Abdomen โดยคุณแม่ไม่ต้องงดน้ำและอาหาร ยกเว้นแต่เมื่อคุณหมอสั่ง ก่อนถึงเวลานัดตรวจ 3 ชั่วโมง ให้ดื่มน้ำเปล่า 4-5 แก้ว และกั้นปัสสาวะไว้จนกว่าจะตรวจเสร็จ ขณะทำต้องปวดปัสสาวะเต็มที่ ซึ่งจะทำให้สามารถเห็นมดลูกและอวัยวะบริเวณท้องน้อยชัดเจน โดยคุณหมอจะเปิดหน้าท้องแล้วใช้ครีมทาหน้าท้อง (เพื่อให้มีความลื่น) และใช้หัวนำเสียงวางบนครีม เพื่อเลื่อนตรวจดูทารกในครรภ์ในตำแหน่งต่างๆ

วิธีอ่านผลอัลตร้าซาวด์

  1. CRL = การวัดความยาวของทารก
  2. BPD = การวัดความกว้างของศีรษะทารก
  3. HC = การวัดเส้นรอบวงศีรษะ
  4. AC = การวัดเส้นรอบท้อง
  5. FL = การวัดความยาวกระดูกต้นขา
  6. AFI = การวัดน้ำคร่ำ
  7. EFW = การคะเนน้ำหนักทารกในครรภ์ Single คือครรภ์เดี่ยว multiple คือครรภ์แฝด
  8. LMP = วันแรกของประจำเดือนรอบสุดท้าย
  9. EDD หรือ EDC = วันครบกำหนดคลอดที่อายุครรภ์ 40 สัปดาห์ คำนวณจาก LMP
  10. GA = อายุครรภ์

คำศัพท์ที่พบบ่อยในใบตรวจ

Gestational sac คือ ถุงการตั้งครรภ์

Fetal cardiac pulsation คือ อัตราการเต้นของหัวใจทารก

Placental site คือ ตำแหน่งรก

Placental grading คือ ลักษณะเนื้อรก

Quickening คือ ประวัติเด็กดิ้นครั้งแรก

Presentation คือ ท่าของทารกในครรภ์

การวัดสัดส่วนทารกในครรภ์สำหรับสูติแพทย์และแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป (Fetal Biometry for Obstetrician and General Practitioners)
ที่มา : ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา / ผศ.พญ.เฟื่องลดา ทองประเสริฐ

 ตัวย่ออัลตร้าซาวด์

1. CRL การวัดความยาวของทารก (Crown-Rump Length)

ความยาวของทารกคือ ระยะที่ยาวที่สุดของตัวอ่อนหรือทารก โดยวัดความยาวจากยอดศีรษะ (crown) ถึงส่วนล่างสุดของสะโพก (rump) โดยไม่วัดรวมส่วนแขนขา (limbs) และถุงไข่แดง (yolk sac) การวัดความยาวของทารกมีประโยชน์ในการทำนายอายุครรภ์ได้ดีในไตรมาสแรก ซึ่งถือว่าเป็นตัววัดที่แปรปรวนน้อยและมีความถูกต้องแม่นยำในการทำนายอายุครรภ์มากที่สุด

ความถูกต้องแม่นยำ

การวัดความยาวของทารกมีประโยชน์ในการทำนายอายุครรภ์ได้ดีโดยเฉพาะอายุครรภ์ 6 – 14 สัปดาห์ และมีความแม่นยำมากที่สุดในช่วงอายุครรภ์ 6.5 – 10 สัปดาห์ ความคลาดเคลื่อนในการทำนายอายุครรภ์จากการวัดเพียงหนึ่งครั้งเท่ากับ 4.7 วัน และหากวัดสามครั้งแล้วนำมาหาค่าเฉลี่ยจะพบความคลาดเคลื่อนในการทำนายอายุครรภ์เพียง 2.7 วัน

ความถูกต้องในการทำนายอายุครรภ์จะลดลงเมื่ออายุครรภ์มากขึ้นเนื่องจากทารกมักจะงอตัวหรือเหยียดตัวได้บ่อยขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังอายุครรภ์ 12 สัปดาห์เป็นต้นไป และหลังอายุครรภ์ 14 สัปดาห์ไปแล้วทารกจะมีขนาดยาวเกินไปจนไม่สามารถวัดได้ตลอดแนวจากภาพเดียว

2. BPD การวัดความกว้างของศีรษะทารก (Biparietal Diameter)

เป็นการวัดสัดส่วนของทารกที่ใช้บ่อยที่สุดตัวหนึ่งในการทำนายอายุครรภ์ สามารถวัดได้ตั้งแต่ไตรมาสที่สองเป็นต้นไป นำมาใช้เพื่อประเมินอายุครรภ์ได้อย่างแม่นยำโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงอายุครรภ์ 14 ถึง 28 สัปดาห์

ความถูกต้องแม่นยำ

ความถูกต้องของการวัดความกว้างของศีรษะทารกในการทำนายอายุครรภ์ขึ้นอยู่กับอายุครรภ์และรูปร่างของศีรษะที่ผิดไปจากปกติ หากวัดก่อนอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ความคลาดเคลื่อนในการทำนายอายุครรภ์เท่ากับ 7 วัน หากวัดช่วงอายุครรภ์หลัง 20 สัปดาห์ความคลาดเคลื่อนในการทำนายอายุครรภ์เท่ากับ 7 – 11 วัน หรือ 1 – 2 สัปดาห์ และหากวัดในไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ ความคลาดเคลื่อนมีได้สูงถึง 2 – 4 สัปดาห์

3. HC การวัดเส้นรอบวงศีรษะ (Head Circumference)

นำมาใช้ประเมินอายุครรภ์ในช่วงไตรมาสที่ 2 และ 3 ของการตั้งครรภ์ มีความสำคัญในกรณีที่รูปร่างของศีรษะผิดไปจากปกติจนทำให้การประเมินอายุครรภ์จากความกว้างของศีรษะทารกคลาดเคลื่อนไป เนื่องจากเป็นตัววัดที่ไม่ขึ้นกับรูปร่างของศีรษะมากเท่าความกว้างของศีรษะทารก

ความถูกต้องแม่นยำ

ค่าเส้นรอบวงศีรษะเป็นตัววัดที่น่าเชื่อถือตัวหนึ่งในการทำนายอายุครรภ์ ในทางทฤษฎีใช้ทำนายอายุครรภ์ได้ดีกว่าค่าความกว้างของศีรษะทารก เนื่องจากไม่ขึ้นกับรูปร่างของศีรษะทารก แต่ในทางปฏิบัติแล้วการวัดความกว้างของศีรษะทารกทำได้ง่ายกว่า บ่อยครั้งในการวัดเส้นรอบวงศีรษะพบเงาดำ (acoustic shadow) บดบังทำให้ภาพไม่ชัดเกิดความคลาดเคลื่อนในการวัด ทำให้ความถูกต้องแม่นยำน้อยกว่าค่าความกว้างของศีรษะทารก

♥ บทความแนะนำน่าอ่าน : การเติบโตและพัฒนาการของลูกน้อยช่วงอายุแรกเกิด - 5 ปี

อ่านต่อ >> ความหมายตัวย่ออักษร ต่างๆ บนผลอัลตร้าซาวด์ ที่แม่ท้องควรรู้” คลิกหน้า 3

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up