เป็นผู้ฟัง ฝึกลูก เลี้ยงลูกให้เก่ง

6 เทคนิคฝึกลูกเป็นผู้ฟังที่ดี

Alternative Textaccount_circle
event
เป็นผู้ฟัง ฝึกลูก เลี้ยงลูกให้เก่ง
เป็นผู้ฟัง ฝึกลูก เลี้ยงลูกให้เก่ง

เป็นผู้ฟังที่ดี มีชัยไปกว่าครึ่ง! ลูกวัยอนุบาลมักอยู่ไม่นิ่ง ฟังอะไรนานๆ ไม่ค่อยได้ แบบนี้ไม่ดีแน่ มาสร้างลูกเป็นผู้ฟังตัวน้อยกันดีกว่า ด้วย 6 เทคนิคง่ายๆ ที่ทำได้ทุกวัน!

1. พ่อแม่ต้องเป็นตัวอย่าง

ถ้าหนูน้อยนักเรียนคนใหม่กลับมาบ้านพร้อมกับเรื่องน่าตื่นเต้น จงตั้งใจฟังโดยไม่วอกแวกแอบเหลือบมองทีวี หรือหันไปคุยเมาท์กับคนอื่น การให้เกียรติลูกในฐานะผู้พูด จะทำให้เด็กๆ เข้าใจได้โดยอัตโนมัติว่าเวลาที่พูดคุย เขาต้องเคารพผู้พูดด้วยการตั้งใจฟัง

2. ตาประสานตา

เวลาที่พูดสอนหรือสั่งลูกให้มองตาเขาด้วย เพื่อให้ลูกเรียนรู้ว่า การสบตากันระหว่างผู้พูดและผู้ฟังเป็นการแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจในการสื่อสารระหว่างกัน

3. เอ่ยชม

เมื่อลูกตั้งใจฟังสิ่งที่คุณสอนแล้วปฏิบัติตามได้ถูกต้อง เขาจะรู้สึกดีใจและตั้งใจฟังเมื่อแม่หรือใครก็ตามเอ่ยคำพูดในครั้งต่อไป

เป็นผู้ฟัง สอนลูก
ภาพ: Shutterstock

4. จริงจังกับสิ่งที่พูด

ถ้าแม่สัญญาว่าจะให้คุกกี้เขา 2 ชิ้น ก็จงหยิบคุกกี้ใส่มือเล็กๆ ไป 2 ชิ้น (ไม่ใช่ผัดผ่อนไม่หยิบให้หรือแถมให้เขาไปอีก 3 ชิ้น) ถ้าคุณไม่จริงจังกับสิ่งที่พูด นักฟังตัวน้อยก็จะพลอยเห็นว่ามันไม่มีความหมายไปด้วย

5. ใช้ประโยคที่ชัดเจน

ต้องพูดให้เข้าใจง่าย ไม่กำกวมหรือแปลความหมายได้สองแง่ อย่าเล่นมุกที่เด็กซึ่งเป็นผู้ฟังไม่เข้าใจ แล้วผู้ใหญ่ก็หัวเราะกันเองโดยปล่อยให้เขายืนงง

6. อ่านหนังสือออกเสียง

การอ่านนิทานหรือหนังสือให้ลูกฟังที่บ้านเป็นการฝึกเตรียมพร้อมสำหรับการนั่งฟังคุณครูสอนในห้องเรียนได้เป็นอย่างดี เพราะพ่อหนูแม่หนูจะได้เรียนรู้การนั่งนิ่งๆ เพ่งความสนใจไปยังเสียงที่ได้ยิน แต่ที่สำคัญ ต้องเลือกเรื่องที่เขาชอบหรืออยากฟังด้วย ผู้ฟังตัวน้อยจะได้ไม่เบื่อไปเสียก่อนค่ะ

 

อ่านเพิ่มเติม ถ้าลูกทำการบ้านไม่เสร็จ ให้ฝึกลูกรับผิดชอบชีวิตตัวเองใหม่!

 

บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up