จัดการของรักของลูกเล็กอย่างไร ไม่ให้ลูกเสียใจ

Alternative Textaccount_circle
event

เด็กวัยนี้มักทำใจไม่ค่อยได้ถ้ารู้ว่า แม่อยากเก็บ “สมบัติ” ของตัวเองทิ้งไปบ้าง ทั้งที่อาจเป็นแค่รถเด็กเล่นคันบุบบี้หรือตุ๊กตาเก่าคร่ำคร่า ในโลกใบเล็กๆ ของหนูน้อย ของที่เขาเห็นอยู่ทุกวันถือเป็นเพื่อนที่คุ้นเคย และเมื่อเขาเริ่มเข้าใจความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อมีอะไรหายไปสักอย่าง ก็จะยิ่งทำใจยากถ้าของเล่นกลายเป็นขยะไปต่อหน้าต่อตา และในบางครั้งเขาก็ไม่เข้าใจความแตกต่างระหว่าง “ค่า”Ž ของวัตถุกับผู้คน เช่น ลูกอาจคิดว่า ถ้าแม่โยนของเล่นทิ้งได้ ก็ต้องโยนหนูทิ้งได้เหมือนกันใช่ไหมล่ะŽ ลูกจะทำใจได้ง่ายขึ้นถ้าคุณ…

1. อธิบายว่าไม่มีที่เก็บ

ในที่นี้หมายถึงที่เก็บของเล่นชิ้นใหม่ๆ ข้อเสนอนี้ดูน่าสนใจสำหรับเด็กที่เริ่มเข้าใจเรื่องตรรกะมากขึ้นแล้ว (ถ้าไม่ยอมให้แม่เคลียร์ที่ ก็ไม่ได้ของเล่นชิ้นใหม่) และหากของเล่นหักพังจนอาจเป็นอันตรายหรือสกปรกมาก ก็ต้องอธิบายให้เขาเข้าใจด้วย

2. ย้ำให้ลูกมั่นใจ

ว่าถึงอย่างไรลูกก็ยังอยู่กับแม่นะ และถ้าเขายังดูไม่ค่อยสบายใจอยู่ดีก็บอกต่อด้วยว่า แม่ไม่มีวันทิ้งหนูเหมือนของเล่นแน่นอนจ้ะŽ

3. ดึงลูกเข้ามาร่วมขบวนการกับคุณด้วย

เช่น เอารูปวาดที่เขาชอบมาช่วยกันตัดแปะเก็บไว้ในสมุด (รูปที่เหลือจะได้ลดความพิเศษลงจนเขายอมให้คุณเก็บทิ้งได้) ส่วนพวกของเล่นหรือของใช้เก่าๆ ก็ให้เขาวาดรูปเก็บไว้ก่อนที่คุณจะเอาไปบริจาคให้เด็กๆก็ได้

4. ใช้กลยุทธ์หลอกล่อลูก

เช่น ถ้าลูกไม่อยากให้ทิ้งถุงเท้าขาดหรือเศษเลโก้ที่ซุกอยู่ใต้ตู้มานานปี คุณก็บอกไปว่า แม่จะส่งไปรษณีย์ไปให้คุณยายจ้ะŽ หรือจะรอให้ลูกหลับแล้วค่อยแอบเก็บทิ้งก็ได้นะ

 

บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up