“เนื้อไก่”ทำจากอะไรจ๊ะแม่

Alternative Textaccount_circle
event



สำหรับผู้ใหญ่อย่างเราๆ การกินเนื้อสัตว์เป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวันแต่สำหรับเด็ก การที่เพื่อนร่วมโลกที่ร้องกุ๊กๆ อยู่ในโทรทัศน์ต้องกลายเป็นอาหาร เป็นเรื่องที่น่าตกใจและเศร้าสลดไม่น้อย

 
เอลลีน แซตเตอร์ นักโภชนาการผู้เขียน “Secrets of Feeding a HealthyFamily” อธิบายว่า “นี่เป็นก้าวหนึ่งของการเติบโต เด็กๆ ต้องยอมรับความจริงอันโหดร้ายว่า อาหารที่เรากินกันทุกวันนี้มาจากไหน” ความกังวลนี้อาจเกิดขึ้นและหายไปภายใน 2 – 3 วัน หรือคงอยู่เป็นสัปดาห์ ดังนั้นเรื่องนี้…

 
“เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่คุยกันได้และบอกเล่าได้ตามจริง” เพียงแต่ใช้ถ้อยคำไม่รุนแรงและไม่ลงรายละเอียด เช่น“เราเลี้ยงสัตว์ หมู ไก่ เป็ด หรือวัวไว้กินเนื้อ เมื่อถึงเวลา เขาก็จะเอามันไปที่โรงฆ่าสัตว์ ที่นั่นจะมีเครื่องมือที่ทำให้สัตว์ตายอย่างรวดเร็วจนมันไม่ทันรู้สึกกลัวหรือเจ็บเลยละจ้ะ”

 
ถ้าลูกยังรู้สึกไม่ดีอยู่ ช่วงนี้ก็อาจให้ลูกห่างครัวบ้าง หรือหลีกเลี่ยงการพาลูกไปตลาดสด ที่ต้องเห็นเนื้อดิบๆชิ้นโตๆ ไก่ ปลา หรือสัตว์ทะเลเป็นๆทั้งหลายที่ชวนให้นึกถึงเรื่องเศร้านี้ไปสักพักก่อน

 
“ฉันจะตั้งถังขยะใบเล็กๆ ไว้ในโรงรถตรงฝั่งคนขับพอฉันจอดรถเสร็จ  จะเก็บกวาดถุงพลาสติกกับเศษขนมที่ลูกกินเลอะโยนลงถังได้ทันที  ทีนี้ฉันก็จะมีมือว่างๆ เอาไว้ถือถุงข้าวของลงจากรถเข้าบ้านได้ รถก็ไม่รกหรือมีกลิ่นด้วยค่ะ”

 

 

 

 

บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up