เมื่อลูกโพล่งออกไป (ไม่ได้ตั้งใจ)

Alternative Textaccount_circle
event

คุณแม่ ! คุณพ่อ ! ดูผู้ชายคนนั้นสิ ตัวเล็กนิดเดียวเองŽ มิต้องสงสัยชายผู้นั้นได้ยินเต็มสองรูหู เราสองคนแทบจะมุดดินหนี คุณฮานัวร์เล่าในเมื่อมุดดินไม่ได้ เราจึงได้แต่รับฟังเจ็มม่า และหันไปมองชายหนุ่มด้วยความเขินอาย ประโยคที่พอจะนึกออกเพื่อแก้เก้อในตอนนั้นก็คือ จ้ะ แม่เห็นแล้ว ไม่ดีหรอกลูก ถ้าคนเราตัวเท่าๆ กันหมดŽ

 
ตอบได้อย่างเหมาะสมแล้วสำหรับเด็กวัยเท่าเจ็มม่า ซึ่งกำลังกระตือรือร้น ช่างสงสัย มีคำถามมากมายเกี่ยวกับเหตุการณ์แปลกๆ ใหม่ๆ ที่เข้ามาในชีวิต ซึ่งหมายรวมถึงความผิดปกติและความแตกต่างของผู้คน ไม่ว่าจะเป็นคนที่สูญเสียแขนขา มีรอยบาดแผลตามร่างกายชัดเจน หรือคนที่มีความผิดปกติของพันธุกรรม อย่างผู้ที่สูงต่ำดำขาวมากกว่าที่คุ้นเคย เด็กยังไม่เข้าใจว่าการเอ่ยถึงลักษณะของผู้อื่นเช่นนั้นจะทำให้เขาเจ็บปวด และผู้ใหญ่ก็ควรเข้าใจว่าการพูดไป (ตรงๆ ดังๆ) เช่นนั้น เด็กเล็กไม่ได้มีอารมณ์มาเกี่ยวข้องและไม่ได้มีเจตนาเหยียดหยามให้ละอาย อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์แบบนี้คงทำคุณหงุดหงิดพอดู ลองมาดูวิธีการแก้วิกฤติกันดีกว่า

 
อย่าบีบคั้นให้สถานการณ์อึดอัดมากขึ้น บางทีการทำท่าเก้อเขินหรืออ้ำอึ้งใส่ผู้ถูกพาดพิง อาจกลายเป็นการเรียกความสนใจจากผู้ที่ผ่านไปมา แล้วทำให้เขารู้สึกอับอายมากขึ้น เพราะเขาคงไม่อยากเป็นจุดสนใจมากกว่าเดิม ไม่ควรบังคับให้ลูกขอโทษ เพราะบางครั้งลูกพูดเรื่องจริง เพียงแต่ด้วยวัย ทำให้เขาไม่เข้าใจในเรื่องความเหมาะสมเท่านั้นเอง

 
พลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส ใช้โอกาสนี้ชี้แจงให้ลูกเข้าใจเรื่องความแตกต่าง แต่ต้องรีบหันเหความสนใจจาก เป้านิ่งŽ คนเดิม ให้เร็วที่สุด โดยคุณอาจจะลองถามเขาว่า แล้วเพื่อนๆ ของหนูตัวเท่าๆ กันหรือเปล่าจ๊ะ มีคนที่อ้วนกว่าหนูหรือผอมกว่าหนูบ้างไหม

 
เก็บเรื่องนี้ไว้พูดทีหลัง หาเวลาเหมาะๆ เช่น ในรถ หรือก่อนนอน อธิบายให้ลูกเข้าใจว่า การจ้องมอง หรือพูดถึงรูปร่างลักษณะของคนอื่นด้วยเสียงดังแบบนั้นจะทำให้ผู้ถูกเอ่ยถึงรู้สึกแย่

 

 

บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up