เอาแต่ใจตัวเอง

เลี้ยงลูกอย่างไร? ไม่ให้เอาแต่ใจตัวเอง

Alternative Textaccount_circle
event
เอาแต่ใจตัวเอง
เอาแต่ใจตัวเอง

พ่อแม่ทำให้ลูกเอาแต่ใจตัวเอง

ถ้าคุณพ่อ หรือคุณแม่ได้ยินคนพูดว่า “จะตามใจลูกไปถึงไหน” นั่นคือคำเตือนที่ควรเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านั้น ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป การเลี้ยงลูกแบบตามใจไม่ใช่เกิดจากการเลี้ยงลูกแบบประคบประหงมตอนเป็นทารก แต่คือการที่คุณพ่อ คุณแม่เอาใจลูกเมื่อถึงวัยที่เริ่มช่วยเหลือตัวเองได้แล้ว  เด็กวัยคลานเริ่มมีพฤติกรรมเอาแต่ใจตัวเอง นั่นคือพัฒนาการโดยปกติของเด็กวัยนี้ และการกอด การหอมลูกน้อยวัยคลาน ไม่ได้แปลว่าคุณพ่อ คุณแม่กำลังตามใจลูก เรามาดูตัวอย่างพฤติกรรมเมื่อลูกน้อยเริ่มเอาแต่ใจตัวเองกันค่ะ

เอาแต่ใจตัวเอง

    • เมื่อถึงอาหารเย็น คุณแม่เตรียมอาหารเย็นเอาไว้เรียบร้อยแล้ว แต่ลูกน้อยกลับงอแงไม่ยอมรับประทาน คุณแม่จึงต้องทำอาหารให้ใหม่ ถ้าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเพียงครั้ง หรือ 2 ครั้งก็คงไม่เป็นไร แต่ถ้าลูกเป็นแบบนี้แทบทุกมื้อ นั่นแสดงว่าเขากำลังเอาแต่ใจตัวเอง
    • การร้องไห้ งอแง ไม่เชื่อฟัง มักเกิดขึ้นกับเด็กวัยคลาน เพราะเป็นขั้นตอนของพัฒนาการ แต่ถ้าเด็กวัย 5-6 ขวบ ยกกำปั้นใส่เพราะว่าต้องการอะไรบางอย่าง นั่นคือวุฒิภาวะที่ไม่เหมาะสม ถือเป็นการเรียกร้องความสนใจ และเอาแต่ใจตัวเอง
    • ลูกน้อยมักพึ่งคุณพ่อ คุณแม่ตลอดเวลา ไม่สามารถเข้านอนเองได้ ถ้าไม่มีคุณพ่อ หรือคุณแม่อยู่ด้วย ไม่ยอมให้คุณพ่อ คุณแม่ทำอะไรเลย หรือกระทืบเท้า ร้องตะโกนเมื่อต้องไปโรงเรียน นั่นคือปัญหาของเด็กที่เอาแต่ใจตัวเอง ซึ่งไม่สามารถปรับตัวเข้ากับคนอื่น
    • ถ้าลูกเข้าสู่วัยอนุบาล แล้วชอบร้องตะโกน กรีดร้อง กัดเด็กคนอื่น นั่นแสดงว่าลูกมีพฤติกรรมที่ไม่ดี ไม่สามารถถ่ายทอดความคิด ความรู้สึกที่เหมาะสมได้ นั่นคือสัญญาณของเด็กเอาแต่ใจตัวเอง

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อ “แก้ไขอย่างไรเมื่อลูกเอาแต่ใจตัวเอง” คลิกหน้า 4

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up