แชร์จากเรื่องจริง! ลูกติดเชื้อในลำไส้ เพราะคายเสมหะไม่เป็น

event

เด็ก ติดเชื้อในลำไส้

คนปกติสามารถสั่งน้ำมูกออกจากช่องจมูกและไอเอาเสมหะออกจากปอดได้  แต่ในกรณีเด็กเล็ก ๆ หรือผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัวหรือมีความพิการทางสมองจะไม่สามารถสั่งน้ำมูก และไอได้เอง  จึงต้องทำการดูดเสมหะเพื่อดูดน้ำมูกออกจากช่องจมูกและเป็นการกระตุ้นให้ไอเพื่อขับเสมหะออกจากปอด  การที่ไม่มีน้ำมูกในช่องจมูก และไม่มีเสมหะคั่งค้างในปอดจะทำให้เด็กหายใจสะดวกสามารถดูดนมได้ดี  และนอนหลับสบาย  นอกจากนี้ยังไม่เป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค  จึงไม่เกิดการติดเชื้อตามมา และควรดูดเสมหะให้ลูกก่อนให้นมหรืออาหาร

♦ รู้ได้อย่างไรว่าเด็กมีเสมหะ 

ในเด็กเล็ก  เด็กที่ไม่รู้สึกตัว  หรือเด็กที่มีความพิการทางสมองจะไม่สามารถบอกเราได้ว่าเขามีเสมหะ  เราจะต้องเป็นผู้คอยสังเกตอาการว่าเด็กมีเสมหะหรือไม่  อาการเหล่านี้ได้แก่

  • มีน้ำมูกในจมูกหรือมีเสมหะในคอ
  • หายใจครืดคราด หรือเมื่อวางมือแนบอกหรือหลัง จะรู้สึกว่าครืดคราด
  • กระสับกระส่าย
  • หายใจลำบาก จมูกบานหรืออาจจะหายใจเร็วกว่าปกติ
  • ดูดนมไม่ดี
  • รอบปากซีดหรือเขียวคล้ำ

การดูดเสมหะทางจมูกและปาก มีวิธีดูดเสมหะอย่างไร?

ด้วยลูกยางแดง

  • ลูกยางแดง เบอร์ 2 สำหรับเด็กเล็ก ลูกยางแดง เบอร์ 4 สำหรับเด็กโต
  • ผ้าห่อตัว
  • กระดาษทิชชูหรือภาชนะ เพื่อใช้รองน้ำมูก และเสมหะที่จะบีบทิ้งจากลูกยางแดง

√ วิธีการ

  1. ใช้ผ้าห่อตัวเด็กให้แน่นหนาเพื่อป้องกันไม่ให้เด็กเอามือปัดและดิ้นไปมา เมื่อเด็กอยู่นิ่ง ๆ ผู้ดูดเสมหะจะได้ ดูดเสมหะได้ด้วยความนุ่มนวล
  2. ใช้มือข้างที่ถนัดจับลูกยางแดงและบีบลมออกให้แฟบ เตรียมพร้อมที่ จะดูด ขณะที่มืออีกข้างจับหน้าเด็กให้เอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง
  3. สอดปลายลูกยางแดงเข้าใน รูจมูกทีละข้าง โดยให้สอดเข้าไปตื้น ๆ พร้อมกับปล่อยมือช้า ๆ น้ำมูกจะถูกดูดเข้ามาในลูกยางแดง
  4. บีบน้ำมูกที่ดูดมาได้ทิ้งในทิชชู หรือภาชนะที่เตรียมไว้
  5. ทำซ้ำแบบเดิม และดูดน้ำมูกออกจนหมดในจมูกแต่ละข้าง
  6. หากเด็กมีเสมหะในปอดค่อย ๆ สอดปลายลูกยางแดงเข้าไปในปากจนกระทั่งถึงโคนลิ้น จึงจะเป็นการกระตุ้นให้เด็กไอ
  7. ขณะเด็กไอจะมีเสมหะขึ้นมาในคอ ปล่อยลูกยางแดงให้ดูดเสมหะเข้ามาช้า ๆ
  8. บีบเสมหะทิ้งในกระดาษทิชชูหรือภาชนะที่รองรับและดูดเสมหะซ้ำอีกจนกระทั่งไม่ได้ยินเสียงเสมหะครืดคราดในลำคอ

◊ หมายเหตุ การจับให้เด็กหันหน้าไปด้านใด ด้านหนึ่ง เป็นการป้องกันไม่ให้เด็กสำลักเอาน้ำลายหรืออาหารเข้าปอด หากขณะดูดน้ำมูกหรือเสมหะแล้วเด็กอาเจียนออกมาพร้อม ๆ กัน

การล้างทำความสะอาด

หลังดูดเสมหะทุกครั้ง นำลูกยางแดงไปล้างน้ำสบู่ และบีบล้างในน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง ควรนำไปต้มในน้ำเดือดนานประมาณ 5 นาที วันละ 1 ครั้ง

อ่านต่อ >> การดูดเสมหะให้ลูก ด้วยสายดูด” คลิกหน้า 3

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up