โรคเท้าปุก

โรคเท้าปุก คืออะไร พร้อม 4 วิธีสังเกต

Alternative Textaccount_circle
event
โรคเท้าปุก
โรคเท้าปุก

 

โรคเท้าปุก

อาการของโรค

โรคนี้ไม่มีอาการอะไรนอกเสียไปจากการที่ผู้ป่วยมีรูปเท้าที่บิดเบี้ยวจนดูเหมือนไม้ตีกอล์ฟ ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะไม่สามารถเดินได้เหมือนคนปกติ และหากไม่รีบรักษาก็จะมีอาการเจ็บปวดเมื่อโตขึ้น สาเหตุนั้นเป็นเพราะเกิดการสึกหรอของกระดูกและข้อต่อที่บิดเบี้ยว หรือผิวหนังเท้าส่วนที่หนาตัวขึ้นเพื่อรับน้ำหนักทำให้เกิดเป็นแผลเรื้อรังเพิ่มขึ้นมาได้

โรคเท้าปุกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท

1.เท้าปุกเทียม คือ ไม่มีความผิดปกติที่แท้จริงกับโครงสร้างเท้า แต่รูปเท้าบิดเกิดจากเด็กขดตัวแน่นอยู่ในครรภ์ เท้าถูกกดอยู่ในท่าบิดเข้าด้านในเป็นเวลานาน อาจทำให้เอ็นเท้าด้านในตึง ในขณะที่เอ็นเท้าด้านนอกหย่อน เท้าปุกชนิดนี้พบได้บ่อยในทารก

2.เท้าปุกแท้ คือ เท้าแข็ง ถ้าไม่ได้รับการรักษา เท้าจะบิดแข็ง มากขึ้นเรื่อย ๆ ในที่สุดเมื่อเด็กโตขึ้นจะใช้หลังเท้าเป็นจุดรับน้ำหนักเวลาเดิน ซึ่งทำให้เดินลำบาก ทรงตัวยาก เจ็บปวดได้บ่อย ใส่รองเท้าทั่วไปไม่ได้

 

โรคเท้าปุกแท้หรือเทียมสังเกตอย่างไร?

เท้าปุก
รักษาได้หรือไม่ คลิก!

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up