ฝึกลูกพลิกคว่ำพลิกหงาย

5 วิธีกระตุ้นพัฒนาการ ฝึกลูกพลิกคว่ำ พลิกหงาย

Alternative Textaccount_circle
event
ฝึกลูกพลิกคว่ำพลิกหงาย
ฝึกลูกพลิกคว่ำพลิกหงาย

5 วิธีช่วยให้เบบี๋สนุกกับการฝึกพลิกตัว

1. จัดที่ปลอดภัยเมื่อจะพลิกตัว และไม่ปล่อยเบบี๋ไว้คนเดียวเด็ดขาด เพราะอันตรายมากๆ แม้จะเป็นเบาะที่วางบนพื้น แต่เพราะเขายังไม่คล่องกับทักษะนี้ พอพลิกคว่ำไปแล้ว เกิดหน้าคว่ำไปกับฟูกแล้วพลิกหงายไม่ถูก ก็เกิดอันตรายได้ การพลิกคว่ำกันบนพื้นหรือบนเตียงที่มีพ่อแม่อยู่ด้วยถือว่าเหมาะที่สุด พ่อแม่จะคอยช่วยเชียร์ ทำหน้าตาตลกๆ หรือเล่นจ๊ะเอ๋ทำให้เบบี๋รู้สึกผ่อนคลายและไม่รู้สึกเหนื่อยอยู่คนเดียว ยิ่งถ้าพ่อแม่ทำท่าทางตามไปด้วย เบบี๋จะแฮปปี้มาก!

2.
มา…หัดคว่ำบนพุงพ่อ พุงแม่นี่แหละให้ได้มองหน้ากันแบบชัดๆ หรือจะเล่นท่าขับเครื่องบิน พ่อแม่พับเข่าขึ้นมา แล้วให้เบบี๋นอนบนขาของคุณ รับรองเบบี๋ต้องเอิ๊กอ๊ากเพราะชอบมุมมองใหม่ตอนกำลังบินอยู่นั่นละ สบายตัวจัง!

ทารกพลิกตัว
สอนทารกพลิกตัว

3. หาของเล่นมาไว้ใกล้ตัวเบบี๋ เพื่อให้เขาอยากขยับตัวไปคว้ามาของเล่นนั้นมาให้ได้ จะเป็นกระจกเงา ผ้าหลากสี ของเล่นมีเสียง ของเล่นชิ้นโปรด ฯลฯ ช่วยให้การเคลื่อนไหวตัวมีจุดมุ่งหมายและสนุกมากขึ้น จนลืมว่าตัวเองกำลังนอนคว่ำที่แสนอึดอัด

(บทความแนะนำ กระจก … ช่วยกระตุ้นพัฒนาการสมองลูกน้อยได้!)

4. หัดคว่ำ หัดหงายให้ถูกเวลา เวลาที่อิ่มใหม่ๆ หิวมากเกินไป ตอนเหนื่อยล้า จะทำให้ลูกน้อยรู้สึกอึดอัดมากกว่าเดิม พ่อแม่บางคนแนะนำว่าหลังเปลี่ยนผ้าอ้อมเสร็จเป็นเวลาที่เหมาะเพราะลูกกำลังสบายตัว ยอมให้จับพลิกไปพลิกมาง่าย

5.
มั่นใจว่าเบบี๋พลิกคว่ำพลิกหงายได้อย่างสบายตัว ทั้งผ้าปูพื้น ผ้าห่ม หรือหมอนที่พาลูกนอนคว่ำควรนิ่มสบายและสะอาด รวมถึงเสื้อผ้าที่สวมใส่สบาย คุณแม่ท่านหนึ่งสังเกตว่าลูกจะไม่ร้องโวยวายเลยสักนิดตอนจับคว่ำจับหงาย ถ้าเขาไม่ต้องใส่ผ้าอ้อมที่รัดแน่น จุดสังเกตเล็กๆ น้อยๆ นี่แหละ ที่คุณเท่านั้นจะช่วยเบบี๋ให้รู้สึกสนุกกับการพลิกตัวได้!

อ่านต่อบทความน่าสนใจ คลิก!

หุ่นมือถุงเท้า ของเล่นเด็กทารก ฝึกลูกทั้งฉลาดทั้งสนุก

14 วิธีทดสอบพัฒนาการลูก 1 เดือน – 5 ปี ว่าตรงตามวัยหรือไม่?


บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสาร Amarin Baby & Kids

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up