ติดเชื้อในกระแสเลือดอันตราย

ลูกติดเชื้อในกระแสเลือดอันตราย แต่ป้องกันได้

Alternative Textaccount_circle
event
ติดเชื้อในกระแสเลือดอันตราย
ติดเชื้อในกระแสเลือดอันตราย

วิธีสังเกตลูกเมื่อติดเชื้อในกระแสเลือด

อาการของการติดเชื้อในกระแสเลือดจะไม่จำเพาะเจาะจง เช่น มีไข้สูง หรือบางคนตัวเย็นกว่าปกติ มีอาการซึมลง เบื่ออาหาร ไม่ยอมดูดนม ท้องอืด อาเจียน หรือหายใจผิดปกติ บางคนหยุดหายใจเป็นพักๆ หรือมีอาการหัวใจเต้นผิดปกติ อาการเหล่านี้ไม่ได้ชี้ชัดว่าลูกติดเชื้อในกระแสเลือด 100% เพื่อความไม่ประมาท คุณพ่อ คุณแม่รีบสังเกต และพาลูกน้อยไปพบแพทย์จะเป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สุดค่ะ

สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีความกังวลว่า การรับประทานยาระหว่างตั้งครรภ์จะมีผลต่อการติดเชื้อในกระแสเลือด จริงๆ แล้วยาไม่ได้มีผลกับการติดเชื้อในกระแสเลือด แต่อาจมีผลต่อสุขภาพด้านอื่นๆ ของลูกน้อยมากกว่า ถ้าคุณแม่มีอาการเจ็บป่วยระหว่างตั้งครรภ์ ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง  เพียงใส่ใจดูแลลูกน้อยตั้งแต่อยู่ในครรภ์ไปจนถึงคลอด แค่นี้ก็ช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อของลูกน้อยได้แล้วค่ะ

ลูกติดเชื้อในกระแสเลือด
ลูกติดเชื้อในกระแสเลือด

การตรวจวินิจฉัยโรค และการรักษา

คุณหมอซักถามประวัติ และตรวจร่างกาย ตรวจการทำงานของระบบต่างๆ แล้วเจาะเลือดไปวินิจฉัย ถ้าพบว่ามีการติดเชื้อเยื้อหุ้มสมองอักเสบร่วมด้วย อาจจะมีการเจาะกรวดน้ำไขสันหลังด้วยค่ะ

ถ้าคุณหมอตรวจแล้วพบว่าอาจมีการติดเชื้อในกระแสเลือด ก็จะให้ยาปฏิชีวนะ โดยให้ยาทางหลอดเลือดดำ และติดตามอาการอย่างใกล้ชิด ถ้ามีอาการแทรกซ้อนจะได้รักษาได้ทันท่วงที ซึ่งส่วนใหญ่จะพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล 10 – 14 วัน

เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของเด็กทารก และเด็กเล็กยังทำงานได้ไม่ดี จึงทำให้มีโอกาสในการหายได้เองน้อยมาก ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง และทันท่วงที ซึ่งส่วนใหญ่จะทำให้อาการแย่ลง และเสียชีวิตได้ ถ้าอย่างคุณพ่อ คุณแม่พาลูกน้อยไปหาคุณหมอช้า

นอกจากนี้ หลังจากรักษาจนหายแล้วยังมีผลกระทบซึ่งขึ้นอยู่กับภาวะแทรกซ้อน เช่น ถ้าติดเชื้อในกระแสเลือดแล้วเกิดภาวะแทรกซ้อน ทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ก็อาจจะทำให้มีปัญหาด้านระบบประสาทตามมา หรือมีอาการชัก หรือพัฒนาการช้ากว่าปกติ

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

อ่านต่อ “7 ข้อป้องกันลูกน้อยติดเชื้อในกระแสเลือด” คลิกหน้า 3

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up