วันหมดอายุนมแม่

วันหมดอายุนมแม่ มีหรือไม่?

Alternative Textaccount_circle
event
วันหมดอายุนมแม่
วันหมดอายุนมแม่

“ตอนนี้ลูกอายุ 7 เดือนค่ะ ยังให้กินนมแม่อยู่ตลอด บางครั้งปั๊มน้ำนมเกินก็เก็บใส่ตู้เย็นเอาไว้ อยากทราบว่าการแช่นมแม่ในตู้เย็นจะลดสารอาหารในน้ำนมไปหรือไม่ และอายุของน้ำนมจะคงอยู่ได้ยาวนานเท่าไร จะมีวันเสียหรือไม่คะ?” ขอแสดงความยินดีที่ลูกของคุณแม่กำลังได้กินนมที่ดีที่สุดนั่นคือ นมแม่ ซึ่งมีสารอาหารครบถ้วนและมีภูมิคุ้มกันที่ช่วยให้ลูกแข็งแรง และมีพัฒนาการทางสมองที่ดีที่สุด เรามาดู วันหมดอายุนมแม่ กันค่ะ


6 เดือนแรกลูกควรกินนมแม่ล้วน ไม่เสริมอย่างอื่นเลยแม้แต่น้ำเปล่า หลังจากหกเดือนจึงเริ่มอาหารตามวัยควบคู่กับนมแม่ต่อไปเรื่อยๆ และสามารถให้นมแม่ได้นานจนฟันแท้มา คืออายุประมาณ 6 – 7 ขวบ หรือจนกว่าน้ำนมแม่จะหมดไปเอง

อย่างไรก็ดี หากนมแม่เริ่มลดลง ควรหาวิธีเพิ่มน้ำนมแม่ให้มากขึ้น โดยปรึกษาจากคลินิคนมแม่หรือเว็บไซต์ศูนย์นมแม่ www.breastfeedingthai.com ก่อนที่จะพิจารณาเสริมนมผงนะคะ เพราะ “นมแม่คือนมที่ดีสุดของลูก” ไม่มีนมชนิดใดที่จะมีคุณค่าเทียบเท่ากับนมแม่ ไม่ว่าลูกจะอายุเท่าใดก็ตาม อย่าเชื่อโฆษณาอวดอ้างว่านมเหล่านั้นมีสรรพคุณใกล้เคียงกับนมแม่ ดังนั้นหากคุณแม่ยังมีน้ำนมและมีมากเกินกว่าที่ลูกกิน ควรปั๊มนมเพื่อเก็บสะสมไว้ใช้ยามที่คุณแม่ไม่อยู่บ้าน ลูกจะได้ไม่ต้องกินนมผง ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของโรคภูมิแพ้และการเจ็บป่วยบ่อยในอนาคต

 

นักวิจัยพบว่า นมแม่ที่เก็บไว้ในตู้เย็น ถึงแม้ว่าคุณสมบัติจะไม่ดีเท่ากับนมแม่สดใหม่จากเต้าก็ตาม แต่ก็ยังมีคุณสมบัติที่ดีและมีประโยชน์มากกว่านมผงที่ชงใหม่ๆ เพราะยังคงมีเซลล์เม็ดเลือดขาว สารภูมิคุ้มกัน เอนไซม์ ฮอร์โมน สารต้านมะเร็ง ซึ่งยังทำงานได้เป็นอย่างดี และหาไม่ได้ในนมผง ระยะเวลาของนมที่เก็บเป็นดังนี้

  • ที่อุณหภูมิ ลบ 20 องศาเซลเซียส เก็บได้นาน 1 ปี
  • ที่ช่องแช่แข็งของตู้เย็น 2 ประตู เก็บได้นาน 3 – 6 เดือน ขึ้นกับการเปิด – ปิดบ่อยหรือไม่ และมีการเก็บร่วมกับอาหารอื่นหรือไม่
  • ที่ช่องแช่แข็งของตู้เย็นประตูเดียว เก็บได้นาน 1 – 3 เดือน ขึ้นกับการเปิด – ปิดบ่อยหรือไม่ และมีการเก็บร่วมกับอาหารอื่นหรือไม่
  • ที่ช่องน้ำเย็น (แต่ไม่ใช่ที่ฝาประตู เนื่องจากจะสูญเสียความเย็นได้ง่าย) เก็บได้นาน 7 วัน
  • มีบางกรณีที่ตู้เย็นอาจปิดไม่สนิทหรือไฟดับ ทำให้มีปัญหานมละลาย กรณีนี้อายุของนมที่เก็บจะไม่นานเท่าเดิม หากจะใช้นม ต้องชิมทุกครั้งว่าเปรี้ยวหรือไม่ ถ้าเปรี้ยวหรือไม่แน่ใจ ก็ไม่ควรนำมาให้ลูกกิน

บทความโดย: แพทย์หญิงสุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up