จับสัญญาณว้าวุ่น เมื่อวัยทีนเผชิญโลกใบใหญ่

Alternative Textaccount_circle
event

 

ลูกยิ่งโต เขาก็ยิ่งต้องเข้าสังคมมากขึ้น และวัยทวีนก็ต้องพบกับการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างด้วย ทั้งการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย จิตใจและสังคมที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว พ่อแม่จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกเรายังรับมือไหว หรืออยากเปิดไฟฉุกเฉินขอความช่วยเหลือแล้วล่ะ

 

รู้ก่อน เรื่องวุ่นวายใจหลักๆของวัยทีน
ส่วนใหญ่เป็นเรื่องการรับมือกับความเครียด การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย จิตใจ การยอมรับจากกลุ่มเพื่อน ปัญหาที่โรงเรียน (เช่น การถูกรังแก) หรือปัญหาเรื่องการเรียน (เช่น การบ้าน) ภาพลักษณ์ ความขัดแย้งในครอบครัว การหย่าร้างของพ่อแม่และภาวะซึมเศร้า แถมยังมีเรื่องของการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจให้ยิ่งกังวลหนักขึ้นอีกต่างหาก

 

3 สัญญาณบอก วัยทีนอยากได้ผู้ช่วยแล้ว!!
ถึงจะเป็นเรื่องปกติ แต่ความวิตกกังวลของลูกก็อาจจะรุนแรงจนจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ ถ้าลูก

กังวลไม่เลิก คือมักจะ ‘วิตกกังวล’ หรือ ‘เครียดมาก’ มีเรื่องที่กังวลมากมายโดยไม่มีเหตุผลที่ชัดเจน หรือไม่รู้จักผ่อนคลาย

กังวลหนักขึ้นเรื่อยๆจนหลบหน้าผู้คน มีแต่ความคิดในแง่ลบ หรือมีอาการทางกายอย่างเหงื่อแตก หัวใจเต้นเร็ว ปวดหัว ปวดท้อง คลื่นไส้ หายใจถี่หรือท้องร่วง

กังวลจนส่งผลต่อการใช้ชีวิต อย่างเลิกทำสิ่งที่เคยทำหรือหมดสนุกไปเลย

หากปล่อยไว้ ลูกอาจเกิดภาวะซึมเศร้าได้ พร้อมกับอาการเหล่านี้ รู้สึกโกรธ รู้สึกผิด รู้สึกเศร้าหรือฉุนเฉียวมากกว่าปกติ ท้อแท้ นอนไม่หลับ และมีพฤติกรรมแปลกๆ โดยมักเป็นแบบนี้บ่อยๆ หรือเป็นมานานเกิน 2 สัปดาห์

 

คุณก็ช่วยลูกได้ด้วย…

• คุยกัน  เพื่อแสดงให้เห็นว่าคุณรู้ว่าเขามีเรื่องวุ่นวายใจมากแค่ไหน ยินดีที่จะรับฟังและช่วยเหลืออย่างเต็มที่

ไม่ปล่อยให้เขาเผชิญกับปัญหาตามลำพัง อาจจะชักชวนให้เขามาร่วมโต๊ะกินข้าวพร้อมหน้าพร้อมตาทั้งครอบครัวบ่อยๆ จะได้คอยอัพเดตว่ามีอะไรเกิดขึ้นในชีวิตของเขาบ้าง

• แสดงให้เห็นว่าคุณวางใจและเชื่อมั่นในตัวเขา เชื่อว่าเขารับมือกับเรื่องที่ทำให้เครียดได้ และพยายามเปลี่ยนความคิดจนทำให้เรื่องคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น

• แสดงความรัก ความใส่ใจ และความเข้าใจ ทำให้เขารู้สึกว่ามีความมั่นคงทางใจโดยอาจจะกอด ยิ้มให้หรือโอบไหล่

• เป็นตัวอย่างที่ดีในการรับมือกับความเครียด ด้วยวิธีที่สร้างสรรค์ เช่น ไปออกกำลังกาย หาเวลาพักและปรึกษาสามีหรือเพื่อน

ไม่กดดันเรื่องการเรียน แต่คอยสนับสนุนและเป็นกำลังใจให้ จะได้กระตุ้นให้เขาไม่ละความพยายาม

 

บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง
 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up