ไทรอยด์

ไทรอยด์ เรื่องใกล้ตัวลูกตรวจได้ตั้งแต่แรกเกิด

Alternative Textaccount_circle
event
ไทรอยด์
ไทรอยด์

ไฮเปอร์ไทรอยด์ หรือ ไทรอยด์ เป็นพิษ เป็นอีกหนึ่งโรคที่คุณแม่ต้องระวัง เพราะมีผลสำรวจชี้ว่า ผู้หญิงมีโอกาสเป็นไฮเปอร์ไทรอยด์มากกว่าผู้ชาย และส่งผลต่อลูกน้อย โดยเฉพาะคุณแม่ตั้งครรภ์ และให้นมลูก มาลองสังเกตตัวเองกันหน่อยค่ะว่าคุณแม่มีอาการที่เข้าข่ายเสี่ยงเป็นไฮเปอร์ไทรอยด์หรือไม่?

ทำความรู้จัก ไทรอยด์

ต่อมไทรอยด์ เป็นต่อมไร้ท่อที่อยู่ด้านหน้าของลำคอ โดยอยู่ด้านข้างและใต้ต่อกระดูกอ่อนไทรอยด์ มีรูปร่างคล้ายผีเสื้อ ประกอบไปด้วย 2 กลีบใหญ่ คือ กลีบด้านซ้ายและด้านขวาที่แผ่ออกทางด้านข้างและคลุมพื้นที่บริเวณด้านหน้าและด้านข้างของหลอดลม

โดยต่อมไทรอยด์ จะทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนสำคัญ 3 ชนิด คือไทรอกซีน (T4), ไตรไอโอโดไทโรนีน (T3) และแคลซิโทนิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนตัวสุดท้ายที่มีความสำคัญน้อยกว่าฮอร์โมนไทรอกซีน และฮอร์โมนไตรไอโอโดไทโรนีนอย่างมาก ดังนั้น โดยทั่วไปเมื่อกล่าวถึงฮอร์โมนไทรอยด์ จึงมักหมายถึงเฉพาะฮอร์โมน 2 ชนิดนี้ เพราะฮอร์โมนทั้ง 2 ชนิดนี้จะมีหน้าที่สำคัญมาก คือ ควบคุมดูแลการเผาผลาญ หรือใช้พลังงานทั้งหมดจากอาหารและจากออกซิเจน หรือที่เรียกว่าเมตาบอลิซึมของเซลล์ต่างๆ เพื่อการเจริญเติบโต การทำงานของร่างกาย ช่วยซ่อมแซมส่วนที่บาดเจ็บสึกหรอ และควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย ถ้าหากเกิดความผิดปกติจนทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป T4 และ T3 ก็จะถูกผลิตออกมามากจนกลายเป็นพิษ หรือที่เคยได้ยินว่า ไทรอยด์เป็นพิษ หรือไฮเปอร์ไทรอยด์นั่นเอง

ซึ่งจากการสำรวจพบว่ามักจะเกิดขึ้นกับผู้หญิงเป็นส่วนใหญ่ และพบว่าผู้หญิงมีความเสี่ยงที่จะเป็นสูงมากกว่าผู้ชาย 9-10 เท่า โดยเฉพาะในช่วงอายุ 20-40 ปี

ไทรอยด์
ต่อมไร้ท่อที่อยู่ด้านหน้าของลำคอ โดยอยู่ด้านข้างและใต้ต่อกระดูกอ่อนไทรอยด์ มีรูปร่างคล้ายผีเสื้อ

สาเหตุของโรคไฮเปอร์ไทรอยด์

แพทย์ได้แบ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคไฮเปอร์ไทรอยด์bหรือไทรอยด์เป็นพิษไว้ดังนี้

1.โรคเกรฟส์ (Graves’ disease) เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคไฮเปอร์ไทรอยด์ หรือไทรอยด์เป็นพิษได้มากที่สุดถึง 80% สามารถพบได้ทั้งในวัยรุ่นและวัยกลางคน ผู้ป่วยโรคเกรฟส์จะมีอาการของต่อมไทรอยด์โต และตาโปนออกมาจากร่างกาย ส่งผลให้เกิดปัญหาไทรอยด์เป็นพิษต่อมาได้ ซึ่งแพทย์ยังไม่สามารถวินิจฉัยได้ว่า โรคเกรฟส์ มีสาเหตุมาจากอะไร แต่คาดว่ามีความสัมพันธ์เกี่ยวกับเพศ เนื่องจากพบโรคนี้ในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และมีการส่งต่อทางกรรมพันธุ์ นอกจากนี้ ความเครียดและการสูบบุหรี่เป็นประจำ จะกระตุ้นให้มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มากยิ่งขึ้นด้วย

2.โรคพลัมเมอร์ (Plummer’s disease) คือชื่อของ โรคคอพอกเป็นพิษ เป็นโรคที่มักจะเกิดกับผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป โดยจะมีอาการของคอพอกโตเป็นปุ่ม และมีจำนวนหลายปุ่ม ซึ่งจะส่งผลให้ต่อมไทรอยด์มีการหลั่งฮอร์โมนมากผิดปกติ จนเกิดเป็นไฮเปอร์ไทรอยด์

3.ต่อมไทรอยด์อักเสบ เมื่อต่อมไทรอยด์เกิดการอักเสบในระยะแรกๆ ต่อมไทรอยด์จะปล่อยฮอร์โมนออกมามากผิดปกติ ซึ่งก็ส่งผลให้เกิดภาวะไทรอยด์เป็นพิษได้

4.การได้รับสารไอโอดีนมากเกินไป สาเหตุอาจเกิดจากการบริโภคอาหารบางชนิด หรือการเข้าไปอยู่ในสถานที่ที่มีการปล่อยสารไอโอดีน เป็นเหตุให้ต่อมไทรอยด์ถูกกระตุ้นจนมีการหลั่งฮอร์โมนออกมาในปริมาณมาก

5.เกิดจากผลข้างเคียงของยารักษาโรคบางชนิด เนื่องจากผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ มักจะได้รับยารักษา อะมิโอดาโรน ซึ่งมีไอโอดีนเป็นส่วนประกอบหลักของยา และหากใช้ในปริมาณมาก ก็มีโอกาสไปกระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ได้เช่นกัน รวมทั้งผู้ที่ทำการรักษาอาการต่าง ๆ จากโรคไทรอยด์อยู่แล้ว เช่น ภาวะขาดไทรอยด์ รักษาปุ่มไทรอยด์ แล้วได้รับยาที่มีฮอร์โมนไทรอยด์สูง ก็อาจทำให้เกิดภาวะนี้ได้ด้วย

6.เป็นเนื้องอกบริเวณต่อมใต้สมองและรังไข่ การที่ผู้ป่วยมีเนื้องอกบริเวณต่อมใต้สมองและรังไข่ จะเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ช่วยกระตุ้นให้ต่อมฮอร์โมนทำงานมากกว่าปกติ จนกลายเป็นไฮเปอร์ไทรอยด์ได้เช่นกัน

อ่าน “อาการของโรคไฮเปอร์ไทรอยด์” คลิกหน้า 2

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up