ป้อนยาเกินขนาด

แม่แชร์! ลูกสมองติดเชื้อ ตับ-ม้ามโต เพราะป้อนยาเกินขนาด

Alternative Textaccount_circle
event
ป้อนยาเกินขนาด
ป้อนยาเกินขนาด

วิธีคำนวณยาลดไข้เด็ก ให้ถูกต้องและปลอดภัย

สมมติ ลูกน้ำหนัก 6 กก. เลือกใช้ยาพาราเซตมอลชนิดดรอป สามารถคำนวณปริมาณยาได้ดังนี้

  • ปริมาณยาที่ควรได้รับที่น้อยสุดที่ลดไข้ได้ คือ 10 มก./กก./ครั้ง x นน.ตัว 6 กก. = 60 มก./ครั้ง
    หากให้ยาพาราเซตามอลชนิดดรอปที่มีความเข้มข้น 80 มก./0.8 ซีซี จะต้องป้อน (60×0.8)/80 = 0.6 ซีซี
  • ปริมาณยาที่ควรได้รับที่มากสุดที่ลดไข้ได้ คือ 15 มก./กก./ครั้ง x นน.ตัว 6 กก. = 90 มก./ครั้ง
    หากให้ยาพาราเซตามอลชนิดดรอปที่มีความเข้มข้น 80 มก./0.8 ซีซี จะต้องป้อน (90×0.8)/80 = 0.9 ซีซี

ดังนั้น คุณแม่จะป้อนยาลดไข้ให้ลูกได้ตั้งแต่ 0.6-0.9 มล. (ซีซี) ทุก 4-6 ชั่วโมงตามที่ระบุข้างกล่องค่ะ

วิธีคำนวณยาลดไข้เด็ก

สมมติ ลูกน้ำหนัก 10 กก. เลือกใช้ยาพาราเซตามอลชนิดน้ำ สามารถคำนวณปริมาณยาได้ดังนี้

  • ปริมาณยาที่ควรได้รับที่น้อยสุดที่ลดไข้ได้ คือ 10 มก./กก./ครั้ง x นน.ตัว 10 กก. = 100 มก./ครั้ง

หากใช้ยาลดไข้เด็กที่มีความเข้มข้น 120 มก./5 มล. จะต้องป้อน (100×5)/120 = 4.16 มล.(ซีซี)

  • ปริมาณยาพาราเซตามอลมากสุดที่ลดไข้ได้ คือ 15 มก./กก./ครั้ง x นน.ตัว 10 กก. = 150 มก./ครั้ง

หากใช้ยาลดไข้เด็กที่มีความเข้มข้น 120 มก./5 มล. จะต้องป้อน (150×5)/120 = 6.25 มล.(ซีซี)

ดังนั้น คุณแม่จะป้อนยาลดไข้ให้ลูกได้ตั้งแต่ 4.1-6.2 มล. (ซีซี) ทุก 4-6 ชั่วโมงตามที่ระบุข้างกล่องค่ะ

หากคุณแม่ใช้ยาลดไข้ที่มีความเข้มข้นต่างไปก็ใช้วิธีคำนวณแบบเดียวกันนี้ได้เลยค่ะ

หมายเหตุ คุณแม่ควรระวังไว้เสมอว่า ยาลดไข้พาราเซตามอล ทานได้ทุก 4-6 ชั่วโมง แต่ไม่ควรเกินวันละ 5 ครั้ง และไม่ควรใช้ยาพาราเซตามอลติดต่อกันหลายวัน เพราะอาจเกิดผลข้างเคียงต่อตับได้ค่ะ

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

อย่างไรก็ดี เมื่อลูกไม่สบาย เป็นไข้ตัวร้อน คุณหมอมักแนะนำให้คุณแม่ควรเช็ดตัวลดไข้ก่อนเพราะไข้อาจลดได้โดยไม่ต้องกินยาค่ะ เราจึงมีเทคนิคเช็ดตัวลดไข้ หายตัวร้อนใน 15 นาทีมาฝากค่ะ

บทความแนะนำ น้ำอุ่นผสมมะนาวลดไข้ จากผลงานวิจัยลดไข้ลูกน้อยได้ 2 เท่า

น้ำอุ่นผสมมะนาวลดไข้

อ่านต่อ>> เทคนิคเช็ดตัวลดไข้ หายตัวร้อนใน 15 นาที คลิกหน้า 4

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up