ล่วงละเมิดทางเพศ

สลด! ดญ. ถูก ล่วงละเมิดทางเพศ ด้วยการเอาดินสอจิ้ม!

Alternative Textaccount_circle
event
ล่วงละเมิดทางเพศ
ล่วงละเมิดทางเพศ

 

 

สิ่งที่พ่อแม่ควรสังเกต

คุณพ่อคุณแม่ทราบหรือไม่คะว่า ในประเทศสหรัฐอเมริกา มีเด็กจำนวนนับล้านคนที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศในแต่ละปี โดยกลุ่มที่เคยโดนล่วงละเมิดทางเพศมากที่สุดนั้นจะมีอายุระหว่าง 8-12 ปี จะโดนล่วงละเมิดมากที่สุด เด็กหลายคนเลือกที่จะบอกคุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองเพื่อขอความช่วยเหลือ แต่ก็มีเด็กบางกลุ่มที่ไม่กล้าบอกความจริง ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของผู้ปกครองอย่างเรา ที่จะต้องสังเกตว่า มีพฤติกรรมอะไรของลูกบ้าง ที่ดูเปลี่ยนไป ยกตัวอย่างเช่น

  • ลูกมีบุคลิกที่เปลี่ยนไป ซึ่งเด็กเล็กที่โดนล่วงละเมิดทางเพศ มักจะมีนิสัยที่เปลี่ยนไปแบบหน้ามือเป็นหลังมือ เช่น เห็นได้ชัดเจนว่าลูกมีอาการวิตกกังวล รู้สึกไม่ปลอดภัย หดหู่ซึมเศร้า เด็กที่เคยมีความมั่นใจในตัวเอง ก็จะติดหนึบกับคุณพ่อคุณแม่  บางคนกลายเป็นเด็กไม่มีความมั่นใจในตัวเองไปเลย ซึ่งทำให้มีปัญหาในการคบเพื่อนได้
  • พฤติกรรมเปลี่ยนไป ยกตัวอย่างเช่น ดูดนิ้วโป้ง ฉี่รดที่นอนหรือรดกางเกง ทั้งที่ฝึกขับถ่ายได้สำเร็จมาแล้ว บางคนมีปัญหานอนไม่หลับหรือฝันร้ายอยู่บ่อย ๆ เป็นต้น
  • มีพฤติกรรมที่ส่อถึงเรื่องเพศ ยกตัวอย่างเช่น เด็กมีการเลียนแบบลักษณะการล่วงละเมิดทางเพศกับตุ๊กตา ของเล่น หรือเป็นการวาดภาพที่ตัวเองถูกละเมิดทางเพศมา หรือเด็กจะแสดงออกถึงการช่วยเหลือตัวเองหรือพยายามที่จะทำบ่อยขึ้น จนถึงขั้นเอาไปทำกับพี่น้องหรือเพื่อน เป็นต้น
  • มีอาการหวาดกลัว ลูกจะมีอาการหวาดกลัวต่อคนหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ รวมไปถึงมีท่าทีหลีกเลี่ยงสถานการณ์ต่าง ๆ (ที่อาจจะมีจุดร่วมที่คล้ายกัน) เพื่อหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่จะโดนล่วงละเมิดทางเพศ มักจะกลัวการต้องถอดเสื้อผ้าแม้ในเวลาปกติ เช่น เวลาอาบน้ำ กลัวการไปหาคุณหมอ เวลาที่คุณหมอจะตรวจ อย่างเห็นได้ชัด
  • มีร่องรอยตามร่างกาย เช่น ที่อวัยวะเพศ หรือรูทวารหนัก บวมแดง ลูกบ่นว่าเจ็บ หรือคัน มีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ หรือเจ็บคอ เวลาถ่ายหนักหรือถ่ายเบา ทำได้ลำบากหรือบ่นว่าเจ็บ มีรอยแดงช้ำ ถลอก เลือดซึมออกมา เด็กบางคนอาจจะมีอาการปวดหัวหรือปวดท้องร่วมด้วย เป็นต้น

หากคุณพ่อคุณแม่พบว่า ลูกมีพฤติกรรมที่น่าสงสัย อย่ารอช้านะคะ ค่อย ๆ หาโอกาสเรียกลูกมาคุย ด้วยน้ำเสียงที่นุ่มนวล แสดงความเป็นห่วงเป็นใย และพยายามหลีกเลี่ยงน้ำเสียงดุดัน หรือซ้ำเติม เพราะนั่นจะยิ่งทำให้สถานการณ์และความรู้สึกของลูกแย่ลงได้

อ่านต่อเรื่องอื่นที่น่าสนใจ:

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up