วิธีการดูปีเกิดของลูกตามนักษัตรที่ถูกต้อง!

event

117952746

ไขปัญหา เกี่ยวกับปีนักษัตร

  • ทำไมจึงใช้ วันขึ้น 1 ค่ำ เดือนห้า (5) เป็นวันเปลี่ยนปีนักษัตร ?

  1. ใช้ตามข้อกำหนดตำราซึ่งตำราหลักๆ เช่น ตำราเลข 7 ตัว, กราฟชีวิต, พยากรณ์บุคคลตามปีนักษัตรเกิด ซึ่งจะใช้ปีนักษัตรตั้งต้นในการทำนาย
  2. นักพยากรณ์ส่วนใหญ่จะปีนักษัตรใช้แบบนี้เป็นหลัก ใช้ตำราเก่าก็ต้องอ้างอิงใช้วันเดือนปีปฏิทินจันทรคติและนักษัตรแบบเก่าด้วย ถ้าปฏิทินเปลี่ยนก็ต้องเทียบหาวันที่ถูกต้องมาตั้งต้นเพื่อทำนาย
  3. โหราศาสตร์แบบไทยที่ใช้ปีนักษัตรได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู อินเดีย ซึ่งวันขึ้นปีใหม่ฮินดู จะตรงกับ/หรือใกล้เคียงกับ วันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนห้า(๕) , เช่น ลองค้นหาคำว่า “Hindu New Year 2012”, “Hindi New Year 2012” จะตรงกับ วันศุกร์ ที่ 23 มีนาคม 2012 หรือ วันขึ้น  ๑ ค่ำ เดือนห้า(๕) (วันศุกร์ ที่ 23 มีนาคม พ.ศ.2555)  ปีอื่นๆ ก็ใกล้เคียงกัน อาจแตกต่างกันหนึ่งวัน
  4. ตามหนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือน วันแรม  ๑๕ ค่ำ เดือนสี่ (๔) มีงานพระราชพิธีวันสัมพัจฉรฉินท์ หรือวันตรุษไทย(วันสิ้นปี) วันรุ่งขึ้นเป็นวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนห้า(๕) ก็จะเริ่มปีนักษัตรใหม่ ปีใหม่ไทยแบบโบราณ
  • ทำไมปีนักษัตรในสูติบัตร จึงไม่ตรงกับปีนักษัตร ตอนดูดวงชะตา ?

สูติบัตรเป็นเอกสารทางราชการเพียงอย่างเดียว ที่มีบันทึกวันเกิดแบบจันทรคติ โดยใช้เปลี่ยนปีนักษัตร วันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนอ้าย (๑)* ซึ่งไม่ตรงกับ ปีนักษัตรตามคติพราหมณ์ ที่เปลี่ยนปีนักษัตรในวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนห้า(๕)  ตามโบราณ และปีนักษัตรในสูติบัตรเองก็ไม่ถูกใช้ที่ไหนเลย แทบไม่มีแบบฟอร์มราชการหรือเอกชนที่ไหนให้กรอกว่า เกิดกี่ค่ำ เดือน ปีนักษัตรอะไร เวลากี่โมงกี่ยาม เว้นแต่ตอนดูดวง ทางโหราศาสตร์  พิธีกรรม  เท่านั้น

บ่อยครั้งตอนดูดวง หมอดูจะถาม วันเดือนปี เวลาเกิด ทางสุริยคติสากลที่มีบันทึกในสูติบัตร แล้วนำมาเทียบในปฏิทินจันทรคติให้เอง คือ ไม่ใช้ ปีนักษัตรจากสูติบัตร ซึ่งก็ไม่แปลกที่นักษัตรตั้งต้นทำนายไม่ตรงกับสูติบัตร หรือที่เราเข้าใจ และหมอดูหรือนักพยากรณ์มักจะไม่อธิบายเพราะเรื่องนี้ค่อนข้างซับซ้อนใช้เวลาอธิบาย

สูติบัตร เป็นเอกสารทางราชการเพียงอย่างเดียว มีบันทึกวันเกิดแบบจันทรคติ แต่ก็ไม่ถูกใช้ที่ไหนเลย ไม่มีแบบฟอร์มราชการหรือเอกชนที่ไหนให้กรอกว่า เกิดกี่ค่ำ เดือน ปีนักษัตรอะไร เว้นแต่ตอนดูดวง พิธีกรรมบางอย่างเท่านั้น ก่อนหน้ามีประกาศ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2539 สูติบัตรถูกบันทึกหลายแบบ ขึ้นอยู่กับส่วนปกครองนั้นๆ หรือผู้บันทึก ไม่ตรงกันมีหลายแบบ เช่น เปลี่ยนปีนักษัตรใน ๑ ค่ำ เดือนห้า(๕) , วันตรุษจีน , วันที่ 1 เมษายน , วันที่ 13 เมษายน หรือ วันที่ 1 มกราคม ตามปฏิทินสากลที่พิมพ์ก็มี ซึ่งถ้าเกิดช่วงเดือนนั้นๆปีนักษัตรอาจต่างกัน ดังนั้นบ่อยครั้งตอนดูดวง หมอดูหรือนักพยากรณ์จะถาม วันเดือนปี เวลาเกิดทางสุริยคติสากลที่มีบันทึกในสูติบัตร แล้วนำมาเทียบในปฏิทินจันทรคติให้เอง คือไม่ดู แรมค่ำ เดือน ปีนักษัตรจากสูติบัตร ซึ่งก็ไม่แปลกที่นักษัตรตั้งต้นทำนายไม่ตรงกับสูติบัตรหรือที่เราเข้าใจ และหมอดูหรือนักพยากรณ์มักจะไม่อธิบายเพราะเรื่องนี้ค่อนข้างซับซ้อนใช้เวลาอธิบาย

ที่มา/อ้างอิง/ผู้เขียน : จักรกฤษณ์ – มายโหรา.คอม (www.myhora.com) หมายเหตุ : เนื้อหาข้างต้นเผยแพร่แก่สาธารณะเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา/วิทยาทานเท่านั้น บันทึก : วันอังคาร ที่ 7 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2555

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!


stat.bora.dopa.go.th

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up