ดึงเงินคืนจากธนาคาร

วิธีดึงเงินคืนจากธนาคาร หลังถูกหลอกให้โอน แล้วไม่ได้ของ!

event
ดึงเงินคืนจากธนาคาร
ดึงเงินคืนจากธนาคาร

ดึงเงินคืนจากธนาคาร

เคล็ดลับ ซื้อของออนไลน์อย่างไร ไม่ให้โดนโกง

ขั้นตอนที่ 1 เช็คข้อมูลร้านค้าก่อนซื้อทุกครั้ง

เจ้าของร้านมีตัวตนจริงหรือไม่ ตรวจสอบได้ง่ายๆ จากชื่อบัญชีของร้าน อาจจะลองเอาชื่อคนขายไปค้นใน Google ดูก่อน ว่าเอ๊ะ เจ้าของร้านท่านนี้มีประวัติดีไม่ดีอย่างไรบางที Google ก็ช่วยคุณได้นะคะ

ช่องทางการติดต่อร้านค้า มีกี่ช่องทาง และติดต่อได้จริงไหมนะ? ถ้าร้านค้าให้ Facebook/ Twitter มา แนะนำให้ลองคลิกไปดูสักนิดว่ามีการใช้งานจริงไหม บางครั้งถ้าเป็นมิจฉาชีพอาจจะใช้ภาพหน้าดีๆ แต่คลิกเข้าไปไม่มี friend เลยสักคน ก็น่าห่วงนะคะ

เว็บบอร์ดร้าน มีใครคุยอะไรกันบ้าง หรือว่ามีแต่เจ้าของร้านโพสต์คนเดียว ความคิดเห็นในนั้นมีทั้งติ-ชม หรือมีแต่ชมด้านเดียว ? ลองเข้าไปอ่านสักนิดก็ไม่น่าจะกินเวลาเยอะนักจริงไหมคะ ?

มีการลงทะเบียนร้านค้า/แสดงตัวของเจ้าของร้านกับหน่วยงานใดบ้างหรือไม่ หากร้านค้ามีการจดทะเบียนพานิชย์อิเล็กทรอนิกส์ก็น่าจะมีความเชื่อถือมากขึ้น ลองเช็คดูให้ดีนะคะ ว่าชื่อในเอกสารตรงกับในข้อมูลบัญชีที่ต้องจ่ายเงินเข้าไปไหม และผู้ซื้อยังสามารถเช็คข้อมูลการจดทะเบียนพานิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้ที่เว็บไซต์ของทาง DBD ได้นะคะ แต่อย่างไรก็ตามผู้ซื้อก็ต้องไม่ลืมว่าหน่วยงานที่รับจดทะเบียน ก็คงไม่ได้การันตีว่าทุกร้านค้าที่จดจะไม่ได้โกงนะคะ

ทั้งนี้วันที่เปิดร้านค้า มิจฉาชีพมักจะไม่เปิดเว็บไว้นาน เปิดขึ้นมาโกงได้ก็ปิดแล้ว แต่หากเป็นพ่อค้าแม่ขายตัวจริงคงไม่ขายแค่วันสองวันแน่นอน ดังนั้นอายุของร้านค้าก็สำคัญนะคะ วิธีการเช็คก็อาจจะดูจากวันที่เปิดร้านที่ร้านค้าแจ้งไว้หน้าเว็บ, กระทู้ที่เก่าที่สุดในเว็บบอร์ด หรือ หากร้านค้ามีโดเมนเป็นของตัวเองก็สามารถตรวจสอบอายุโดเมน-ชื่อเจ้าของโดเมนได้ค่ะ เช็คอายุโดเมน-ชื่อผู้ถือครองโดเมนทั่วไป  เช็คอายุโดเมน-ชื่อผู้ถือครองโดเมน .in.th, .ไทย

ดึงเงินคืนจากธนาคาร

ขั้นตอนที่ 2 เช็คข้อมูลสินค้าก่อนตัดสินใจ

สำรวจราคาตลาดก่อนทุกครั้ง อย่าเชื่อในของถูก หรือของราคาต่ำเกินจริง ลองเช็คจากที่อื่นก่อนไหมว่าปกติแล้วราคาประมาณเท่าไหร่? เพราะบางครั้งมิจฉาชีพจะใช้คำว่า “ถูกกว่า” มาล่อหลอกให้เราหลงได้ เช่น ตุ๊กตาเอลซ่า-v’cmh ที่ขายกันอยู่ทั่วไป ปกติราคา 1,000 บาทขึ้นไป แต่มีคนมาเสนอขายคุณในราคา 500 บาทเท่านั้น? ถ้าไม่หลอกก็คงของปลอมแน่นอนจริงไหมคะ แต่ก็ไม่ใช่ว่าของถูกจะหลอกเสมอไป บางครั้งอาจจะเป็นสินค้าล้างสต็อกก็ได้นะ ยังไงก็เช็คกันให้ดี ๆ ก่อนตัดสินใจนะคะ

ทั้งนี้คำวิจารณ์สินค้า มีการพูดคุยเกี่ยวกับสินค้าชิ้นที่คุณจะซื้อไหมนะ คนที่เคยซื้อไปพูดถึงยังไงบ้าง  ตรงไม่ตรงสเป็กกับในภาพยังไง คำวิจารณ์จากผู้ซื้อตัวจริงจะช่วยคุณได้มากเลยล่ะค่ะ

คุณสมบัติของสินค้าที่จะสั่ง คำบรรยายที่ร้านแจ้งไว้โอเว่อร์เกินจริงหรือไม่ โดยแนะนำให้คุณแม่ลองหาข้อมูลสินค้าจากที่อื่นๆ เพิ่มเติมว่าสินค้าชิ้นนี้มีขายที่ไหนอีกหรือไม่ และคนอื่นๆ พูดถึงคุณสมบัติของสินค้าชิ้นดังกล่าวไว้ยังไงบ้าง เช่น เครื่องสำอางยี่ห้อหนึ่งอาจจะบอกว่าใช้แล้วขาวทันทีใน 1 วินาที แต่ความจริงแล้วอาจจะขาวจริงๆ หลังจากใช้ไป 3 เดือน ก็ได้นะคะ

ขั้นตอนที่ 3 เมื่อตัดสินใจว่าจะซื้อต้องไม่ลืม “เก็บหลักฐาน”

หลักฐานที่ควรต้องเก็บคือ หลักฐานการสั่งซื้อ, หลักฐานการชำระเงิน, ชื่อ-เลขที่บัญชีของเจ้าของร้าน ถ้าเป็นไปได้ลองปริ้นสกรีนหน้าเว็บร้านค้า และข้อมูลต่างๆ ของร้านเก็บเอาไว้ด้วยจะดีมากนะคะ

หากยังไม่มั่นใจที่จะสั่งซื้อสินค้า แนะนำให้ลองสั่งครั้งละน้อยๆ ก่อนนะคะ ถ้าร้านค้าจริงใจ บริการดี ก็ค่อยเป็นลูกค้าประจำอุดหนุนกันต่อไป

ทั้งนี้สำหรับคุณแม่ท่านไหนที่เชียวชาญการซื้อของออนไลน์ ลองมาแชร์สิ่งที่คุณจะทำก่อนซื้อเพื่อให้ได้สินค้าที่ดีตามที่ต้องการกันได้นะคะ เผื่อว่าคุณแม่ ๆ ท่านอื่นจะลองเอาไปทำกันดูบ้าง

อย่างไรก็ตามสำหรับมิจฉาชีพที่เปิดเฟซบุ๊กประกาศขายของเพื่อหวังหลอกลวงให้คนหลวงเชื่อโอนเงินแล้วไม่ได้สินค้าตามที่สั่ง จะมีความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ในข้อหาฉ้อโกงประชาชนและนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน อันเป็นเท็จก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น มีโทษจำคุก 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท

อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!


ขอบคุณข้อมูลจาก : blog.lnw.co.th

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up