ต่อมอะดีนอยด์

แม่เป้ย เล่าวินาที บีบหัวใจ! น้องโปรด เข้าผ่าตัดต่อมอะดีนอยด์ เผย..กลัวเสียลูก

event
ต่อมอะดีนอยด์
ต่อมอะดีนอยด์

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากโรคต่อมอะดีนอยด์โต

น้องโปรด ผ่าตัด

1.เด็กจะรู้สึกง่วง หรืออ่อนเพลียในช่วงเวลากลางวัน จากการนอนหลับไม่เต็มที่ ทำให้ผลการเรียนตกต่ำลง

  1. มีพฤติกรรมไม่อยู่นิ่ง สมาธิสั้น
  2. มีการหลั่งของฮอร์โมนที่จำเป็นในการเจริญเติบโตลดน้อยลง เนื่องจากฮอร์โมนดังกล่าวจะหลั่งในขณะที่เด็กมีการนอนหลับสนิท
  3. มีการเปลี่ยนแปลงของกระดูกใบหน้า ทำให้รูปใบหน้ารีเป็นรูปไข่ จากการโก่งตัวสูงขึ้นของกระดูกเพดานปาก และมีการยื่นออกของฟันหน้าจนผิดรูป ซึ่งเกิดจากการที่เด็กหายใจทางปาก

ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ คือ การขาดออกซิเจนในช่วงของการนอนตอนกลางคืนทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคความดันโลหิตในปอดสูง เป็นต้น

การรักษาโรคต่อมอะดีนอยด์โต

การผ่าตัดต่อมอดีนอยด์ออก จะทำเมื่อมีข้อบ่งชี้ในเรื่องของการติดเชื้อเรื้อรัง หรือเป็นๆหายๆ เช่น ไซนัสอักเสบ (ทำให้มีไข้, คัดจมูก, น้ำมูกไหล, ไอ)หรือ หูชั้นกลางอักเสบ (ทำให้มีไข้, ปวดหู, หูอื้อ, มีน้ำขังในหูชั้นกลาง หรือหนองไหลจากหูชั้นกลาง)  จนรบกวนคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย (ต้องหยุดเรียนบ่อย) หรือมีการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบน ทำให้เกิดอาการนอนกรน และ/ หรือมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งล้มเหลวจากการใช้ยา หรือมีภาวะแทรกซ้อนของการอุดกั้นทางเดินหายใจต่อระบบอื่นๆ ของร่างกาย

ต่อมอดีนอยด์ที่โตขึ้นจากการอักเสบบ่อยๆ นั้น เนื้อเยื่อของต่อมที่ทำหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันจะถูกแทนที่ด้วยเนื้อเยื่อพังผืด (fibrosis) ซึ่งเกิดตามหลังการอักเสบ จึงทำให้ต่อมทำหน้าที่ได้น้อยลงเรื่อยๆ ขณะเดียวกันร่างกายยังมีต่อมน้ำเหลืองอีกจำนวนมากในบริเวณศีรษะและคอ ที่ทำหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโรค ดังนั้นการตัดต่อมอดีนอยด์ในผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ จึงไม่ทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำแต่ประการใด การผ่าตัดต่อมทอนซิล และ ต่อมอดีนอยด์สามารถทำพร้อมกันได้ในการผ่าตัดครั้งเดียว หรือทำเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่าที่มีข้อบ่งชี้

การผ่าตัดต่อมอดีนอยด์เป็นการผ่าตัดผ่านทางช่องปากเช่นเดียวกับการผ่าตัดต่อมทอนซิล  แพทย์จะใส่เครื่องมือทางช่องปากผ่านด้านหลังลิ้นไก่เข้าไปหาโพรงหลังจมูก  ผู้ป่วยจึงไม่มีบาดแผลใดๆ ที่มองเห็นได้จากภายนอก

ก่อนผ่าตัด  การผ่าตัดต่อมแอดีนอยด์ต้องใช้การดมยาสลบ วิสัญญีแพทย์และพยาบาลจะมาให้ความรู้และดูแลความสมบูรณ์ของร่างกายผู้ป่วยก่อนผ่าตัด เช่นการตรวจเลือด   ตรวจปัสสาวะ ถ่ายภาพเอ๊กซเรย์ปอด   ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ผู้ป่วยจะต้องเข้ามาอยู่ในโรงพยาบาล 1 วันก่อนผ่าตัด เพื่อวิสัญญีแพทย์จะได้เตรียมความพร้อมสำหรับการดมยาสลบในวันรุ่งขึ้นที่จะผ่าตัด คืนวันก่อนผ่าตัด แพทย์จะให้งดน้ำและอาหารหลังเที่ยงคืน หรือก่อนผ่าตัดอย่างน้อย 6 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการสำลักอาหารและน้ำลงปอดเวลาดมยาสลบ

ในกรณีของผู้ป่วยเด็ก การงดอาหารและน้ำเป็นสิ่งที่ผู้ปกครองจะต้องดูแลให้เป็นไปตามคำสั่งของแพทย์โดยเคร่งครัด  ไม่แอบให้อาหาร น้ำหรือนม  เพราะกลัวเด็กหิว เพราะอาจเกิดการสำลักระหว่างดมยาสลบซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้    หากผู้ปกครองทราบว่าเด็กไม่ได้งดอาหารและน้ำตามที่แพทย์สั่งในเช้าวันผ่าตัดต้องรีบแจ้งให้แพทย์หรือพยาบาลทราบ เพื่อเลื่อนวันผ่าตัดออกไปก่อน

นอกจากนี้ การผ่าตัดต่อมแอดีนอยด์ ควรทำเมื่อผู้ป่วยมีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ดี ไม่เป็นหวัดหรือมีการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจเฉียบพลัน พักผ่อนเพียงพอ ผู้ป่วยบางรายที่รับประทานยาบางชนิด เช่น aspirin หรือ ยาต้านการแข็งตัวของเลือด อาจต้องหยุดยาดังกล่าวก่อนผ่าตัด

การดมยาสลบ  มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เสียงแหบจากสายเสียงบวม  หายใจลำบาก อาจต้องใส่ท่อช่วยหายใจ (endotracheal tube) ไว้ระยะหนึ่งหลังผ่าตัดเสร็จ  ปอดอักเสบจากการสูดสำลัก

หลังผ่าตัด        

  1. ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาตัวในโรงพยาบาล และผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถกลับบ้านได้หลังผ่าตัด24-48 ชั่วโมง หากรับประทานน้ำ และอาหาร ได้เพียงพอ และไม่มีภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยใช้เวลาพักฟื้นทั้งหมดประมาณ 7-10 วัน    ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดต่อมอดีนอยด์เพียงอย่างเดียวโดยไม่ได้ผ่าตัดต่อมทอนซิลจะไม่มีแผลในช่องคอ  จะมีแผลที่โพรงหลังจมูกเท่านั้น  จึงสามารถรับประทานอาหารได้ปกติหลังผ่าตัด    อาจมีอาการเจ็บโพรงหลังจมูกเนื่องจากแผลผ่าตัด  อาจมีน้ำลายหรือน้ำมูกปนเลือดออกมาได้บ้างเล็กน้อย   อาจมีอาการเจ็บคอได้บ้างจากการใส่ท่อช่วยหายใจระหว่างการดมยาสลบ
  2. ผู้ป่วยอาจจะมีไข้ หรือมีอาการบวม หรือรู้สึกติดๆ ขัดๆ ตึงๆ คล้ายมีสิ่งแปลกปลอมบริเวณหลังโพรงจมูก หรือมีเสียงเปลี่ยนได้ซึ่งอาการดังกล่าวมักจะหายไปภายใน1 สัปดาห์
  3. หลังการผ่าตัด1-2 วันแรก เพดานอ่อน หรือโพรงหลังจมูกอาจบวมมากขึ้นได้ ทำให้หายใจอึดอัด ไม่สะดวก อาจทำให้หายใจเสียงดังหรือมีอาการกรนมากขึ้นได้ดังนั้นจึงควรนอนศีรษะสูง โดยใช้หมอนหนุน หรือนอนบนที่นอนที่สามารถปรับความเอียงได้  อมและประคบน้ำแข็งบ่อยๆ ในช่วงสัปดาห์แรก เพื่อลดอาการบวมและเลือดออกบริเวณที่ทำผ่าตัด ถ้าอาการหายใจไม่สะดวก เป็นมากขึ้นเรื่อยๆ จนถึงขั้นรุนแรง หลังออกจากโรงพยาบาลแล้ว  ควรรีบไปโรงพยาบาลเพื่อปรึกษาแพทย์ทันที
  4. ผู้ป่วยจะได้รับยาแก้อักเสบยาแก้ปวดยาลดบวม  ยาแก้แพ้  ยากลั้วคอ ผู้ป่วยควรจะรับประทานยาดังกล่าวให้หมด ไม่ว่าอาการจะดีขึ้นหรือไม่ก็ตาม ยาหยอดหรือพ่นจมูกเพื่อห้ามเลือด  ผู้ป่วยสามารถรับประทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล เมื่อจำเป็นได้  และจะมีสายให้น้ำเกลือติดอยู่ที่แขน  เมื่อผู้ป่วยรับประทานได้ดีพอควร แพทย์จะเอาสายให้น้ำเกลือออก
  5. ควรหลีกเลี่ยงการสั่งน้ำมูกหรือจามแรงๆการออกแรงมากการเล่นกีฬาที่หักโหม หรือยกของหนัก หลังผ่าตัดภายใน 24-48 ชั่วโมงแรก เพราะอาจทำให้มีเลือดออกจากแผลที่โพรงหลังจมูก  ถ้ามีเลือดออกจากช่องจมูกหรือปาก ควรนอนพัก  ยกศีรษะสูง  อมน้ำแข็งในปาก  หยอดยาหยอดจมูกห้ามเลือดที่แพทย์สั่งไว้ให้ 3-4 หยด ในโพรงจมูกแต่ละข้าง  นำน้ำแข็งหรือ cold pack มาประคบบริเวณหน้าผากหรือคอ  เพื่อให้เลือดหยุด  การประคบหรืออมน้ำแข็ง ควรประคบหรืออมประมาณ 10 นาที แล้วจึงเอาออกประมาณ 10 นาที แล้วค่อยประคบหรืออมใหม่เป็นเวลา 10 นาที  ทำเช่นนี้สลับกันไปเรื่อยๆ  ถ้าเลือดออกไม่หยุดหรือออกมากผิดปกติ ควรรีบไปโรงพยาบาลเพื่อปรึกษาแพทย์ทันที
  6. โดยปกติ หลังผ่าตัดประมาณ4 สัปดาห์แผลจะหายเป็นปกติ

ทั้งนี้โดยทั่วไป การผ่าตัดต่อมอดีนอยด์ เป็นการผ่าตัดที่ทำบ่อยในเด็ก ซึ่งเด็กมักกลับบ้านได้ภายใน 1-2 วันหลังผ่าตัด ถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อน ซึ่งความร่วมมือระหว่างพ่อแม่กับคุณหมอและพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดมักทำให้การผ่าตัดรักษาได้ผลดี ส่วนเรื่องการนัดตรวจหลังออกจากโรงพยาบาล คุณหมอจะนัดมาดูอาการ และฟังผลชิ้นเนื้อ (ถ้ามีการส่งตรวจ) ประมาณ 1 สัปดาห์หลังผ่าตัด และหลังจากนั้น 2-4 สัปดาห์ เพื่อติดตามผลการรักษา

อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!


ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงดีๆ จาก : www.si.mahidol.ac.th

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up