การดูแลท้องแฝด

“ชาคริต” ว่าที่คุณพ่อเผย! “ได้ลูกแฝด” แต่สุดท้ายหลุดไปหนึ่งคน พบวิธีดูแลแม่เมื่อกำลังตั้งครรภ์ลูกแฝด

event
การดูแลท้องแฝด
การดูแลท้องแฝด

การดูแลท้องแฝด

ชาคริตเผยวันที่ดีใจที่สุดและวันที่เสียใจ (ต่อ)

“ตอนนัดอัลตร้าซาวด์อีกรอบ มีแต่คนบอกเรื่องถือเคล็ด 3 เดือน แต่ผมไม่เชื่อ พอไปอัลตร้าซาวด์หมอบอกหลุดไปคนหนึ่งครับ เหลืออยู่คนหนึ่ง ซึ่งจากนั้นผมก็อยู่เงียบๆ และดูแลให้เขาแข็งแรงที่สุด แอนร้องไห้ เสียใจมาก แต่ยังไงอีกคนก็ต้องทำให้ดีที่สุด น้องเขาก็ขอโทษที่ดูแลลูกไม่ดี (ร้องไห้)”

นอกจากนี้คุณชาคริตยังเผยถึงงานแต่งด้วยสีหน้ายิ้มแย้มอิ่มสุขว่า

“พิธีจะมีเฉพาะครอบครัวและเพื่อนๆ ที่สนิทครับ ตามความตั้งใจเขา คงเป็นอะไรที่เขาอยากจะจำไว้ตลอด ส่วนเรื่องรูปในงานเดี๋ยวจะจัดเตรียมให้ครับ อีกอย่างมันไกลด้วย ผมตั้งใจไว้อยู่แล้ว ไม่ใช่แต่งเพราะผู้หญิงท้องครับ

จริงๆ ผมไม่คาดหวังอะไรจากความรักแล้วครับ จะได้เป็นพ่อคนแล้ว จากนี้ก็เริ่มลดๆ งาน ให้เวลาครอบครัว ส่วนบ้านก็จะเสร็จแล้ว แต่เขาบอกว่า อยู่กันง่ายๆ ไหม มันใหญ่ไป เราก็เลยบอกค่อยว่ากันอีกที เพราะมีลูกด้วย เราก็เป็นภูมิแพ้อีก เตรียมตัวกับการเป็นคุณพ่อ ต้องทำทุกอย่างให้มั่นคง จัดแจงเวลาให้เป็นครับ จดทะเบียนสมรส ต้องทำทุกอย่างให้มันถูกต้องครับ”

ขอบคุณข้อมูลจาก : www.amarintv.com

อย่างไรก็ดีทางทีมงาน Amarin Baby & Kids ก็ขอแสดงความยินดีกับว่าที่คุณพ่อ และขอให้ชีวิตคู่ของคุณชาคริต กับคุณแอน ภัททิรา ยิ่งยืนยาวตลอดไปด้วยนะคะ ^^

» » แต่จากกรณีที่ลูกแฝดของคุณชาคริต ที่หลุดไปหนึ่งคนหลังตรวจพบว่าภรรยาของเค้านั้นตั้งท้องแฝด ก็สามารถเกิดขึ้นได้ เพราะโดยธรรมชาติแล้ว มดลูกของผู้หญิงเหมาะสำหรับเด็กเพียงคนเดียว เมื่อเกิดตั้งครรภ์แฝด (การมีเด็กอย่างน้อย 2 คนขึ้นไป อยู่ร่วมมดลูกเดียวกัน) จึงถือเป็นภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ ทั้งยังแตกต่างจากการตั้งครรภ์ลูกคนเดียวมาก ซึ่งการหาความรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับการตั้งครรภ์แฝด เพื่อการดูแลและระมัดระวังจึงจำเป็นมาก

“ดังนั้นไม่ว่ากรณีใดๆ แพทย์ไม่แนะนำให้เกิดการตั้งครรภ์แฝดแบบตั้งใจ” สิ่งนี้คือประเด็นสำคัญที่คุณหมอตวงสิทธิ์ วัฒกนารา สูตินรีแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ ที่ผ่านประสบการณ์การดูแลช่วยเหลือคุณแม่และลูกแฝดที่อยู่ในภาวะเสี่ยงจำนวนมาก ต้องการส่งถึงทุกครอบครัวและคู่ที่คิดกำลังจะมีลูกได้ตระหนักให้มากและเข้าใจให้ถูกต้อง

ไตรมาสแรก รู้ตัวเร็ว เพื่อ “ตระหนัก” ไม่ใช่ตระหนก

“ที่บอกว่าการตั้งครรภ์แฝดถือเป็นภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ จะเรียกว่าเป็นภาวะไม่ปกติของการตั้งครรภ์ก็ได้ เพื่อให้ตระหนักว่าในช่วงนี้คุณแม่และครอบครัวควรรู้เรื่องอะไร จะได้เตรียมพร้อมดูแลครรภ์และตัวคุณแม่ให้ปลอดภัยที่สุด” คุณหมอตวงสิทธิ์ขยายความเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น

  • ความเสี่ยงต่อการแท้ง เป็นเรื่องแรกที่ต้องรู้และคำนึงถึง ดังนั้นคุณแม่ท้องแฝดควรรู้ตัวให้เร็ว และอยู่ในการดูแลของแพทย์ได้เร็ว เพื่อความปลอดภัยและลดความเสี่ยงต่างๆ
  • คุณแม่ควรรู้ว่าตัวเองอยู่ในกลุ่มที่จะรู้การตั้งครรภ์เร็วหรือไม่ การสังเกตและใส่ใจรอบเดือนของตัวเอง เป็นสิ่งจำเป็นไม่ว่าคุณแม่จะมีโอกาสท้องแฝดหรือไม่ก็ตาม
    • กลุ่มที่มีรอบเดือนสม่ำเสมอ พอประจำเดือนขาดไป มักจะรู้ตัวได้เร็ว
    • กลุ่มที่รอบเดือนมาไม่สม่ำเสมอ คุณแม่ต้องใส่ใจตัวเองเป็นพิเศษ เพราะหากเผลอไม่ได้สังเกตมีโอกาสสูงที่จะรู้ตัวว่าตั้งครรภ์ช้า โอกาสเสี่ยงต่างๆ ยิ่งสูงขึ้น
  • คุณแม่ครรภ์แฝดมักแพ้ท้องมากกว่าปกติ
  • ท้องแฝดจำเป็นต้องเลือกแพทย์และสถานพยาบาล การตั้งครรภ์แฝดควรได้รับการดูแลโดยแพทย์ที่ชำนาญการดูแลครรภ์แฝดโดยเฉพาะ และมีประสบการณ์มากในการดูแลครรภ์แฝด และถ้ารู้ว่าตั้งครรภ์แฝดไข่ใบเดียวกันกรุณาฝากครรภ์กับแพทย์โรงเรียนแพทย์ ไม่แนะนำการฝากครรภ์ที่คลินิก

อ่านต่อ >> ประเด็นสำคัญที่คุณแม่ท้องแฝดและครอบครัวควรรู้” คลิกหน้า 3

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up