อินสตาแกรม

เมื่อลูกได้เจออินสตาแกรมของพ่อ (ที่แต่งงานใหม่ไปแล้ว)

Alternative Textaccount_circle
event
อินสตาแกรม
อินสตาแกรม

นี่คือเรื่องราวของลูกสาวคนหนึ่ง  ที่พ่อแม่หย่าร้างกันตั้งแต่เธออายุประมาณ 12-14 ปี  โดยเธอคิดมาโดยตลอดว่าพ่อคงจะมีความสุขอยู่กับภรรยาใหม่จนลืมเธอกับน้องชายไปแล้วก็ได้

นับตั้งแต่พ่อกับแม่หย่าร้างกัน  เธอก็มีแต่ความคิดแง่ลบว่าพ่อคงจะไม่รักแล้ว  แล้วยิ่งพ่อไปมีภรรยาใหม่ด้วยก็ไม่รู้ว่าพ่อจะคิดถึงเธอกับน้องชายบ้างหรือเปล่า?   แม้ว่าพ่อจะส่งเสียให้เรียน  เข้ามหาวิทยาลัยต่างจังหวัด แต่เธอก็ไม่ได้เจอพ่อหลายปี

จนวันหนึ่งมี  Social Media  ใน Facebook เธอก็เห็นแต่รูปของพ่อกับภรรยาใหม่  แต่วันหนึ่งเมื่อเธอเจอ Instagram ของพ่อ  ก็ทำให้ความรู้สึกติดลบที่มีต่อพ่อของเธอหายไป

Instagram (5)

ประโยคที่อ่านแล้วเรียกน้ำตา

“จนวันหนึ่งผู้เขียนเล่นอินสตราแกรมไปเรื่อยๆ และไปเจออินสตราแกรมหนึ่งซึ่งมั่นใจแน่ๆล่ะว่าเป็นของพ่อเราแน่นอน ก็เลื่อนดูเรื่อยๆ ก็เจอรูปพ่อกับภรรยาใหม่ จขกท.เลื่อนดูเรื่อยๆแต่ก็สะดุดรูปหนึ่ง ซึ่งเป็นรูปจขกท.เองที่จขกท.เคยลงใน Facebook และคำบรรยายคือ “ลูกสาวเรียนคณะ….ปี….แล้วนะ”  รูปต่อมาเป็นรูปน้องชายคนรองคำบรรยาย “ลูกชายชอบในอาชีพที่พ่อทำ และอยากจะเป็นเหมือนพ่อ” และรูปน้องชายคนสุดท้องบ้างกับรูปจขกท.เยอะมาก คือพ่อเรา save เกือบทุกรูปที่จขกท.และน้องชายลงในโซเชียลต่างๆ และมาลงในอินสตราแกรมของพ่อเอง ตอนนั้นความรู้สึกคือที่เราเข้าใจ และรับรู้ เข้าใจพ่อผิดหมด ถึงพ่อจะไม่ได้อยู่กับเราแต่พ่อก็จดจำทุกสิ่งเกี่ยวกับเราได้หมด จำได้ว่าจขกท.ชอบกีฬาอะไร และชอบเรียนอะไร น้องชายจขกท.อยากจะเป็นอาชีพอะไร เขารู้ทุกอย่าง”

 

ผู้เขียนได้เผยความรู้สึกว่า ที่แบ่งปันเรื่องราวนี้เพราะอยากจะให้ลูกทุกคนที่ครอบครัวอาจจะไม่ได้สมบูรณ์ให้กลับมามองความรักของพ่อแม่เสียใหม่  พ่อแม่ทุกคนรักลูกและขอให้รักษาท่านไว้เพราะไม่รู้ว่าท่านจะอยู่กับเรานานแค่ไหน  ขอให้ทำหน้าที่ลูกให้ดีที่สุด

shutterstock_33974866

ถึงจะหย่าแล้ว แต่พ่อแม่ก็ยังช่วยกันดูแลลูกได้เหมือนเดิม ด้วยหลัก Co-Parenting

หลักการดูแลลูกร่วมกัน (Co-Parenting) สำหรับครอบครัวที่หย่าร้างหรือแยกกันอยู่นั้นต้องยึดเอาประโยชน์ของเด็กเป็นที่ตั้ง เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น เราลองมาเปรียบเทียบวิธีการ Co-Parenting ที่ผิดกับวิธีที่ถูกกันดีกว่าค่ะ

      Co-Parenting แบบผิดๆ

  • ไม่ยอมให้อีกฝ่ายพบหน้าลูก
  • พาลูกไปโดยไม่แจ้งให้อีกฝ่ายรู้ล่วงหน้า
  • ไม่ให้อีกฝ่ายเข้าร่วมกิจกรรมใดๆ เกี่ยวกับลูก

      Co-Parenting ที่ถูกวิธี

  • ผู้ปกครองที่สนับสนุนให้ลูกมีความสัมพันธ์ที่ดีกับอีกฝ่าย รวมทั้งคู่สมรสใหม่ของอีกฝ่ายด้วย
  • ผู้ปกครองที่ให้อีกฝ่ายติดต่อและพบปะกับลูกอย่างสม่ำเสมอ
  • ผู้ปกครองที่คำนึงถึงสิทธิ์และความรู้สึกของลูกมาเป็นอันดับแรก

banner300x250

เมื่อพ่อกับแม่เปิดใจและยอมรับความเป็นเพื่อน ลูกๆ ก็คือผู้ที่จะได้รับประโยชน์มากที่สุดค่ะ เด็กๆ จะรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัย ไม่รู้สึกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้คุกคามและเด็กๆ จะได้เรียนรู้เรื่องของการรู้จักให้อภัย การเสียสละ และความประนีประนอมยอมความกัน นอกจากนี้คุณพ่อคุณแม่ยังได้แบ่งเบาภาระของการเป็นพ่อหรือแม่เลี้ยงเดี่ยวอีกด้วยค่ะ

ความรักไม่มีรูปแบบตายตัว กำหนดไม่ได้ว่าจะต้องอยู่ในรูปแบบของครอบครัวที่มีครบทั้งพ่อแม่และลูกอย่างเดียวเท่านั้น ลูกๆ ยังสามารถเติบโตด้วยหัวใจที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความรักจากทั้งพ่อและแม่แม้ไม่ได้อยู่ด้วยกันค่ะ

 

ขอขอบคุณเรื่องจาก : http://pantip.com/topic/35396236

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up