พฤติกรรมไม่น่ารัก

3 วิธีจัดการ พฤติกรรมไม่น่ารัก เมื่อลูกน้อยโมโห!

Alternative Textaccount_circle
event
พฤติกรรมไม่น่ารัก
พฤติกรรมไม่น่ารัก

วิธีจัดการ พฤติกรรมไม่น่ารัก ของลูก

1.ให้รางวัลวันที่เขาแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมถูกใจ

อย่าเฉยเมื่อมีวันที่เขาไม่ทำอย่างที่คุณแม่เล่ามา “เดี๋ยวนี้เวลาโมโหก็จะแสดงกิริยาไม่น่ารัก เช่น ปาข้าวของจนเสียหาย เดินกระแทกส้นเสียงดังใส่ ปิดประตูเสียงดัง หรือกรีดร้อง คำราม”กล่าวคือ “วันนี้ดูเหมือนลูกโมโห แต่ไม่ได้แสดงกิริยาไม่น่ารัก เช่น ปาข้าวของจนเสียหาย เดินกระแทกส้นเสียงดังใส่ ปิดประตูเสียงดัง หรือกรีดร้อง คำราม”เช่นนี้แม่ต้องรีบให้รางวัล เดี๋ยวนั้น ทันที ทิ้งทุกอย่างที่ทำอยู่มาให้รางวัล บอกเขาชัดๆ ว่า“เราชอบมากกกกก”

เลี้ยงลูกให้เป็นคนดี

2. การเฉยเมย

การเฉยเมยอาจจะไม่เหมาะเมื่อลูกกำลังออกอาการ ที่ควรทำคือทิ้งงานทุกอย่าง เข้าไปหยุดเขาทันที เดี๋ยวนั้น ด้วยทีท่าที่เอาจริง ไม่เหยาะแหยะ และทำซ้ำๆ จนกว่าจะได้ผล แค่ 5 ขวบ แพ้ได้ไง

3. การทำโทษมักไม่ได้ผลอีกต่อไปแล้ว

เมื่อเรื่องลุกลามมาถึงจุดนี้ หากฝืนทำต่อไปมีแต่จะทำให้เขาแย่ลงไปอีกเสียเปล่าๆ ถ้าเคยทำก็หยุดทำ บางครั้งเราพบว่าเด็กๆ กลับจะดีขึ้นได้เอง

 

อย่างไรก็ดีไม่ว่าจะใช้จิตวิทยาเชิงบวกหรือการจัดการ พฤติกรรมไม่น่ารัก ของลูกน้อย โดยตรง สิ่งที่คุณแม่ต้องมี คือ ความสม่ำเสมอคงเส้นคงวา และความหนักแน่นเอาจริงไม่เหยาะแหยะ หากปราศจากสองอย่างนี้วิธีไหนก็ไม่ได้ผล เพราะเด็กจะไม่รู้ว่าท่านจะเอาอย่างไรกันแน่ บางวันท่านก็ดี บางวันท่านก็ร้าย สลับกันไปมาพอกันกับเขา ลองทบทวนดูนะคะ

ขอบคุณบทความจาก : นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์
จิตแพทย์แผนกจิตเวช โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

เมื่อลูกโต…อาละวาด! จัดการอย่างไร?

ทั้งนี้เมื่อลุกดตขึ้นมาพ่อแม่ก็อาจคาดหวังว่าเด็กก่อนวัยรุ่นควรจะมีเหตุผลและเป็นผู้ใหญ่แต่ความจริงพวกเขาก็ยังเป็นเด็กที่เก็บอารมณ์หิว เหนื่อย หรือผิดหวังของตัวเองเอาไว้ไม่มิด วิธีที่จะป้องกันไม่ให้ฉากแบบนี้เกิดขึ้นก็คือ…

บอกล่วงหน้า ความผิดหวังเสียใจจะเกิดขึ้นเมื่อสิ่งต่างๆ ไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ คุณจึงควรบอกลูกว่าอะไรจะเกิดขึ้นหลังจากความเปลี่ยนแปลงนั้นๆ ด้วย เช่น “วันนี้แม่ต้องไปทำงานก่อน แต่เราจะไปสวนสนุกกันวันพรุ่งนี้แทน”

ช่วยผ่อนคลาย ชวนลูกทำกิจกรรมที่เขาชอบ เช่น เล่นกีฬา หรือทำงานศิลปะ เพื่อเปลี่ยนอารมณ์เสียๆ ให้สดใสขึ้น

อย่าเพิ่งชี้แจงเหตุผลตอนบรรยากาศยังร้อน ถึงจะเป็นผู้ใหญ่แล้วก็ยังยากจะหยุดฟังเหตุผลตอนที่อารมณ์พุ่งปรี๊ด ดังนั้นอย่าเพิ่งสอนหรืออบรมลูกในตอนที่เขากำลังร้องไห้ ปล่อยให้เขาสะอึกสะอื้นให้พอเสียก่อน

วางแผนแก้ไข สุดท้ายเมื่อลูกเย็นลงแล้ว ค่อยมานั่งคุยกันว่า ครั้งต่อไป ลูกควรรับมือกับสถานการณ์แบบนี้อย่างไร อย่าลืมบอกลูกว่า เขามีสิทธิ์ที่จะเลือกเรียนรู้และปรับตัวให้เป็นผู้ใหญ่ หรือกลับไปทำตัวแบบเด็กเตาะแตะ แต่เขาควรรู้ด้วยว่า ผลที่ได้รับจากปฏิกิริยาทั้งสองแบบนี้ย่อมแตกต่างกัน

 

 อ่านต่อบทความน่าสนใจ

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up