คลอดก่อนกำหนดเพราะน้ำคร่ำเยอะ

ลูกน้อยคลอดก่อนกำหนด เพราะมีน้ำคร่ำมากไป

Alternative Textaccount_circle
event
คลอดก่อนกำหนดเพราะน้ำคร่ำเยอะ
คลอดก่อนกำหนดเพราะน้ำคร่ำเยอะ

ทำไมถึงเป็นครรภ์แฝดน้ำ?

1.เกิดจากความพิการของลูกน้อย 20% สัมพันธ์กับการกลืน ตั้งแต่ความผิดปกติของระบบประสาทลงมาถึงการอุดกั้นของทางเดินอาหาร ที่พบบ่อยได้แก่ การกลืนน้ำคร่ำของทารกไม่มีกะโหลก เนื้องอกที่หน้า ปากแหว่งเพดานโหว่ และการตีบตันของทางเดินอาหาร เช่น หลอดอาหาร หรืออาจเกิดจากความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อ และระบบประสาท นอกจากนี้ยังมีภาวะไส้เลื่อนกระบังลม ความผิดปกติอื่นๆ เช่น บวมน้ำ ทำให้การทำงานของหัวใจล้มเหลวจากสาเหตุต่างๆ หรืออาจเป็นเพราะครรภ์แฝดที่มีภาวะแทรกซ้อน พบได้ 7% หรือ 2 ใน 3 ของฝาแฝด

2.เกิดจากความผิดปกติของคุณแม่ 20% ได้แก่ เบาหวาน ซึ่งพบได้มาก ทำให้ลูกน้อยสร้างปัสสาวะมากขึ้น

3.เกิดจากรก เช่น รกมีเนื้องอกออกมา

4.ไม่มีสาเหตุ พบได้บ่อยที่สุดถึง 60% ซึ่งอาจเกิดจากการแปรปรวนของครรภ์ แต่มักไม่รุนแรงมาก อยู่ในระดับน้อยถึงปานกลาง การตรวจวินิจฉัยจะตรวจไม่พบว่าผิดปกติ ทั้งคุณแม่ และลูกน้อย

ครรภ์แฝดน้ำ
ครรภ์แฝดน้ำ

ผลกระทบต่อการตั้งครรภ์เมื่อคุณแม่เป็นครรภ์แฝดน้ำ

เมื่อคุณแม่เป็นครรภ์แฝดน้ำ จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน ซึ่งสัมพันธ์กับการขยายของมดลูก เช่น คุณแม่หายใจลำบาก คลอดก่อนกำหนด ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด สายสะดือย้อย รกลอกตัวก่อนกำหนด ภาวะครรภ์เป็นพิษ การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ รวมถึงตกเลือดหลังคลอด นอกจากนี้ยังทำให้เกิดความผิดปกติขณะคลอด เช่น ใช้ก้นออกมา ออกมาในท่าขวาง ทำให้เสี่ยงอันตรายมาก ซึ่งลูกน้อยมีโอกาสเสียชีวิต เพิ่มขึ้น 2-5 เท่า โดยเฉพาะในเด็กที่มีตัวโต

การดูแลรักษาเมื่อคุณแม่มีครรภ์แฝดน้ำ

1.ระยะก่อนคลอด

คุณแม่ควรมีการตรวจครรภ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยลดความเสี่ยงและเฝ้าระวัง โดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูงในการตรวจปริมาณน้ำคร่ำ 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์จนถึง 40 สัปดาห์

  • อายุครรภ์น้อยกว่า 32 สัปดาห์ ถ้าคุณแม่มีอาการแทรกซ้อนรุนแรง ลองขอคำแนะนำจากคุณหมอเรื่องการควบคุมไม่ให้น้ำคร่ำกลับขึ้นมาเยอะใหม่ เพื่อลดความเสี่ยงในการเจาะน้ำคร่ำซ้ำ
  • อายุครรภ์มากกว่า 32 สัปดาห์ ให้เจาะน้ำคร่ำเพื่อบรรเทาอาการได้ แต่ควรปรึกษาคุณหมอทุกครั้ง

2.ระยะคลอด

คุณแม่ต้องระวังภาวะน้ำคร่ำแตกรั่ว และหลังคลอดต้องระมัดระวังภาวะตกเลือด อย่าใช้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก เพราะอาจจะทำให้เกิดความเสี่ยงอันตรายได้

เครดิต: อ.พญ. สุชยา  ลือวรรณ ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง คลิก!!

คลอดก่อนกำหนด อันตราย กว่าที่คิด!!!

คลอดก่อนกำหนด เรื่องที่แม่ท้องต้องรู้สาเหตุและวิธีป้องกัน

โภชนาการก่อนตั้งครรภ์ ลดความเสี่ยง คลอดก่อนกำหนด

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Save

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up