ก้าวร้าว

[สร้างวินัยเชิงบวก] 3 เทคนิคเชิงบวก ฝึกลูกเล็กควบคุมอารมณ์ และความรู้สึกให้ได้ผล!

Alternative Textaccount_circle
event
ก้าวร้าว
ก้าวร้าว

ขั้นตอนที่ 3 แสดงความชื่นชม พอใจ

คือ การชมเชย หรือ ขอบคุณลูก เมื่อลูกสามารถควบคุมอารมณ์ได้ และแสดงให้เห็นว่าพร้อม โดยการแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสม เช่น

ขอบคุณมากที่หนูแสดงให้แม่เห็นว่าหนูพร้อม หนูเก่งมาก! ที่หนูสามารถควบคุมอารมณ์ของหนู และสวัสดีคุณยายได้สำเร็จ

พ่อดีใจมากที่หนูแสดงให้เห็นว่าหนูพร้อมด้วยการขอโทษพ่อและเก็บของเล่น เยี่ยมมาก! ลูกพ่อควบคุมอารมณ์ตัวเองได้แล้ว

ควบคุมอารมณ์ วิธีสอนลูก วินัยเชิงบวก

การใช้เทคนิคการสร้างวินัยเชิงบวกตามขั้นตอนนี้ ทำให้เกิดการเรียนรู้ด้วยความรู้สึก (Learning by Feeling) กล่าวคือ ลูกจะได้เรียนรู้ชื่ออารมณ์ความรู้สึกไม่พึงพอใจและชื่อพฤติกรรมไม่เหมาะสมที่แสดงออกมาตามความรู้สึกนั้น การแสดงความเข้าใจจะช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด ลดความรู้สึกคับข้องภายในจิตใจ และทำให้เกิดความตระหนักในอารมณ์ความรู้สึก และพฤติกรรมของตนเองได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

ทั้งคำศัพท์ของอารมณ์ความรู้สึก และความรู้สึกตอนที่จัดการกับอารมณ์ตัวเองนั้นจะถูกเก็บเป็นประสบการณ์ เมื่อเราสอนและให้โอกาสลูกได้ฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง ประสบการณ์ที่สะสมไว้ก็จะกลายเป็นทักษะ ทำให้เขาสามารถคิด ตัดสินใจ และควบคุมอารมณ์ได้ง่ายขึ้น เร็วขึ้น และมีพฤติกรรมที่เหมาะสมมากขึ้นจนติดเป็นนิสัยนั่นเอง

ว่าแต่ตอนนี้คุณพ่อคุณแม่พร้อมใช้เทคนิคการสร้างวินัยเชิงบวก 3 ขั้นตอนนี้ รับมือกับพฤติกรรมของลูก ที่เรียกว่า มันเป็น Feeling” แล้วหรือยังคะ?

Happy Parenting!

banner300x250-1

ข้อมูลอ้างอิงจาก

  1. Thanasetkorn, P.**, Chumchua, V. Suttho, J., & Chutabhakdikul, N. (2015). The preliminary research study on the impact of the 101s: A guide to positive discipline parent training on parenting practices and preschooler’s executive function. ASIA-PACIFIC Journal of Research in Early Childhood Education, 9(1), pp. 65-89.
  2. Jutamard Suttho*, Vasunun Chumchua, Nuanchan Jutapakdeekul, Panadda Thanasetkorn**. The impact of the 101s: A Guide to positive discipline parent training on parenting practices and preschooler’s executive function. The 2ndASEAN Plus Three Graduate Research Congress (AGRC). 2014;255.

 

เรื่อง : ผศ.ดร. ปนัดดา ธนเศรษฐกร  อาจารย์สาขาพัฒนาการมนุษย์  สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว  มหาวิทยาลัยมหิดล

ภาพ : Shutterstock

อ่านเพิ่มเติม คลิก!!

วิธีรับมือกับลูกขี้โมโห จาก แพรวเพื่อนเด็ก

Save

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up