วิธีจัดการลูกดื้อ

หมอประเสริฐแนะ บันได 4 ขั้น วิธีจัดการลูกดื้อ อย่างเข้าใจและได้ผลจริง

Alternative Textaccount_circle
event
วิธีจัดการลูกดื้อ
วิธีจัดการลูกดื้อ

“ลูกดื้อ” ปัญหาที่ฃหลายบ้านต้องพบไม่มากก็น้อย ก่อนจะคิดหา วิธีจัดการลูกดื้อ นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ได้ให้คำแนะนำสะกิดใจคุณพ่อคุณแม่ไว้ว่า

ก่อนตัดสินว่าสิ่งที่ลูกทำเรียกว่า “ดื้อ” หรือเปล่า คุณพ่อคุณแม่ต้องใจเย็น และทบทวนก่อนว่า  สิ่งที่ลูกกำลังทำกระทบต่อเป้าหมายที่สำคัญหรือไม่ เช่น ดูแลตัวเองได้หรือเปล่า ไม่ว่าจะเป็นการกินข้าว อาบน้ำ แปรงฟัน แต่งตัว ดูแลข้าวของส่วนตัว หากไม่มีอะไรละเมิดกิจกรรมเหล่านี้ “ไม่เรียกว่าดื้อ แค่ไม่ได้ดั่งใจพ่อแม่เท่านั้น” สุดท้ายเมื่อดูแล้วว่าลูกดื้อจริงๆ เถียงคอเป็นเอ็น เราก็ควรหามีวิธีจัดการต่อไป โดยคุณหมอมีวิธีจัดการลูกดื้้อ เชิงบวก ที่ไม่ทำร้ายใจลูก และได้ผลจริงมาฝากกัน ดังต่อไปนี้

บันได 4 ขั้น วิธีจัดการลูกดื้อ ให้อยู่หมัด สไตล์หมอประเสริฐ

ให้รางวัล

เป็นวิธีที่ดีที่สุด ให้ในวันที่ลูกควรจะดื้อแต่กลับไม่ดื้อ ก็เอาพฤติกรรมที่ดีมาไล่พฤติกรรมที่เราไม่ต้องการออกไป ทุกครั้งเล่นได้ 5 นาทีก็ทุบหัวน้องแล้ว วันนี้ผ่านไป 10 นาที ยังไม่ทุบ นี่คือนาทีทองที่เราควรทิ้งทุกอย่าง เดินไปหาแล้วพูดว่า “แม่ชอบจัง พี่น้องไม่ตีกันเลย” แล้วดึงมากอด จูบ แล้วติดดาวผู้ช่วยนายอำเภอ ทุกครั้งที่ดื้อไม่ยอมอาบน้ำ วันนี้ฟลุคยอมอาบแบบง่ายๆ นี่ก็ป็นนาทีทองที่เราต้องกอด จูบ แล้วให้โบนัส

จับทันทีก่อนเกิดเหตุการณ์

เมื่อเกิดเหตุการณ์แล้ว ให้พูดว่า “ไม่ให้ทำ” สั้น ชัด สงบนิ่ง และเอาจริง อย่าพูดยาว หลักการของข้อนี้คือ การจับคู่ “พฤติกรรมที่เราไม่อยากเห็นอีก” กับ “ความเงียบ” จึงจะเกิดการสูญสลายของพฤติกรรม ไม่ใช่จับคู่กับความหงุดหงิดไปจนถึงอาการโมโหของพ่อแม่  วิธีนี้จะทำได้เมื่อเราอยู่บ้านนานพอ

การจับคู่พฤติกรรมไม่พึงประสงค์กับความหงุดหงิดหรือการตี มักทำให้เกิดการวางเงื่อนไขทางลบ กล่าวคือ “เห็นแม่หงุดหงิดหรือถูกตีก็ยังดีกว่าอยู่กับพี่เลี้ยง” แล้วเขาจะทำอีกเพราะดึงความสนใจจากพ่อแม่ได้ทุกครั้ง

งอแงมากให้ไทม์เอ๊าต์

เป็นการขอเวลานอกไม่ใช่การทำโทษ นี่เป็นวิธีจับคู่พฤติกรรมที่เราไม่อยากให้มีอีกกับความเงียบเช่นกัน แต่เปลี่ยนสถานที่ หรือเอาออกจากสถานที่เกิดเหตุ สิ่งสำคัญเวลา “ไทม์เอ๊าต์” คือมีพ่อแม่นั่งอยู่ด้วย ไม่ทิ้งให้อยู่คยเดียว หาสถานที่ปลอดภัย ผ่อนคลาย ส่วนพ่อแม่ต้องผ่อนคลายด้วย นั่งรอลูกสงบลง บอกเขาได้ว่าเงียบแล้วก็มาให้แม่กอดได้

การไทม์เอ๊าต์ต้องเอาจริง นั่นแปลว่า หากเกิดเหตุในที่สาธารณะ พ่อแม่ที่เอาจริงควรเอาพาเขาออกจากสถานที่ทันที ไปที่ต้นไม้ รถ หรือกลับบ้าน ให้เขารู้ว่าพ่อแม่เอาจริง งอแงในที่สาธารณะถึงระดับรบกวนสาธารณะ ไม่อนุญาตให้ทำ

ถ้างอแงหนักและสร้างความเสียหาย ต้องใช้วิธีจำกัดขอบเขต

แปลตามตัวว่า “ขีดเส้นรอบตัวเขาไม่ให้แผลงฤทธิ์ได้อีก” วิธีนี้เป็นการตัดสิทธิ์บางประการ  เช่น  กักบริเวณ ห้ามใช้มือถือ 1 วัน หรือตัดชั่วโมง Wi-Fi  หักค่าขนม ลดงบประมาณซื้อการ์ตูน จะเห็นว่าการจำกัดขอบเขตเป็นเรื่องใหญ่ ทำยาก มักใช้กับเด็กโตที่พ่อแม่มีสายสัมพันธ์ที่ดีอยู่บ้าง แต่มักจะไม่ได้ผลในบ้านเรา เพราะกว่าจะมาถึงขั้นนี้ สายสัมพันธ์มักเสียหายมากแล้ว การจำกัดขอบเขตเริ่มล้ำเข้าสู่การทำโทษ

การตีโดยที่สายสัมพันธ์ไม่ดีมักไม่ได้ผล การตีจะวางเงื่อนไขทางลบ กล่าวคือ การตีคือข้อพิสูจน์ว่าแม่มีอยู่จริง ก็จะทำความผิดซ้ำอีกเพื่อให้แม่โผล่มาตีอีก จะเห็นว่าเรื่องจะยากขึ้นทุกที การที่พ่อแม่กลับไปจัดการตนเองก่อนในตามวิธีข้างต้นง่ายและได้ผลกว่ามาก ดีที่สุดคือได้ทุกอย่าง

คุณพ่อคุณแม่อยากรู้จักลูก เข้าใจลูก และรู้ วิธีจัดการลูกดื้อ แบบพ่อแม่ยุคใหม่ที่เลี้ยงลูกเชิงบวกให้มากขึ้น สามารถหาความรู้และคำแนะนำดีๆเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกจากคุณหมอประเสริฐได้จากเล่มนี้เลย

วิธีจัดการลูกดื้อแบบเห็นผล!

หนังสือ เลี้ยงลูกให้ได้ดี 1-200 ฉบับสมบูรณ์

เขียนโดย นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ 

วางจำหน่ายแล้วที่ร้านหนังสือทั่วประเทศ
สั่งซื้อออนไลน์ คลิก

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up