รีวิวครีมกันแดด

รีวิวครีมกันแดด สำหรับเด็ก ตัวไหนเหมาะกับลูกที่สุด!

event
รีวิวครีมกันแดด
รีวิวครีมกันแดด

รีวิวครีมกันแดด สำหรับเด็ก

การทำงานของ ครีมกันแดด

ส่วนผสมในครีมกันแดดจะทำหน้าที่ในการปกป้องผิวจากรังสี UV ด้วยการดูดซับรังสี และป้องกันรังสี UV ไม่ให้ผ่านเข้าไปถึงชั้นผิว รวมไปถึงทำให้รังสี UV แตกกระจายออกไปเพื่อไม่ให้เข้าทำร้ายผิวโดยตรง

รังสี UV คือ?

  • UVA เป็นคลื่นรังสีที่สามารถทะลุทะลวงผ่านเข้าชั้นหนังกำพร้าและหนังแท้ได้ สามารถเข้าไปทำลายโครงสร้าง สร้างความเสื่อมโทรมให้กับคอลลาเจนและอิลาสตินจนหมดความยืดหยุ่น ก่อให้เกิดความเหี่ยวย่นของผิวหนัง แต่ไม่ทำให้เกิดการอักเสบของผิวหนัง
  • UVB เป็นรังสีคลื่นสั้น เมื่อผ่านเข้ามาสัมผัสร่างกาย จะผ่านชั้นหนังกำพร้าและหนังแท้ด้านบนเข้าไปได้เท่านั้น ไม่สามารถเข้าลึกกว่านั้นได้ แต่รังสี UVB นั้นมีอยู่มาก และเป็นสาเหตุของการเกิดผิวไหม้อักเสบ
  • UVC เป็นรังสีคลื่นสั้น ช่วงความยาวคลื่น 200 – 290 nm แสงช่วงนี้ส่วนใหญ่จะถูกดูดซับโดนก๊าซโอโซนในชั้นบรรยากาศ ส่งผลให้ร่างกายไม่ได้รับผลกระทบในรังสีชนิดนี้ แต่หากในอนาคต ชั้นบรรยากาศไม่สามารถดูดซับได้หมด รังสี UVC ก็จะเป็นอีกหนึ่งรังสี ที่เราจะหาทางรับมือป้องกัน

SPF คือ?

SPF ย่อมาจาก Sun Protection Factor  ซึ่งค่าของการปกป้องแสงแดด โดยส่วนใหญ่จะคำนวณจากปริมาณจากการป้องกันรังสี UVB โดยตัวเลขของ SPF บ่งบอกถึงความสามารถในการปกป้องผิวจากการถูกเผาไหม้จากแสงแดด ได้นานเท่าไหร่ เช่น SPF 15 หมายถึง ป้องกันผิวจากการไหม้ได้ 15 เท่า คือถ้าปกติคุณแม่พาลูกน้อยออกไปสู่แดดโดยไม่ได้ทาครีมกันแดดดอาจทำให้ผิวไหม้ภายใน 20 นาที …แต่ถ้าหากทาครีมกันแดด SPF 15 แล้ว จะทำให้การที่ผิวจะถูกแสงแดดทำลายนั้น ต้องใช้เวลา เป็น 15 เท่าของ 20 นาที หรือ ประมาณ 300 นาที (5 ชั่วโมง) ผิวถึงจะถูกไหม้จากแสงแดดได้นั่นเอง

ซึ่งโดยทั่วไป ครีมกันแดด SPF ประมาณ 15 ก็เพียงพอแล้ว แต่สำหรับเด็กที่มีผิวซึ่งไวต่อแดด หรือผิวถูกแผดเผาให้หมองคล้ำได้ง่ายนั้น ใช้ SPF 30 ก็ถือว่าเพียงพอที่จะปกป้องผิวได้แล้ว แต่ถ้าอยากใช้ที่มีค่า SPF เยอะกว่านี้ก็ไม่เป็นไร

เมื่อดูจากค่า SPF และปริมาณการดูดซับรังสียูวีบี พบว่า

⇒ ค่า SPF เท่ากับ 2 จะดูดซับ UVB ได้ 50%
⇒ ค่า SPF เท่ากับ 4 จะดูดซับ UVB ได้ 75%
⇒ ค่า SPF เท่ากับ 8 จะดูดซับ UVB ได้ 87.5%
⇒ ค่า SPF เท่ากับ 15 จะดูดซับ UVB ได้ 93.3%
⇒ ค่า SPF เท่ากับ 20 จะดูดซับ UVB ได้ 95%
⇒ ค่า SPF เท่ากับ 30 จะดูดซับ UVB ได้ 96.7%
⇒ ค่า SPF เท่ากับ 45 จะดูดซับ UVB ได้ 97.8%
⇒ ค่า SPF เท่ากับ 50 จะดูดซับ UVB ได้ 98%

จะเห็นว่า ค่า SPF หลังจาก 30 แล้ว ค่าที่จะป้องกัน แสง UV ก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นมากเท่ากับ SPF ที่เพิ่มขึ้น เพราะค่า SPF สูง ๆ นั้น ไม่ได้หมายความว่า จะปกป้องแสงแดดได้ดีไปกว่า ค่า SPF ที่ต่ำกว่า แต่ในความเป็นจริงแล้ว ค่า SPF สูง ๆ นั้นจะก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังสำหรับคนที่มีผิวแพ้ง่าย และยังเป็นไปได้ว่าอาจจะมีผลข้างเคียงที่อาจจะก่อให้เกิดอาการแพ้เช่นอาจจะเกิดผดผื่นคันได้ นอกจากนี้ยังอาจจะทำให้สีผิวไม่สม่ำเสมอ เกิดรอยด่างขึ้นได้ และยังอาจจะทำให้เป็นคราบสีเหลืองติดเสื้อผ้าอีกด้วย

จึงแนะนำว่าควรใช้ครีมกันแดดค่า SPF สูง (15 ขึ้นไป) ในกรณีที่ต้องตากแดด เป็นเวลานานติดต่อกันและใช้ค่า SPF ต่ำ ในกรณีที่โดนแดดเป็นครั้งคราวระหว่างวัน ซึ่งควรทาก่อนออกแดดอย่างน้อย 15 นาที และทาซ้ำทุก 2-3 ชั่วโมง นะคะ

PA คืออะไร    

ครีมกันแดดใหม่ ๆ ที่วางขายกันในตลาดมักประกอบไปด้วย UVA Filter และค่าที่วัดการป้องกันรังสี UVA เรียกว่า PA PA ย่อมาจากคำว่า Protection Grade of UVA ในขณะนี้ยังไม่มีหน่วยวัดที่เป็นมาตรฐานในการวัดค่าการดูดซึมของรังสี UVA ดังนั้นจึงถือเอาคำว่า PA เป็นหน่วยวัดรังสี UVA อย่างไม่เป็นทางการ

ค่า PA นั้นจะมี 3 ระดับคือ PA+,PA++ และ PA+++

  • PA+++ นั้นสำหรับผู้ที่ต้องการ การปกป้องสูง (เจอกับแสงแดดจัด ๆ เป็นเวลานาน)
  • PA+ สำหรับผู้ที่ต้องการปกป้องแสงแดด จากกิจกรรมทั่ว ๆไป (อาจจะไม่ได้เจอกับแสงมากนัก)
  • ดังนั้นสำหรับใครที่จะต้องเจอกับแสงแดดเป็นเวลาหลายชั่วโมง ให้เลือก PA++ หรือ สูงกว่านี้

Hypoallergenic

ในที่นี้ไม่ได้แปลว่าปลอดภัย 100 เปอร์เซ็นต์ และไม่ทำให้เกิดการแพ้ แต่แปลว่ามีโอกาสแพ้น้อย (รวมทั้งเครื่องสำอางสำหรับเด็กอ่อนด้วย) เพราะได้ตัดสารบางอย่างที่เสี่ยงต่อการระคายเคืองออกไปเช่น น้ำหอม เป็นต้น และที่สำคัญ ยังไม่มีบริษัทไหนในโลกที่สามารถผลิตเครื่องสำอางที่ไม่แพ้เลยได้ หรือที่เรียกกันว่า Nonhypoallergenic

Non-comedogenic

non-comedogenic หมายถึง ไม่อุดตันรูขุมขน ถ้ามีคำนี้ระบุบนฉลาก ก็สามารถวางใจได้ ว่าครีมกันแดดยี่ห้อนั้นมีความเสี่ยงน้อยที่จะทำให้ผิวของลูกน้อยอุดตัน จนเกิดอาการแพ้หรือระคายเคือง

Water-resistant

ครีมกันแดดที่ดีต้องกันน้ำ เพราะคู่ปรับสำคัญของครีมกันแดดก็คือน้ำ ไม่ว่าจะทาครีมกันแดดแล้วไปว่ายน้ำ หรือจะเป็นเหงื่อไหลไคลย้อยชะล้างครีมออกไปจากผิวหมดจนไม่เหลือประสิทธิภาพการกันแดดเลย โดยมากหากครีมกันแดดระบุว่า Water-resistant ก็จะสามารถทาแล้วเล่นน้ำได้นานสูงสุดไม่เกิน 80 นาที ก่อนที่ครีมกันแดดจะถูกน้ำชะล้างออกไปหมด

Fragrance-free

ปราศจากน้ำหอม หากครีมกันแดดมีส่วนผสมน้ำหอมเยอะ ผิวลูกน้อยของคุณแม่ก็ต้องรับภาระหนักในการซึมซาบน้ำหอมเหล่านี้ ดังนั้นถ้าผิวเด็กที่ค่อนข้างบอบบางและแพ้ง่าย อย่าลืมมองหาคำว่า Fragrance-free หรือ “ปราศจากน้ำหอม” บนฉลากเสมอด้วยนะคะ

 

 

อ่านต่อ >> “รีวิวครีมกันแดดสำหรับเด็ก 11 ยี่ห้อ พลีกายเพื่อลูกน้อยโดยเฉพาะ” คลิกหน้า 3


ขอบคุณข้อมูลจาก : women.kapook.com , women.thaiza.com , marketeer.co.th

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

Summary
Review Date
Reviewed Item
รีวิวครีมกันแดด ครีมกันแดดเด็ก 11 ยี่ห้อ = Pigeon , kodomo , d-nee , Minus , NIVEA , Cancer Council , Banana Boat , Boots soltan , P O Care , Biore , Watsons
Author Rating
51star1star1star1star1star

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up