หมอแนะ! ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ช่วยป้องกันลูกฟันผุ ได้ตั้งแต่ซี่แรก…

event

ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ยี่ห้อไหนดี

การดูแลฟันลูกเล็ก อายุแรกเกิด – 3 ขวบ

สุขภาพในช่องปากจะดีที่สุดได้ต้องเริ่มจากวัยทารก แต่เด็กยังไม่สามารถแปรงฟันหรือดูแลรักษาความสะอาดในช่องปากได้ด้วยตัวเอง จึงเป็นหน้าที่ของคุณพ่อคุณแม่โดยตรงที่จะช่วยกันดูแลรักษาความสะอาดในช่องปากของลูกน้อยอยู่เสมอ ซึ่งวิธีการดูแลง่าย ๆ คือ ไม่ปล่อยให้เบบี๋หลับคาขวดนม ฝึกให้เลิกดูดนมขวดตั้งแต่ 1 ขวบ เริ่มแปรงฟันทันทีที่เบบี๋มีฟันซี่แรกโดยใช้ยาสีฟันขนาดเท่าเมล็ดข้าว พาไปพบทันตแพทย์เป็นประจำและเริ่มใช้ไหมขัดฟันตั้งแต่ 3 ขวบ เพียงเท่านี้เบบี๋ก็มีฟันที่สะอาดและแข็งแรงแล้วค่ะ

⇒ Must read : ลำดับการขึ้นของฟัน และวิธีดูแลฟันลูกอย่างถูกวิธีตั้งแต่ซี่แรก

ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ยี่ห้อไหนดี

การดูแลฟันลูกวัยซน อายุ 3 – 6 ขวบ

ลูกวัยนี้ บางคนสามารถแปรงฟันด้วยตัวเองได้บ้างแล้ว แต่ยังไม่สะอาดเท่าที่ควร คุณพ่อคุณแม่จึงควรดูแลอย่างใกล้ชิดและแปรงซ้ำให้เสมอ ซึ่งวิธีการแปรงฟันและดูแลสุขภาพฟันสำหรับลูกวัยซนคล้ายกับลูกเล็ก แต่มีสิ่งที่ควรดูแลเพิ่มเติมดังนี้

  • แปรงฟันวัยซนให้ถูกวิธี เด็กในวัยนี้ควรเพิ่มปริมาณ ยาสีฟันให้เท่ากับเมล็ดข้าวโพด หรือบีบยาสีฟันตามขวางของหัวแปรง คุณพ่อคุณแม่ที่ยังช่วยลูกแปรงฟันสามารถแปรงฟันให้ลูกในท่าจับลูกนอนตักเช่นเดียวกับท่าแปรงฟันของลูกเล็กเพราะเป็นท่าที่จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่มองเห็นฟันของลูกน้อยได้ชัดเจที่สุด เคล็ดลับคือ ไม่จำเป็นต้องให้ลูกน้อยบ้วนน้ำหลังแปรงฟันหลายครั้งจนเกินไป เพราะอาจทำให้ฟลูออไรด์ค้างอยู่ในช่องปากไม่นานเท่าที่ควร และไม่ต้องกังวลว่าลูกน้อยจะกลืนยาสีฟันลงไปนะคะ เพราะการบีบยาสีฟันให้เหมาะสมจะไม่ทำให้ลูกกลืนยาสีฟันในปริมาณมากแน่นอน
  • พบทันตแพทย์เพื่อตรวจซอกฟัน ลักษณะการผุของฟันมี 3 ชนิด คือ ไม่มีฟันผุเลย ผุที่หลุมหรือร่องฟัน และผุในซอกฟัน ซึ่งการผุในซอกฟันกรามจะลุกลามเร็วกว่าด้านบดเคี้ยว และไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงควรพาลูกวัยซนไปพบทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอเพื่อทำการถ่ายภาพรังสีตรวจดูฟันผุตรงบริเวณนี้

ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ยี่ห้อไหนดีการดูแลฟันลูกโต อายุ 6-12 ปี

เมื่อลูกโตมาถึงช่วงวัยนี้แล้ว คุณพ่อคุณแม่คงจะสบายใจไปเปลาะหนึ่งแล้ว เพราะลูกวัยนี้สามารถดูแลช่วยเหลือตัวเองได้ดีขึ้น การแปรงฟันก็เป็นหนึ่งในงานง่าย ๆ ที่เขาสามารถดูแลรับผิดชอบได้เพียงแต่คุณพ่อคุณแม่อาจต้องคอยกำชับกวดขันสักนิดเพื่อไม่ให้เขาละเลยการแปรงฟันทุกวันหลังอาหารเช้าและก่อนนอน หรืออาจยังต้องช่วยแปรงฟันอยู่บ้างในเด็กบางรายที่ยังไม่สามารถแปรงฟันได้สะอาดพอ ส่วนในช่วงเที่ยงหากไม่สะดวกแปรงฟันอาหาร อาจกำชับลูกให้กลั้วน้ำบ้วนปากทุกครั้ง

เด็กในวัย 6 ขวบเป็นต้นไปจะใช้ปริมาณยาสีฟัน เพิ่มมากขึ้น โดยใช้ยาสีฟันบีบให้เต็มความยาวของหัวแปรง นอกจากนี้เด็กโตยังเริ่มมีฟันกรามล่างถาวรซี่ที่หนึ่งขึ้น และคุณพ่อคุณแม่มักจะคิดว่าเป็นฟันน้ำนม จึงไม่มีการเอาใจใส่เท่าที่ควร ทำให้ฟันซี่ดังกล่าวมีโอกาสผุสูง จึงควรพาลูกรักไปพบทันตแพทย์เพื่อเคลือบหลุมและร่องฟันป้องกันฟันผุไว้ก่อนนะคะ

การดูแลฟันลูกวัยรุ่น 12 ปีขึ้นไป

เด็กวัยนี้คงไม่มีใครให้คุณพ่อคุณแม่ช่วยแปรงฟันให้อีกแล้ว เพราะลูกสามารถดูแลสุขอนามัยได้ด้วยตัวเอง ซึ่งสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่จะดูแลเพื่อช่วยให้สุขภาพฟันของลูกสมบูรณ์แข็งแรงได้ จึงเป็นการแนะนำให้ใช้น้ำยาบ้วนปากกำจัดเชื้อจุลินทรีย์หลังการแปรงฟันร่วมด้วย เพื่อลดเชื้อจุลินทรีย์ที่อาจตกค้างในช่องปากจนก่อให้เกิดฟันผุ หากฟันของลูกไม่ได้รับการดูแลความสะอาดให้เหมาะสมตามวัยของเขามาตั้งแต่เด็ก ๆ อาจเป็นสาเหตุให้โรคฟันผุชนิดเฉียบพลันกระจายตัวอย่างรวดเร็วในช่วงวัยนี้ได้ เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะช่วงวัยใด สุขภาพในช่องปากก็เป็นสิ่งสำคัญ คุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องใส่ใจไม่แพ้สุขภาพอนามัยด้านอื่น ๆ นะคะ

ทั้งนี้ก่อนหน้าได้มีผลการตรวจวิเคราะห์ปริมาณฟลูออไรด์ในยาสีฟัน สำหรับเด็ก 2557 เพื่อใช้ประกอบในการเลือกซื้อของคุณพ่อคุณแม่ เนื่องจากปัจจุบัน อย.ยกเลิกได้ยกเลิกข้อกำหนดให้แสดงปริมาณฟลูออไรด์บนฉลากแล้ว (อันหมายถึงจะแสดงหรือไม่ก็ได้)

ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ยี่ห้อไหนดี

⇒ Must read : รีวิวยาสีฟันสำหรับเด็ก เลือกสิ่งที่เหมาะสมกับลูกน้อย

ด้วยเหตุนี้เอง ทางทีมงาน Amarin Baby & Kids จึงได้รวบรวมยาสีฟันสำหรับเด็กที่มีอยู่ในท้องตลาด ซึ่งเป็นยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ 1000 ppm ที่ทันตแพทย์แนะนำเบื้องต้น ซึ่งจะช่วยดูแลป้องกันฟันผุให้กับลูกน้อยได้ตั้งแต่ฟันซี่แรก จะมียี่ห้อใดบ้างนั้น ตามไปดูกันเลยค่ะ

อ่านต่อ >> “รวมยาสีฟันส่วนผสมฟลูออไรด์ 1000 ppm ช่วยป้องกันฟันผุให้ลูกน้อยทุกวัย” คลิกหน้า 3

ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ยี่ห้อไหนดี


ผศ. ทพญ. ดร.เข็มทอง มิตรกูล ภาควิชาทันตกรรมเด็ก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล Amarin Baby & Kids มิถุนายน 2559

ขอบคุณข้อมูลจาก : ฟันน้ำนม , กลุ่มพัฒนาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านทันตสุขภาพ สำนักทันตสาธารณสุข

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up