ภาวะเครียดในเด็ก แก้ไขอย่างไร ?

Alternative Textaccount_circle
event

 

5 เรื่องเครียดๆ ในเด็ก มีอะไรบ้าง ?

1. มีการบ้านที่ต้องทำมาก

หลังจากเด็กๆ เหนื่อยจากการเรียนมาทั้งวัน ยังมีการบ้านอีกกองโตที่ต้องทำอีก แน่นอนว่า เด็กๆ อาจรู้สึกเครียดได้เพราะสมองทำงานหนักมากเกินไป

วิธีแก้ไข คือ เมื่อกลับถึงบ้านควรให้เด็กๆ ได้มีเวลาพักผ่อนก่อนด้วยการออกกำลังกายเบาๆ สัก 20 นาที หรือทำกิจกรรมที่ผ่อนคลาย เช่น เล่นฮูลาฮูป เต้นตามเพลง เล่นกับสัตว์เลี้ยง คุยเล่นกันกับคุณพ่อคุณแม่ สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้สมองแจ่มใส มีการสูบฉีดโลหิตที่ดี ความรู้สึกตึงเครียดจะหายไป และพร้อมที่จะเริ่มทำการบ้านได้ด้วยสมองที่ปลอดโปร่ง

2. ทะเลาะกับพี่น้อง หรือเพื่อน

ความจริงแล้วการทะเลาะกันกับพี่ๆ น้องๆ หรือเพื่อนๆ เป็นเรื่องธรรมดาสำหรับเด็กเลยก็ว่าได้ เพราะเด็กๆ ยังไม่ค่อยมีความเข้าใจในการยับยั้งอารมณ์ของตัวเองสักเท่าไรนัก เช่น ทะเลาะกันเพราะแย่งของเล่นหรือของกิน แย่งกันดูทีวีรายการโปรด ทะเลาะเพราะเกี่ยงกันไม่ยอมทำงานบ้าน

แม้เรื่องที่เด็กๆ ทะเลาะกันดูจะเป็นเรื่องเล็กน้อยมากสำหรับผู้ใหญ่ แต่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรปล่อยปัญหานี้ไป เพราะจะสร้างนิสัยที่ไม่ดีให้กับเด็กๆ ว่า เมื่อไม่พอใจอะไรก็หาเรื่องใส่กัน

วิธีแก้ไขด้วย การแยกเด็กๆ ออกจากกันสักพักหนึ่ง แล้วค่อยเรียกเด็กๆ ที่ทะเลาะกันมาพูดคุยปรับความเข้าใจกัน โดยอาจใช้ลักษณะของการตั้งคำถามให้เด็กๆ ได้คิดหาทางออกที่เหมาะสม เช่น หากทะเลาะกันเรื่องแย่งของเล่น ก็ให้พูดคุยโดยถามว่าของเล่นมีกี่ชิ้น แบ่งกันเล่นได้หรือไม่ เล่นคนเดียวสนุกกว่าเล่นกับเพื่อนหรือไม่ หรือทะเลาะกันเรื่องไม่อยากทำงานบ้าน อาจถามเขาว่า ช่วยกันทำหลายคนงานจะเสร็จเร็วกว่าหรือจะเหนื่อยน้อยกว่าทำคนเดียวหรือไม่

แก้ไขด้วยวิธีนี้เป็นวิธีที่จะทำให้เด็ก ๆ ได้หยุดนิ่งที่จะปรับความคิด ความรู้สึกหรืออารมณ์ของตัวเอง และเราจะได้รู้ความต้องการของเด็กๆ ว่า เขาต้องการให้เป็นอย่างไร ดีกว่าการที่พ่อแม่เข้าไปแก้ปัญหาด้วยการสั่งให้เป็นไปแบบนั้นแบบนี้เพราะเด็กๆ จะรู้สึกเครียด อึดอัด และต่อต้านมากขึ้นก็เป็นได้

3.ใครๆ ก็ไม่รักหนู

เด็กๆ บางคนรู้สึกว่าพ่อแม่ พี่น้อง คุณครูหรือเพื่อนไม่รักเขา ไม่ต้องการเขา เรื่องนี้มักเป็นปัญหาที่สร้างความเครียดให้กับเด็กค่อนข้างมาก เพราะโดยธรรมชาติแล้วเด็กๆ ต้องการการยอมรับจากคนรอบข้าง โดยเฉพาะคนที่เขารู้สึกรักและผูกพันด้วย บางคนจึงแสดงออกมาในรูปแบบของการหวง อิจฉา ไม่พอใจ โมโห อยากแกล้ง ไม่พูดด้วยหรือทำร้าย เช่น คุณครูอาจตักเตือนสั่งสอนแต่เด็กไม่เข้าใจความหวังดีของคุณครู ก็เกิดความเครียดและแสดงออกในทางต่อต้าน เป็นต้นว่าไม่ยอมเรียน ไม่ยอมทำการบ้าน หรือไม่ทำความเคารพ หรือเวลามีเพื่อนใหม่มาเข้ากลุ่ม เห็นเพื่อนคนอื่นๆ ให้การต้อนรับหรือให้ความสนใจ ก็เครียดเพราะรู้สึกว่าว่าเพื่อนเรารักเพื่อนใหม่มากกว่า ก็ต่อต้านโดยการไม่พูดกับเพื่อนหรือแยกตัวออกจากกลุ่ม หรือเด็กบางคนคิดว่าพ่อแม่รักลูกคนอื่นๆ มากกว่าตัวเอง ก็เครียดและต่อต้านโดยการแกล้งพี่น้องตัวเอง หรือว่าพ่อแม่ สิ่งที่ควรทำหากไม่อยากเกิดปัญหานี้ขึ้น คือ การสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กๆ ปัญหาเหล่านี้อาจเกิดจากการที่เด็กเป็นคนขาดความรัก ขาดความอบอุ่น รวมถึงขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง

วิธีแก้ไข คือ ต้องสร้างภูมิคุ้มกันให้เขาโดยการให้ความรัก ความอบอุ่นกับเด็กอย่างเต็มที่ เมื่อเขามีเต็มแล้วเขาจะมีความเชื่อมั่นในตนเอง และเขาจะเป็นคนที่ให้ความรักแก่คนอื่นได้ด้วยส่วนวิธีการแก้ไขหากเกิดปัญหาขึ้น คือ ให้เด็กๆ ได้ระบายความรู้สึกของเขาออกมาว่าเขาคิดหรือเขารู้สึกอย่างไร แล้วปรับความคิดให้เขาใหม่ เช่น หากเขารู้สึกว่าคุณครูไม่รักเพราะไม่ตั้งใจเรียน ก็พูดให้เขาเข้าใจว่าคุณครูรักเด็กๆ ทุกคนเท่ากัน แต่ที่คุณครูตักเตือน เพราะอยากให้เด็กที่คุณครูรักคนนี้เรียนเก่งๆ คุณครูก็จะมีความสุขที่ลูกศิษย์ของคุณครูเรียนได้ดี หรือหากเขารู้สึกว่าเพื่อนในกลุ่มสนใจเพื่อนใหม่มากกว่า ก็พูดให้เขาเข้าใจว่า เพื่อนในกลุ่มทุกคนก็รักกันอยู่แล้ว แต่เพื่อนใหม่เข้ามาเขายังไม่คุ้นเคยกับโรงเรียนใหม่จึงต้องช่วยกันแนะนำเขา ถ้าหนูช่วยดูแลเพื่อนคนนี้ด้วยหนูก็จะมีเพื่อนที่รักหนูเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคน เมื่อเด็กๆ ได้รับฟังถึงเหตุผลที่ดี เขาก็จะเข้าใจและสบายใจ และพร้อมที่จะปรับตัวของเขาใหม่แน่นอน

อ่านต่อ >> “5 เรื่องเครียดๆ ในเด็ก ที่พ่อแม่ควรรู้” คลิกหน้า 3 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up