ส่งเสริมลูกโตเล่นเป็น หาสิ่งที่ชอบ ชีวิตแฮ็ปปี้

ส่งเสริมลูกโตเล่น “เป็น” หาสิ่งที่ชอบ ชีวิตแฮ็ปปี้

Alternative Textaccount_circle
event
ส่งเสริมลูกโตเล่นเป็น หาสิ่งที่ชอบ ชีวิตแฮ็ปปี้
ส่งเสริมลูกโตเล่นเป็น หาสิ่งที่ชอบ ชีวิตแฮ็ปปี้

วัยทวีน 10-12 ปี จะมีความกระตือรือร้น มีแรงจูงใจในการเรียนรู้ อยากทำในสิ่งที่ชอบ เริ่มมีแนวทางชัดเจนว่าชอบอะไร ถนัดด้านไหน ดนตรี กีฬา เกม อ่านหนังสือ การทำอาหารหรืออื่นๆ การเล่นที่เหมาะสมและถูกใจจะช่วยให้ค้นหาตัวเองเจอเร็วขึ้น มีความสุขกับชีวิตมากขึ้น แต่ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กยุคนี้บางคน คือความเฉื่อยชา ขี้เกียจ และยังเล่นไม่ “เป็น” หากลูกเล่นไม่เป็น จะขาดโอกาสพัฒนาอีคิว ความคิด ภาษาและอาจมีปัญหาการอยู่ร่วมกับคนอื่น

เล่นดี มีผลเมื่อโตขึ้น

เพราะมีผลสำรวจที่พบว่าเด็กยุคนี้ ยิ่งโตยิ่งมีกิจกรรมน้อยลง โดยเฉพาะกิจกรรมที่ต้องออกไปใช้พลังงาน นอกจากนี้ยังมีอีกปัญหาที่พบคือ เด็กจะขี้เกียจ แยกตัวเอง ไม่สนใจกิจกรรมต่างๆ เด็กเล่นไม่เป็น คือเล่นตามใจตัวเอง ไม่รู้วิธีเล่นกับเพื่อนหรือการทำตามกฎกติกา ไม่ฟังความคิดเห็น ไม่เข้าใจเพื่อน แถมไม่รู้จักกาลเทศะ แสดงให้เห็นว่าลูกมีพัฒนาการเล่นไม่เหมาะสมตามวัย ทำให้พัฒนาการสะดุด ขาดการพัฒนาทักษะด้านการคิด ภาษา การอยู่ร่วมกับผู้อื่น ที่สำคัญคือขาดโอกาสใช้การเล่นเพื่อพัฒนาอีคิว ความเคารพตัวเอง ความภาคภูมิใจในตัวเองที่ดีเมื่อโตขึ้น

ส่งเสริมลูกโตเล่น “เป็น” พ่อแม่ทำได้

1. กระตุ้น โดยไม่ได้กดดันบังคับ

อาจเริ่มจากสังเกตสิ่งที่ลูกสนใจ และให้เวลาเป็นพิเศษและค่อยๆ หากิจกรรมที่ลูกชอบมานำเสนอ

2. เปิดโอกาสให้ลูกได้ทำกิจกรรมที่หลากหลาย

เขาจะได้รู้ตัวว่าชอบหรือไม่ชอบ เช่น ไปค่ายหรือเข้ากลุ่มกิจกรรมที่เขาสนใจ เช่น ทำหนังสั้น เลี้ยงสัตว์ ดูนก เขียนนิยาย ทั้งนี้กลุ่มที่ลูกสนใจอาจมีทั้งกลุ่มที่ไปเจอกันจริงๆ หรือกลุ่มในโลกออนไลน์ พ่อแม่เพียงสังเกตลูกอย่างสม่ำเสมอ และไม่ตำหนิ

3. ชวนเล่นเกมท้าทาย

กระตุ้นการคิดเป็นระบบ เพราะวัยรุ่น แม้จะมีความคิดที่พัฒนามาก แต่ก็ยังต้องการกระตุ้นให้คิดเชิงนามธรรมหรือคิดแบบซับซ้อนได้มากขึ้น การเล่นที่ช่วยกระตุ้นการคิดเป็นระบบ คิดเป็นเหตุเป็นผลจะช่วยได้ เช่น เล่นทดลองวิทยาศาสตร์ง่ายๆ เกมวิทยาศาสตร์ เกมที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยี การเล่นเกมกระดาน (Board Game) ที่ยากขึ้นก็ยังใช้ได้ ทั้งนี้ก็อยู่ที่วิธีชวนของพ่อแม่ด้วย ลูกวัยรุ่นเป็นวัยอยากรู้อยากลองอยู่แล้ว แค่ทำให้เป็นเรื่องสบายๆ ไม่เคร่งเครียด ไม่น่าเบื่อเขาก็พร้อมจะไปกับคุณ

อ่านต่อ ลูกโตที่เล่น “ไม่เป็น” ทำอย่างไรดี

 

จากคอลัมน์ Ages 7-12 นิตยสารเรียลพาเรนติ้ง ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2558

ขอขอบคุณข้อมูลจาก คุณฉันทิดา สนิทนราทร นักเล่นบำบัด (Play Therapist) โรงพยาบาลมนารมย์ | Facebook fanpage: Play Story by Pam

บทความโดย: กองบรรณาธิการนิตยสารเรียลพาเรนติ้ง

ภาพ: Shutterstock

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up