กรดไหลย้อนในแม่ตั้งครรภ์

กรดไหลย้อนในแม่ตั้งครรภ์ แก้ไขได้ด้วย 5 วิธี!

Alternative Textaccount_circle
event
กรดไหลย้อนในแม่ตั้งครรภ์
กรดไหลย้อนในแม่ตั้งครรภ์

 

 

กรดไหลย้อนต่างกับโรคกระเพาะอย่างไร

สำหรับอาการของทั้งสองโรคนี้ บอกเลยค่ะว่า เป็นความเหมือนที่แตกต่าง แต่ที่แน่ ๆ แตกต่างกันตรงที่ โรคกระเพาะมักจะปวดบริเวณลิ้นปี่ แต่ถ้าเป็นกรดไหลย้อน มักจะแสบแถว ๆ หน้าอก คอ บางทีจุกที่คอหอยเหมือนจะอาเจียน ส่วนมากจะเป็นหลังกินข้าว หรือเวลางอตัว หรือเวลานอนหลังกินข้าว เป็นต้น

กรดไหลย้อนในแม่ตั้งครรภ์ เกิดได้อย่างไร?

อย่างที่ได้กล่าวมาในเบื้องต้นแล้วว่า คุณแม่ตั้งครรภ์นั้น มีโอกาสที่จะเป็นกรดไหลย้อนมากกว่าคนปกติทั่วไปค่ะ ซึ่งสาเหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะ ร่างกายของคนท้องนั้น เปลี่ยนแปลงไปมากค่ะ ไม่ว่าจะเป็น ฮอร์โมน และขนาดของมดลูก ซึ่งแน่ ๆ ว่า การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนั้นย่อมส่งผลกับระบบทางเดินอาหารแน่นอน ยกตัวอย่างเช่น

  1. หูรูดที่อยู่ระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะทำงานได้ลดลง หรือมีแรงบีบน้อยลง ทำให้ของเหลวในกระเพาะไหลย้อนกลับไปที่หลอดอาหารได้ง่าย
  2. ทารกในครรภ์มีขนาดตัวใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ มดลูกโตตาม และถึงจุดนึงจะไปเบียดกระเพาะอาหารจนกระทั้งเกิดการไหลย้อนของ ๆ เหลวขึ้นไปที่หลอดอาหารได้

หากคุณแม่กำลังสงสัยกันอยู่ว่า แล้วจะส่งผลกระทบอะไรกับทั้งตัวของเราเองและลูกในท้องหรือไม่นั้น บอกเลยค่ะว่า โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว อาการนี้หากได้รับการรักษาที่ถูก และการปฎิบัตตัวของคุณแม่ จะไม่ได้ก่อปัญหาระยะยาวแก่ตัวคุณแม่และเด็กในท้องเลย แต่หากปล่อยไปไม่รับการรักษา จนคุณแม่ไม่สามารถทานอาหารได้ตามความต้องการของคนท้อง เด็กในท้องก็อาจเกิดปัญหาด้านโภชนาการตามมา หรือในทางร้ายที่สุดก็คือ คุณแม่อาจมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งหลอดอหาารได้นั่นเองค่ะ

อ่านต่อ >> วิธีการรักษา ได้ที่หน้าถัดไปค่ะ

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up