คุยกับลูกในท้อง

รวมวิธีกระตุ้นประสาท คุยกับลูกในท้อง สร้างอัจฉริยะให้ลูก

Alternative Textaccount_circle
event
คุยกับลูกในท้อง
คุยกับลูกในท้อง

คุณแม่ท้องทราบหรือไม่ว่า… การอ่านหนังสือ หรือ คุยกับลูกในท้อง จะช่วยกระตุ้นประสาทสัมผัสของลูกน้อยได้ ทำให้เกิดการสร้างวงจรในสมองของลูกน้อยตั้งแต่เริ่มต้น สร้างวงจรการได้ยิน วงจรความรู้สึก วงจรการรับกลิ่น และวงจรการสัมผัสแห่งความรักของพ่อแม่ ทำให้มีพัฒนาการที่ดี และทำให้ลูกน้อยฉลาด

คุยกับลูกในท้อง สร้างอัจฉริยะให้ลูกได้อย่างไร?

การพูดคุยกับลูกในท้อง จริงๆ แล้วแม่ท้องสามารถคุยกับลูกในท้องได้ตั้งแต่รู้ว่าตั้งครรภ์ เพื่อฝึกความคุ้นเคยให้ตัวเองในการคุยกับลูกในท้อง ลูกทารกที่อยู่ในครรภ์นั้น สามารถเริ่มได้ยินเสียงคุณพ่อคุณแม่ และสภาพแวดล้อมได้ตั้งแต่มีอายุได้ 4 เดือน

ซึ่งพัฒนาการของลูกในครรภ์ที่ครบ 4 เดือน ดวงตาเริ่มมองเห็นแล้ว ลูกน้อยเริ่มเห็นแสงผ่านท้องของคุณแม่แล้ว นอกจากนี้ ลิ้นเริ่มมีปุ่มสัมผัส และจะเริ่มได้ยินเสียงสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเหมือนกับที่คุณแม่ได้ยินเลยละค่ะ แต่ไม่ใช่แค่นั้นนะคะ ลูกน้อย ยังสามารถได้ยินเสียงหัวใจของคุณแม่ และเสียงท้องร้องของกระเพาะอาหารอีกด้วยละค่ะ

คุยกับลูกในท้อง

จากนั้นเมื่อเข้าสู่เดือนที่ 5 ไม่ใช่เพียงการได้ยินอย่างเดียวเท่านั้น แต่ลูกน้อยในครรภ์ยังสามารถตอบสนองต่อเสียงที่ได้ยินอีกด้วย โดยไม่ว่าคุณแม่จะพูดคุยกับใคร คุณพ่อจะมาชวนคุยตอนไหน หรือแม้กระทั่งคุณแม่ได้ยินเสียงอะไรที่ทำให้ตกใจ ลูกก็จะตอบสนองต่อเสียงเหล่านั้นด้วยการขยับตัว กระตุก หรือเตะท้องของคุณแม่นั่นเอง

พอเข้าเดือนที่ 6 และ 7 ลูกน้อยจะเริ่มจดจำเสียงที่ได้ยิน เช่น เสียงเพลงที่คุณแม่ชอบเปิดให้ฟัง เสียงพูดคุยกันของคุณพ่อและคุณแม่ และเชื่อไหมคะว่าหลังจากที่ลูกลืมตาดูโลกแล้ว เวลาที่เขาได้ยินเสียงของคุณพ่อคุณแม่หรือเสียงเพลงที่ได้ยินบ่อย ๆ ตอนอยู่ในท้องนั้น พวกเขาจะรู้สึกสงบ อบอุ่น และก็ปลอดภัยขึ้นค่ะ

สุดท้ายเมื่อถึงเดือนที่ 8 และ 9 พัฒนาการทางด้านร่างกายของลูกสมบูรณ์เต็มที่แล้ว พวกเขาเริ่มเข้าใจในภาษามากขึ้น ทั้งนี้หากลูกได้ยินเสียงของภาษาอื่น ที่ไม่ใช่ภาษาของเราเอง ลูกก็จะเริ่มคุ้นเคยกับเสียงเหล่านั้น พอคลอดออกมาก็จะไม่รู้สึกถึงความแตกต่างและรู้สึกกลัวกับสิ่งที่ได้ยิน

แล้วการพูด คุยกับลูกในท้อง สร้างอัจฉริยะให้ลูกได้อย่างไร? เรื่องนี้ พญ.จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ นายกสมาคมนักวิจัยไทยเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านสมอง กล่าวว่า…⇓

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up