แม่ท้องติดเชื้อไวรัสซิกา

แม่ท้องติดเชื้อไวรัสซิกา ยุติการตั้งครรภ์ ป้องกัน เด็กหัวลีบ

Alternative Textaccount_circle
event
แม่ท้องติดเชื้อไวรัสซิกา
แม่ท้องติดเชื้อไวรัสซิกา

หลังจากเมื่อปลายเดือน ก.ย. ได้มีข่าวจากสธ. ยืนยันมาแล้วว่า มีแม่ท้องคนไทย 2 ราย ที่ติดเชื้อไวรัสซิกาจึงเป็นต้นเหตุให้เด็กทารกมีหัวเล็กลีบ จึงได้มีการจัดตั้งทีมแพทย์เพื่อหาทางป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดเมื่อ แม่ท้องติดเชื้อไวรัสซิกา

และเมื่อวันที่  5 ตุลาคม  กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้มีการประชุมคณะกรรมการพิจารณาแนวทางเวชปฏิบัติการวินิจฉัยและดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่สงสัยติดเชื้อไวรัสซิกา เพื่อพิจารณาหาแนวทางปฏิบัติทางการแพทย์สำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อไวรัสซิกา ซึ่งถือเป็นครั้งแรกของประเทศไทยและของเอเชีย

20160930_9214

ทั้งนี้ทีมแพทย์ที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อหาแนวทางป้องกันโรค ไวรัสซิกา จึงได้ผุดแนวทางดูแลวินิจฉัยหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงติดเชื้อซิกา เด็กทารกหัวลีบ ครั้งแรกเอเชีย โดยกระจายแพทย์ทั่วประเทศดำเนินการ แจ้งว่า…หากจะยุติการตั้งครรภ์ของคุณแม่ที่ติดเชื้อต้องอายุครรภ์ไม่เกิน 6 เดือน และเป็นไปตามกฎหมายข้อบังคับแพทยสภากำหนดเท่านั้น เพราะแม่ติดเชื้อไวรัสซิกาแล้วลูกหัวเล็ก ไม่ได้เป็นทุกคน

ไทยพบทารกหัวเล็กติดเชื้อไวรัสซิกา ก่อนประเทศอื่นในเอเชีย

รศ.(พิเศษ) นพ.ทวี ผู้ทรงคุณวุฒิ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์  ซึ่งเป็นประธานกรรมการพิจารณาแนวทางเวชปฏิบัติการวินิจฉัยและดูแลหญิงตั้งครรภ์ฯ ในครั้งนี้  กล่าวว่า  “ซิกาเป็นเชื้อเก่าเจอมา 60 ปี แต่หัวเล็กในเด็กเป็นกลุ่มอาการใหม่ที่เพิ่งเจอ  ดังนั้น หัวเล็กจึงเป็นกลุ่มอาการใหม่ แต่ตัวซิกาจริงๆ อาการไม่มาก หายได้เอง และมีเพียงร้อยละ 20 ที่แสดงอาการไข้ ผื่นขึ้น ตาแดง อีกร้อยละ 80 ไม่แสดงอาการ”

In this Feb. 12, 2016 photo, Lara, who is just under 3- months-old and was born with microcephaly, is examined by a neurologist at the Pedro I hospital in Campina Grande in Paraiba state, Brazil. Paraiba and Pernambuco in Brazilís impoverished northeast are ground zero for the Zika epidemic. Since Zika was first detected in Brazil, the two states have accounted for almost half of the 6,158 reported cases of babies born with shrunken heads, a rare condition known as microcephaly. (AP Photo/Felipe Dana)

ซึ่งไทยมีการตรวจพบซิกามาหลายปีแล้ว มีรายงาน 5-6 ปี กระทั่งเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาเจอเด็กศีรษะเล็กจากซิกา 2 ราย  ส่วนหญิงตั้งครรภ์ที่ทางสำนักระบาดวิทยารายงานก็พบว่า มีการเฝ้าระวังและตรวจเชื้อจนพบหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อ 39 ราย มี 16 รายแสดงอาการ ที่เหลืออีก 23 รายหรือประมาณร้อยละ 60 ไม่แสดงอาการ ขณะที่พบว่ามี 9 รายคลอดทารกออกมาเป็นปกติดี ดังนั้น ไม่ใช่ทุกคน แต่เพื่อให้เป็นแนวทางเดียวกันจึงได้ออกแนวปฏิบัติดังกล่าวขึ้น เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์เป็นไกด์ไลน์ในการวินิจฉัยหญิงตั้งครรภ์

อ่านต่อ >> “แนวทางการดูแลและการยุติการตั้งครรภ์” คลิกหน้า 2

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up